โรงเรียนชาวนาระดับอุดมศึกษา (4.2) สนั่น เวียงขำ


...หากถ้าในวันนั้นอาการรุนแรงมาก ก็คงนอนตายอยู่กลางทุ่งไปแล้ว...
โรงเรียนชาวนาระดับอุดมศึกษา (4.1)

          แล้วก็เริ่มมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เพราะรีบหว่านยาเม็ดใส่ในนา เพื่อที่จะไปทำที่อื่นต่ออีก ปรากฏว่าเกิดเพลีย แต่ยังไม่มีอาการเชียว จึงไปนอนเฝ้าเครื่องที่กลางทุ่ง ตอนเย็นตอนกลางคืนก็ยังไม่มีอาการอะไร แต่พอมาตอนเช้าอีกวันหนึ่งนะซิ ตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะกลับบ้าน พอจะลุกก็ลุกไม่ขึ้น แล้วก็เวียนหัว อาเจียน ลืมตาไม่ได้เลย จึงนอนพักต่ออีกสักพักหนึ่ง แต่ก็ยังเวียนหัวอยู่ กว่า ๒ ชั่วโมง อาการจึงดีขึ้น ... คิดในใจว่าเป็นอะไร ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นเลย จะเป็นเพราะรีบใส่ยามากเกินไปหรือเปล่า นี่คงจะเป็นผลจากการใช้สารเคมีนั้นร้ายแรง อันถึงชีวิตได้ หากถ้าในวันนั้นอาการรุนแรงมาก ก็คงนอนตายอยู่กลางทุ่งไปแล้ว ไม่มีใครรู้หรอก พอดีว่ายายังไม่ถึงขีด (หัวเราะ) ... ไม่ได้ไปหาหมอ พอหายเป็นปกติ คลายจากอาการเวียนหัวเป็นปกติ ก็ไม่ได้เป็นอะไร

       คนอื่นๆก็เป็นกันนะ หามส่งโรงพยาบาลกันก็มี อย่างเช่นรายที่เคยจ้างเขามา บอกเขาว่าไม่ต้องฉีดให้หมดหรอกนะ อีกวันมาอีกรอบก็ได้ แต่เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร จะฉีดให้เสร็จเลย พอตกเย็นก็ได้หามส่งโรงพยาบาลเลย...หมอช่วยได้ทัน

        หลังจากนั้นก็เริ่มห่างยา จ้างคนเขาช่วยแทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็คิดอยู่ว่าถ้าจะเลิกใช้ยาหรือสารเคมีแล้วจะทำอย่างไร ตอนนั้นยังคิดไม่ออก แม้จะดูทีวีบ้างฟังวิทยุบ้าง ตอนนั้นมีเรื่องสารสะเดาออกอากาศก็เริ่มรู้บ้าง แต่ไม่มั่นใจ และไม่มีรายละเอียดว่าจะให้ทำอย่างไร คิดในใจว่าสารเคมีกับสะเดาจะแทนกันได้หรือ ขนาดยาแพงๆยังเอาไม่อยู่เลย แล้วสะเดาจะได้ผลจะเป็นไปได้อย่างไร

        ตอนนี้อายุมากแล้ว ร่างกายก็ไม่ค่อยดีแล้ว ก็เห็นผล (หัวเราะ)

        พอมูลนิธิข้าวขวัญเข้ามาวัดดาว ก็อยากจะทดลอง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีพวกกลุ่มเกษตรปลอดสารเข้ามาเหมือนกัน แต่มาเพียงวันเดียว มาแนะนำการใช้สมุนไพร มาวันเดียวแล้วก็ผ่านไป

       ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ ได้ไปอบรมของคิวเซ อบรมวันเดียว เขาแจกหนังสือตำรากลับบ้านมาทดลองเอง จุลินทรีเขาให้มาทดลองทำ จะเอามาจากไหนก็ไม่รู้ แต่เขาก็มีชื่อของเขาอยู่ การไปอบรมของคิวเซเป็นแนวทางที่ทำให้ได้รู้จักเรื่องจุลินทรี ปุ๋ยหมัก แต่ยังไม่ได้ทดลอง

       ต่อมาได้เข้าโรงเรียนชาวนา คุณเดชา ศิริภัทร ได้มาคุยเล่าให้ฟัง แล้วคุณณรงค์ อ่วมรัมย์ ก็สอบถามต่อว่า สนใจจุลินทรีไหม อยากจะไปเก็บกันไหม กลุ่มนักเรียนชาวนาก็ตกลงกันเลย ก่อนจะไป คุณณรงค์ได้แนะนำวิธีการเก็บเชื้อจุลินทรี หลังจากเก็บมาแล้ว ก็มาคุยกันต่อเรื่องวิธีหมักวิธีเพาะเชื้อ แล้วค่อยมาติดตามผลกันที่โรงเรียน (โรงเรียนชาวนา)

      ในตอนแรกคุณพิมล ศรีหมากสุก มาสาธิตให้ดูก่อน เขาเอาจุลินทรีที่เก็บได้มาจากป่าเขาใหญ่ มาใส่ถัง ๒๐๐ ลิตร แล้วสอนวิธีทำ เสร็จแล้วแบ่งกันคนละ ๕ ลิตร ให้มาเป็นหัวเชื้อ

        พอได้รู้จักแล้วจุลินทรีเป็นอย่างไร พอไปเก็บเชื้อจุลินทรีจากน้ำตกไซเบอร์มาก็นำมาทดลองดูในแนวเดียวกัน ปรากฏว่าลักษณะออกมาอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างที่เก็บมาจากป่าเขาใหญ่ แล้วก็ดูลักษณะเหมือนกันกับที่อบรมคิวเซด้วย แต่จุลินทรีที่ทำเองได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งไปเก็บจากป่า

       เก็บจุลินทรีมาจากน้ำตกไซเบอร์ ก็เอามาต่อเชื้อโดยใส่กับใบไผ่ ซึ่งคุณพิมลแนะนำไว้ แต่คนอื่น (เพื่อนนักเรียนชาวนา) ทำไม่ได้ ไม่รู้ว่าคนอื่นทำแบบใด บางครั้งเขาก็บอกว่าทำไมมันสีดำ ไม่เห็นเป็นสีขาวเป็นใยขาวเหมือนตัวอย่างเลย

       จุลินทรีที่ได้จึงเอาไปหมักปุ๋ย หมักปลา หมักหอย แล้วใส่ในแปลงนาข้าว ใส่ไปกับน้ำ เพราะรู้ว่าจุลินทรีจะช่วยปรับสภาพดินสภาพน้ำ ผลออกมาได้ดีกว่าแปลงที่ไม่ได้ใส่ ซึ่งสังเกตดูได้ว่ามีความแตกต่างกัน เฝ้าสังเกตดู เป็นการทดลองไปและสังเกตดูว่าการเปลี่ยนแปลงจะผิดแปลกไปมากน้อยเพียงใด

     

ภาพที่ ๒๒ – ๒๓ แปลงนาที่ใช้วิธีการหมักฟางด้วยจุลินทรี และไม่เผาฟาง

   

ภาพที่ ๒๔ – ๒๕ สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในแปลงนา ซึ่งเป็นผลมาจากการหมักฟางด้วย        จุลินทรีนานกว่าสัปดาห์

        ช่วงที่เรียนเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน คุณเดชา ศิริภัทร สอนไว้ว่า จุลินทรีสามารถช่วยย่อยฟางได้ โดยที่ไม่ต้องเผา เพียงใส่จุลินทรีแล้วย่ำหมักในดิน ชาวนาทำได้ แต่ไม่ทำกันเอง พอได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็คิดเอาว่าน่าทดลอง ในฤดูกาลต่อไปก็ทดลองจริง ส่วนฝ่ายแม่บ้านบอกว่าจุดเผาไปเถอะ ชาวบ้านเขาจุดเผากันไปแล้ว จึงบอกไปว่ายังไม่จุดหรอก ว่าแล้วก็ใส่น้ำจุลินทรีเลย แล้วก็ไถ แปลงนี้ทดลองก่อน ๑๐ ไร่ ซึ่งเป็นแปลงอยู่ติดสวน หากจุดไฟ ไฟอาจจะลุกเข้าไปในสวนผลไม้ของเขาได้ ใจก็ไม่อยากเผาอยู่แล้ว ใส่จุลินทรีได้อาทิตย์กว่าๆก็กลับมาย่ำฟาง ก็เอามือหยิบดู ปรากฏว่ามันยุ่ยจริงๆ แล้วน้ำในนาแทนที่จะเป็นสีดำเหมือนทุกครั้ง ก็กลับกลายเป็นคล้ายๆสี...สีชา คือไม่ดำ ปกติมันจะดำ

       ส่วนแปลงที่ไม่ได้ใส่จุลินทรีก็ยังเหนียวหนึบอยู่เหมือนเดิม พอหมักฟางแล้วข้าวจะเขียว เขียวนาน มีสภาพไม่เหมือนกับที่ใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งเขียวไม่กี่วัน พอหยุดใส่ปุ๋ย ข้าวก็เหลือง

ภาพที่ ๒๖ คุณสนั่น เวียงขำ สาธิตวิธีการหมักฟางด้วยจุลินทรี

ภาพที่ ๒๗ เทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการใส่น้ำหมักจุลินทรีลงในแปลงนา

         เที่ยวแรกกับเที่ยวที่ ๒ ขอทดลองเองก่อน เพราะอยากจะรู้ว่าผลเป็นอย่างไร พอเห็นว่าได้ผลเหมือนกัน จากนั้นมา จึงทำมาเรื่อยๆ หลังจากได้ผลในเที่ยวที่ ๒ แล้วก็ไปบอกญาติพี่น้องนาติดกันให้ทดลองทำตามดู รวมกันเป็น ๓ คน หมักฟางเหมือนกัน ไม่เผาแล้ว ชาวบ้านเขาผ่านไปผ่านมา เขาเห็นเขาก็หัวเราะเยาะกัน เพราะ ๓ คนทำไม่เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป ชาวบ้านทั้งหมดเขาเผาฟางในนากัน เกลี้ยงหมด แล้วก็เริ่มไถกัน ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเขาไม่หมักฟางกันเพราะกลัวแก๊ส เพราะไม่รู้ว่าจะต้องเอาจุลินทรีใส่ลงไปช่วยย่อยได้ เมื่อก่อน ถ้าเผาฟางไม่ทัน พอดีฝนตกลงมาก่อน ก็จำต้องย่ำฟาง แล้วฟางก็เน่าเป็นแก๊ส

       ไม่ได้เผาฟางมา ๒ ปีแล้ว ไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงแล้ว ซึ่งตอนแรกๆก็ใช้วิธีการลดสารเคมีลงก่อน ในตอนนี้ไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงแล้ว เหลือเพียงยาฆ่าหญ้าเพียงอย่างเดียว ข้าวสามารถตั้งตัวได้ แมลงก็เข้ามาอยู่ เพราะมีที่อยู่มีที่หลบ ก็เพาะลูกแพร่หลานแพร่หลายออกมา ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ เราคอยดูแลอย่างเดียว ว่ามีปริมาณมากหรือน้อย ว่าจะแก้ไขอย่างไร

      ในทุกวันนี้ ร่างกายก็ดี สบาย ไม่เครียด โดยเฉพาะระบบการจัดการที่ไม่ต้องเครียด ไม่เหมือนกับตอนที่ใช้สารเคมี ต้องจัดการตามตาราง วันนี้ต้องฉีดนานี้ วันนั้นต้องไปฉีดนาโน้น ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียก็เกิดขึ้น พอมาในปัจจุบัน ไม่ต้องไปคิดเลยเรื่องตาราง สุขภาพก็ดี เวลาก็มีเพิ่ม

      ตอนนี้ก็มีคนมาถาม เริ่มเอาอย่าง ก็ยินดีจะบอกให้จนหมดเปลือก ไม่เคยคิดที่จะปิดบัง อยากจะให้เขาได้ลดต้นทุน

      การทำนาเป็นอาชีพ อย่างไรก็หนีไม่พ้นอาชีพนี้ ต้องหาทางออกให้ได้ โดยการไปเรียนรู้ หาวิธีแปลกใหม่ ส่วนจะใช้หรือไม่ใช้ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง ซึ่งต้องทดลอง ต้องเปรียบเทียบ ต้องคิด ว่าเป็นไปได้ไหม เป็นประโยชน์ไหม ทำได้จริงไหม มากน้อยอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องทดลองด้วยตัวของเราเอง”

         

ภาพที่ ๒๘ เพาะข้าวกล้าเพื่อเตรียมดำ     ภาพที่ ๒๙ แปลงนา

       

ภาพที่ ๓๐ ถังหมักจุลินทรีย์                  ภาพที่ ๓๑ กองปุ๋ยหมักชีวภาพ

       

                ภาพที่ ๓๒ – ๓๓ เชื้อจุลินทรีย์ที่พบในถังหมัก

หมายเลขบันทึก: 25537เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2006 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หจก. พรจันทร์มาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป

จำหน่ายปุ๋ยปลาปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตราชาวประมง

ปุ๋ยปลา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น สารละลายเข้มข้น ที่ได้จากปลาสดโดยกระบวนการหมักซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย มีธาตุอาหารหลักและรองครบตามที่พืชต้องการ

วัตถุดิบ

ปลาสดจากทะเล : ให้ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แก่ต้นพืช

ส่าเหล้า : สารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีธาตุอาหาร N: P: K ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ

จุลลินทรีย์ : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวกลางช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซึมธาตุอาหารของพืชได้เร็วขึ้น

ใช้ได้กับทุกชนิดพืช ไม้ผล,ไม้ดอก-ไม้ประดับ,พืชสวน,พืชไร่,พืชผัก,นาข้าว,โรงเพาะเห็ด,หัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักแห้ง, ปาล์มน้ำมัน, ยางพารา

ประโยชน์ของปุ๋ยปลาตราชาวประมง

-ปรับสภาพดินและฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตกรรมมายาวนาน และจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกินขนาด ช่วยให้ดินโปรง ร่วนซุย

-ปรับความเป็นกรด-ด่างในดิน สร้างความต้านทานโรครากเน่าโคนเน่า

-ช่วยเปิดรากพืชเสริมการดูดซึมธาตุอาหารแก่พืช

-มีสารเร่งการเจริญเติบโต GA3, IAA

-เพิ่มความเขียวสดเป็นมันวาวให้ไม้ใบ ยืดอายุการบานของไม้ดอก

-มีกลิ่นและสารช่วยไล่แมลง พวกแทนนิน ลิกนิน

-ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพสูงสุด

มีขนาด 1 ลิตร 5 ลิตร 20 ลิตร มีทั้งราคาส่งและปลีก

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อมานะครับ ขอบคุณครับ

สนใจติดต่อ คุณกัญญา สารแก้ว คุณอัญชรี 077-541347’544473 อ.หลังสวน จ.ชุมพร

หรือ คุณวิรัตน์ หมวดแทน 089-6455239

http://www.paknamlangsuan.com/forum/index.php?board=25.0

พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท