113 : เทคนิคการถ่ายภาพเมฆ แนะนำโดย คุณกฤษกร (บก.นิตยสาร ฅ.ฅน)


 

เราได้เห็นฝีไม้ลายมือในการถ่ายภาพเมฆ & ท้องฟ้า

ของคุณกฤษกร (จ๋อ) บรรณาธิการนิตยสาร ฅ.ฅน กันไปแล้ว

เช่นในบันทึก 109 : เมฆที่คลองสรรพสามิต & 108 : ไฟไหม้สวรรค์

 



คุณจ๋อจึงได้กรุณาฝากเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการถ่ายภาพเมฆเอาไว้ให้

ในบันทึก เมฆสีรุ้ง & ท้องฟ้า ฝีมือคุณกฤษกร ชุด 1 ข้อคิดเห็นที่ 11 ดังนี้ครับ


(หมายเหตุ : ผมเติมตัวเลขข้อเข้าไปเอง เพื่อให้อ้างอิงง่ายขึ้น ไม่ได้หมายถึงลำดับความสำคัญแต่อย่างใด)
 


 

ตอนผมถ่ายรูปเมฆ ผมมีวิธีอย่างนี้ครับ

1) ใช้ เอฟ สต็อป ค่อนข้างแคบ (ตั้ง f8 ในกล้องคอมแพ็กต์เลยแล้วดีเอง แต่ชัตเตอร์สปีด ควรจะสูงพอ!! )

2) ถ้าเป็น dSLR ลองใช้ C-PL หันหลังให้ดวงอาทิตย์ถ่าย ฟ้าจะเข้ม เมฆจะเด่นขึ้น (ถ้ายังให้หมุนหาดู) ในอุณหภูมิแสงกลางวัน ใช้กับแสงตอนใกล้พลบไม่ได้ผล

3) เครื่องวัดแสงกล้องอัตโนมัติมีแนวโน้มจะเกลี่ยแสงรวมทั้งหมดเข้ามา บางทีทำให้แสงสี หรือ เมฆจางกว่าที่เห็น ลองชดเชยแสงให้อันเดอร์ สัก 2/3 หรือ 1 สตอป

4)
ถ้าเลือกได้ ขาตั้งกล้องก็จำเป็น โดยเฉพาะในแสงเย็น หรือเช้า จะทำให้เลือกเอฟ สต็อป ที่เหมาะดีพอ

5) ถ้าเมฆมีหยึกหยักน้อย กล้องมักหาโฟกัสพลาด ลองขยับจุดโฟกัสไปหาตำแหน่งที่มีความแตกต่างในภาพมากที่สุด เช่น ก้อนเมฆที่เป็นสัน มีขอบ

6)
แมนนวล โฟกัส ไปที่อินฟินิ้ตี้ ก็พอช่วยได้ ในกรณีคนแก่สายตาเริ่มยาว (แบบผม)แต่อาจมีปัญหาหากใช้ช่วงความยาวโฟกัสกลางๆ ถึงเทเล

7) ภาพเมฆสวยๆ ที่เห็นจากนิตยสารต่างประเทศ ไม่ได้เกิดจากการเห็นแล้วกดส่งๆ ไป แต่คนถ่ายมักคิดก่อนแล้วพยายามถ่ายทอดให้ได้เหมือนที่ตาเห็น (แค่นี้ก็ยากแล้ว แค่ถ่าย iriastion ให้เข้มๆ เห็นชัดๆ ก็ต้องใช้ประสบการณ์พอดูแล้วครับ)



เอามะพร้าวมาขายสวนสามพรานเท่านี้ครับ

จ๋อ

 


ไว้รอคุณจ๋อ & ผู้รู้ท่านอื่นๆ มาช่วยกันเติมเต็มอีกที


ขอบคุณคุณจ๋อมากครับ

^__^

 

หมายเลขบันทึก: 255433เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2009 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะ

เอาภาพมาฝากให้ช่วยไขปริศฯค่ะ

ภาพนี้ถ่ายในเวลาใกล้เคียงกันค่ะ

 ขณะกำลังวิ่งไปรอบๆสนามฟุตบอลค่ะ

(ขออภัยพิมพ์ผิดคำว่า"ตะวะนออก"ที่ถูกควรเป็น"ตะวันออก"ค่ะ)

และอีกภาพถ่ายโดยหันหน้าไปหาดวงอาทิตย์ที่กำลังจะลับขอบฟ้าค่ะ

แสงทั้ง 2 ฝั่งคล้ายมีทิศทางเดียวกัน ครูต้อยงงนะคะ กรุณาอธิบายสักนิดว่าเกิดอะไรขึ้น หรือเป็นธรรมชาติของอะไร  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ชิว และพี่จ๋อ

อิอิ มาจิ๊กวิชาครับผม 555

เห็นด้วยครับผม และจะฝึก ฝึก ฝีก และก็ ฝึกนะครับผม เพื่อชมรม วะอะ อะ :)

ขอบคุณมากๆครับผม

  • สวัสดีครับพี่ชิว
  • มีอีกข้อครับ คือถ่ายภาพให้มุมกว้างที่สุด จะทำให้สีท้องฟ้าเข้มสะใจขึ้น โดยเฉพาะเวลาตะแคงกล้องตั้งฉาก แล้วค่อยไปตัดขอบเลือกหย่อมภาพที่ต้องการอีกที88291506
  • ตัวอย่างคือ ภาพนี้ ถ้าผมมีกล้องที่ถ่ายมุมกว้างกว่านี้ได้ สีจะเห็นยิ่งตัดกันกว่านี้ครับ
  • ขอต่อครับ รูปก่อนหน้าถ่ายปรกติ ไม่ได้ตะแคงกล้อง
  • อีกรูป ก็คล้ายกันครับ ไม่ได้ตะแคงกล้อง เพราะอยากได้องค์ประกอบภาพแนวนอน แต่ถ้าตะแคงกล้องได้ ก็รับรองจะเห็นการลาดเทความเข้มสีชัดกว่านี้

56060335

สวัสดีปีใหม่ไทย ค่ะอาจารย์ และมาศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพจากอาจารย์ด้วยนะคะ

การถ่ายภาพ คือการเพนต์ด้วยแสงลงไปยังวัตถุ (ซึ่งอันที่จริง ก็คือการลงสีด้วยความยาวคลื่น ในเมื่อ สี คือ ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ) ด้วยเหตุนี้ รังสีจากดวงอาทิตย์ของครูต้อย ก็คือการระบายสีด้วยช่วงคลื่นยาวของดวงอาทิตย์ ยามเย็น ไปบนละอองอณูในบรรยากาศ และสะท้อนออกมาเข้าตาเรา หรือโฟโต ไซต์ของกล้องดิจิตอล

kriskorn

คุณ wwibul

ความเห็นที่ 3 นั่นใช่ที่อ่าง ม.อ. มั้ยคะ

สวยจังค่ะ ^^

ภาพสวยมากค่ะ ละก็ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆค่ะ

ขอคำแนะนำด้วยค่ะพี่ถ้าจะซื้อกล้องคู่ใจสักตัว

เอาแบบพอใช้ ไม่ต้องแพงมาก คุณภาพน่าพอใจ

มีปัญหาที่ว่ากล้องคอมแพ็กถ่ายรูปออกมาแล้ว ไม่ได้ใจอ่ะค่ะ

ไม่สวยเหมือนตาเห็น ถ่ายแล้วเซ็ง ออกอารมณ์หงุดหงิด

ก็เลยเก็บตังค์สร้างเนื้อสร้างตัว จะซื้อกล้องคู่กาย และคู่ใจ

แต่ต้องหาข้อมูล รุ่น ยี่ห้อซะก่อน

เห็นเค้าว่า Nikon ถ้าถ่ายภาพท้องฟ้าหรือทิวทัศน์จะออกมาสีสดกว่าตาเห็นนิดนึง

แต่Cannon ภาพจะออกมาเป็นสีคล้ายธรรมชาติมากกว่า

ขอคำแนะนำจากพี่จ๋อ ด้วยนะคะ น้องเงินน้อย จะซื้ออะไรต้องตัดสินใจนานหน่อยค่ะ

สวัสดีครับ ทุกๆ ท่าน

         ต้องขออภัยที่ไม่ได้ตอบบันทึกนี้เลย (เขกหัวตัวเอง 10 โป๊กๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...อ่า...ครบ 10 แล้วครับ ลองนับดูได้ ;-))

 Krutoi : น่าทึ่งทีเดียวครับ ยังไม่เคยทราบว่า crepuscular rays จะมีลักษณะแบบนี้ได้

             ถ้าผมค้นเจอเมื่อไร จะนำมาตอบขึ้นบันทึกใหม่ทีเดียวครับ

เดย์ : ฝีมือดีอยู่แล้ว ได้เคล็ดวิชาจากคุณจ๋อนี่ยิ่งทำให้เหมือนเสือติดปีกแน่ๆ ครับ

อาจารย์ wwibul : ขอบคุณสำหรับเทคนิคตะแคงกล้องครับ เดี๋ยวจะขอลองดูบ้าง

อาจารย์ ทรายชล : ทดลองเทคนิคคุณจ๋อแล้ว ได้ผลยังไง ส่งภาพมาให้ชมหน่อยครับ ^__^

คุณจ๋อ kriskorn : ขอบคุณที่แวะมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

 

น้องดา dae_da : พี่ว่าน่าจะใช่นะครับ อ.Wibul อยู่ มอ.

น้องเอ๋ เสี่ยวอวิ๋น : ไว้จะส่งคำถามต่อไปให้คุณจ๋อ กฤษกร นะครับ

มาต่อกันอีกนิดหน่อยครับ เข้าใจว่าที่เขียนไว้แล้วที่"พี่ชิว" เอามาขึ้นไว้ที่นี้ อาจไม่มีใครอ่านรู้เรื่อง

อนุมานเอาว่า เราๆ ท่านๆ ที่ถ่ายภาพเมฆกัน ณ ที่นี้ ใช้กล้องดิจิตอลคอมแพ็กต์ ป๊อกแป๊ก และคงไม่มีใครพกขาตั้งกล้องไปด้วยสักเท่าไร

ผมจึงขอพูดถึงวิธีการง่ายๆ ที่อ่านรู้เรื่องก็แล้วกันนะครับ

กรณีที่ท้องฟ้า มีสีฟ้า หรือพอจะเป็นสีฟ้า ถ่ายภาพในตำแหน่งที่ผู้ถ่ายหันหลังให้ดวงอาทิตย์จะทำให้เห็นความฟ้า และความขาว ได้ดีกว่า การใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบของกล้อง จะแม่นยำได้ในกรณีที่ส่วนที่เป็นสีฟ้า มีสัดส่วนมากในภาพ แต่ถ้าส่วนที่เป็นสีขาวของเมฆ มีมากกว่า กล้องจะวัดแสงเฉลี่ยออกมามืดกว่าจริง (หรืออันเดอร์) เพราะระบบวัดแสงในกล้องถูกหลอกด้วยความขาว วิธีนี้แก้ได้ด้วยการชดเชยแสงเป็นบวกมากน้อยตามแต่ชอบ ถ่ายแล้วลองดูผลได้เลย

แต่ท้องฟ้าหน้าฝน บางทีก็เต็มไปด้วยปื้นเมฆขาวแผ่เต็มฟ้า ( แล้วจะถ่ายทำไมละเนี่ย)กรณีเช่นนี้ หลายท่านนิยมใช้แผ่นฟิลเตอร์เพื่อย้อมสีเมฆ ( ซึ่งไม่ขอแนะนำในกรณีคนรักเมฆอย่างเราๆ ) แต่อาจใช้แผ่นพลาสติกสีเทา หรือหาเอาใกล้ๆมือก็แว่นกันแดด ก็ได้มาบังหน้าเลนส์ ระวังอย่าให้ติดขอบ ก็พอจะได้ภาพที่เห็นเมฆเป็นเมฆมากขึ้น

เอาเป็นว่า ถ้าอยากมีอะไรถามเพิ่มเติมก็ถามมาได้ครับ ถ้ารู้ก็จะตอบ ถ้าไม่รู้ก็จะขวนขวายไปค้นหามาให้ครับ

เพิ่งเห็นคำถามของคุณเสี่ยวอวิ๋น เอาเมื่อผ่านไปสามเดือน สงสัยซื้อไปแล้วมั้ง

ผมขอแจงเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

1.กล้องคอมแพ็กต์ถ่ายแล้วไม่ได้ใจ ไม่สวยเหมือนตาเห็น

ความจริง กล้องคอมแพ็กต์ ( หลายๆรุ่น) ก็สามารถถ่ายให้เหมือนตาเห็นได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กล้อง แต่อยู่ที่ยูสเซอร์ รู้จักกล้อง และหลักการการทำงานของกล้องเพียงใด

กล้องคอมแพ็กต์ ถ่ายให้เหมือนตาเห็นนั้นได้ แต่กล้องที่ถูกผลิตมาเพื่อให้ใช้งานง่าย หากมาทำงานในโจทย์ยากก็ย่อมมีความจำกัด ในกรณีที่สิ่งที่อยากให้เหมือนตาเห็น ยากเกินกว่ากล้องถูกคิดมาให้ใช้งาน แต่ไม่ใช่ว่าถ่ายไม่ได้

ถ้าจะพูดเรื่องนี้ ต้องว่ากันยาว อาจเป็นวัน! เอาเป็นว่าดิจิตอล คอมแพ็กต์ หลายรุ่นก็ยืดหยุ่นพอ อยู่ที่เราเลือกมาใช้ เอาชนิดที่แป้นมีคำว่า P(โปรแกรม) M( แมนนวล) A(กำหนดรูรับแสง) S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์)นั่นแหละ ช่วยได้ แต่อาจจะช้ากว่ากล้องDSLR นิดหน่อยแต่ก็ไม่มาก

2.ถ้าคิดว่าจะหันไปหากล้องDSLR ก็ไม่ได้แปลว่าจะถ่ายได้ใจ แล้วสวยเหมือนตาเห็นเสมอไปนะครับ ยิ่งภายใต้งบจำกัด โอกาสเลือกเลนส์ ซึ่งค่อนข้างสำคัญก็จะเป็นตัวแปร

3.ไม่ต้องสนใจว่าไนค่อน สีจัด คอนทราสต์ดี แคนอน สีจืด ตรง แต่มีดีเทลดังที่ใครเขาว่า เอาเป็นว่า ราคาที่ตั้งใจไว้กับตัวที่เราเลือกได้ ลองหยิบจับแล้วชอบหรือเปล่า ผู้ผลิตมีการวางยาให้เราต้องเพิ่มอะไรที่ไม่จำเป็นหรือเปล่า

ผมเล่าประสบการณ์ตัวเองให้ฟัง ผมมีบอดี้เล็กๆ 350d เลนส์คิด กับอีกตัวที่เป็นรุ่นโปร บอดี้ใหญ่หน่อย กับเลนส์ชุดใหญ่ แล้วก็ดิจิตอล คอมแพกต์ l0 mpixel เวลาเดินทางทีนึง เอานำหนักมาคำนวน ลงท้ายลงเอยที่350d หรือไม่ก็คอมแพ็กต์ทุกทีไป และด้วยความเป็นดิจิตอล คุณภาพของกล้องเล็กๆ อาจจะต่างกับตัวแพงๆ แต่ก็ไม่ได้มากมาย รูปที่ใช้งาน (ประกอบสารคดี ตีพิมพ์ด้วยซ้ำไป) เอาเข้าจริง มาจากจังหวะเหมาะเหม็ง และไอ้ที่เหมาะเหม็งได้ก็มาจากเจ้ากล้องที่ติดมือบ่อยที่สุด ซึ่งแน่นอน ไม่ใช่กล้องใหญ่ๆ

ทั้งหลายทั้งปวงจึงอยู่ที่คนถ่าย ว่ารู้จักข้อจำกัดและสลายข้อจำกัดของกล้องที่ตัวเองมีอยู่ได้อย่างไร

เอาเข้าจริงแบรนด์หลักๆ ในตลาด มีข้อดีก็เพียงหาเลนส์ให้เลือกได้มากขึ้นเท่านั้นเอง แม้แต่ระบบแฟลช ผมยังไม่วอรี่เลยเพราะดิจิตอลทำให้ถ่ายแล้วดูภาพได้เลย ใช้แฟลชแมนนวลก็ได้

ถ้าเสี่ยวอวิ๋น ยังไม่ได้ซื้อ แต่สรุปได้ว่าจะเลือกคอมแพกต์หรือเอสแอลอาร์

ค่อยคุยกันเพิ่มดีไหมครับ อีเมล์มาก็ได้ ครับ

สวัสดีครับ คุณจ๋อ

        โอ้โห! ตอบได้ละเอียดสะใจดีครับ

        ผมได้นำ e-mail ไปให้คุณเสี่ยวอวิ๋นแล้วครับ ขอบคุณครับ

โอ้โห!! พี่จ๋ออธิบายได้สุดสะแด่วไปเลยครับพี่ชิว ^^

เดย์ชอบนะครับที่พี่จ๋อ และเราคุยกันสบายสบาย ตรงไปตรงมาอย่างนี้ ไม่เหมือนเข้าไปในเว็ปห้องถ่ายรูป...หูยอันนั้นนะ อะไรก็ไม่รู้ เราเข้าใจอยู่หรอกครับ แต่รู้สึกจะเวอร์ไปนิด เข้าถึงยากมากๆสำหรับคนทั่วไปที่สนใจและเพิ่งเริ่มต้น ;)

ตรงใจสุดๆครับพี่จ๋อ

เอ๊?? เดย์จะเขียนบันทึกการถ่ายเมฆ และท้องฟ้า มาเห็นบันทึกนี้ของพี่จ๋อแล้วจะเขียนอะไรว๊า? พี่ท่านอธิบายแล้วแบบละเอียดยิบ 555

เอาเป็นว่าเล่าประสบการณ์การถ่ายภาพมาแบ่งกันอ่านละกันนะครับ ;)

ขอบคุณค่ะพี่จ๋อ

และก็ขอบคุณพี่ชิวด้วยค่ะ ที่ส่งข่าวมาบอกเอ๋ถึงบล็อกเลย

เดี๋ยวเอ๋จะ Mailไปถามพี่จ๋ออีกทีนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

เดย์!

         มานึกกลับกันนะครับ.....อย่าง "ห้องดูเมฆ" ของพวกเรานี่ เวลามีคำแปลกๆ อย่าง อัลโตคิวมูลัส เลนติคิวลาริส (ก็ เมฆจานบิน นั่นแหละ) หรือ วินด์เชียร์ ฯลฯ ก็อาจจะทำให้คนที่เพิ่งหัดดูเมฆบ่น (อะไรกันวะ...อิอิ) ได้เหมียนกัลล์เนอะ!

         เรื่องเขียนเทคนิคการถ่ายภาพเมฆให้ได้ดั่งใจนี่ลุยไปเลยครับ เขียนเสร็จแล้ว อาจจะเชิญจอมยุทธ์อย่าง คุณจ๋อ มาแสดงความคิดเห็น สนุกดีออก

         อีเมลคุณจ๋อนะครับ kriskornw at(@) gmail.com

         และพบกับ คุณจ๋อ ได้ตามแผงหนังสือทั่วไป ในบท บก. ฅ.คน (โฆษณาเต็มๆ เลย ไม่ต้องแอบแฝง 555)

เมฆน้อย-เสี่ยวอวิ๋น

        ดีเลย อย่าลืมเตรียมเงินไว้สัก 2-3 หมื่น ค่ากล้อง อิอิ

นำเมฆ "หงษ์เหิร" มาฝากด้วยความนับถือค่ะ :)

 

สวัสดีครับ คุณ berger0123

         เดี๋ยวจะนำภาพเมฆไปฝากครับ ^__^

สวัสดีครับ ดร.กะปุ๋ม

         แวะนำภาพเมฆไปฝากแล้วครับ ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท