ตัวอย่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ชิ้นเล็กๆจากคุณ"ศิริ"ของเรา


นี่เรื่องแค่เรียกน้ำย่อยนะคะ ยังมีอีกเยอะแยะ

คุณศิรินั้น เธอเป็นคนที่พวกเราชาว Chem ยกให้ว่าทำงานรวดเร็ว ว่องไว สมัยที่เธอมาทำงานใหม่ๆ เคยโดนเพ่งเล่งว่าเร็ว แต่ผิดบ่อย เนื่องจากทำได้เร็ว จึงทำได้หลายๆงานโอกาสผิดก็เลยมากเป็นเงาตามตัว และเป็นบุคลิกส่วนตัวที่มักจะทำงานทั้งของตัวเองและพยายามช่วยคนอื่นไปในเวลาเดียวกัน เรียกว่า วิ่งคนเดียวได้ทั้ง Lab จากคุณสมบัติส่วนตัวของเธอทำให้เธอสะสม Tacit knowledge ไว้ได้มากมายโดยไม่รู้ตัวจาก "การทำผิด เป็นครู"นี่เอง

จากการที่ตัวเองหายไป 6 ปี กลับมาเริ่มทำ Lab ใหม่อีกครั้ง ได้รับการ"ติวเข้ม"งานต่างๆจากคุณเธอ เวลาทำอะไรผิดพลาด คุณศิริก็จะวิเคราะห์ให้ได้ในเวลาไม่นานว่าเป็นได้เพราะอะไรบ้าง ต้องแก้ไขอย่างไร

สิ่งที่คุณศิริสอนน้องนักศึกษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่เห็นได้ว่าเป็น tacit knowledge อย่างหนึ่งคือการจัดระบบการจัดเก็บ tube sample ที่ตรวจแล้วจากเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Hitachi 917 เนื่องจากเรามี sample 3 รูปแบบที่นำมาลงเครื่องตรวจ เธอจะจัดการแยกสิ่งตรวจที่ใส่ภาชนะต่างๆกันไว้คนละ rack ตั้งแต่ตอนหยิบออกมาจากเครื่อง ทำให้สะดวกต่อการทำงานในขั้นต่อไปสำหรับคนที่ต้องมาเก็บไปสำหรับตรวจสอบซ้ำหรือนำไปฆ่าเชื้อ ล้าง ทำความสะอาด

  

การจัดการ tube ในลักษณะนี้นั้น เป็นการจัดการภาคปฏิบัติที่เราไม่ได้มีบันทึกไว้ในคู่มือปฎิบัติงานแต่อย่างใด คนหน้างานอย่างเราๆนี้เองที่จัดการตามที่เราเห็นว่าสะดวกเหมาะสม ทำไปปรับมาโดยคนทำเองก็คงไม่ทันคิดว่า นั่นคือความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ที่ควรจะบันทึกไว้เป็นประโยชน์ต่อคนที่ต้องทำงานแบบเราด้วย เพราะหากเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเหล่านี้กับคนที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา อาจมีการต่อยอดไปได้อีกหลากหลายลักษณะ

เชื่อว่าพวกเราทุกคนที่ทำงานกันมาคนละเกิน 10 ปีนั้น น่าจะเป็นขุมทรัพย์ความรู้ฝังลึกเคลื่อนที่กันทุกคน ไม่ว่าจะเป็น "พี่ปนัดดา, พี่นุชรัตน์, พี่วรรณี, พี่บุญเลิศ, พี่ผอบ, พี่ประจิม, พินิจ, มิง-อภิชาติ, น้องอ๋งซัง, ถวิล, นายดำ" ใครที่ช่างบันทึกก็คงต้องช่วยกันมอง ช่วยกันเขียน เก็บไว้เป็นหลักปฏิบัติในการทำงานแบบคุณภาพให้ได้ลปรร.กับคนทำ Lab Chem แบบพวกเรากันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 25618เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เห็นด้วยมากๆค่ะ คุณศิริทำงานเร็ว และที่สำคัญมีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นดีมาก ยอมรับจริงๆ

ได้อ่าน และเห็นภาพ ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นกว่าไม่มีภาพ เพราะคนที่ไม่อยู่ในที่ทำงานเดียวกันจะไม่เข้าใจ เล็กๆน้อยๆที่เล่าช่วยงานได้เยอะ ขออนุญาตนำไปเล่าสู่ให้น้องๆฟังด้วยนะคะ

            เมื่อวานมีโอกาสคุยกับ อ.สุธรรม ได้เรียนอาจารย์ว่า ตั้งแต่ได้เข้ามาใน gotoknow สิ่งที่ได้ก่อนคือ เพื่อน ที่เข้ามา ลปรร และได้รู้จักชาวพยาธิมากขึ้น ไม่ใช่หน่วยงานเดิมที่เคยรู้จัก แต่เป็นหน่วยงานเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นเด่นชัด ขอชื่นชมด้วยคนนะคะ

อยากประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน Smart Path (คุยเล่าเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนางาน) และชุมชนน้อง Path Variety (ที่รวมเรื่องเบาๆจากชาวพยา-ธิ) ได้รับการเผยแพร่สู่บุคคลากรคณะแพทย์ทุกท่านค่ะ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราชาวคณะแพทย์ใช้บล็อกของ GotoKnow เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วเราจะเข้าใจกันและกันได้มากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท