OKM : การพัฒนาดัชนีและเกณฑ์ของงานห้องปฏิบัติการ


  ในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ Office KM  ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการไม่ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาคุณเสริม (เลขานุการคณะเกษตรฯ) ได้โทรมาปรึกษาหารือกับผมเกี่ยวกับเกณฑ์ของงานห้องปฏิบัติการ ว่าควรมีการปรับเปลี่ยน ผมเลยขอใช้ Blog เป็นเวทีเสมือนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกณฑ์ของงานห้องปฏิบัติการครับ

   เกณฑ์งานห้องปฏิบัติการเดิม (ที่รศ.มาลินีเคยเสนอไว้ครับ)

   (1) มีการจัดระบบห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานตรงตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
   (2) มี (1) + มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ
   (3) มี (2) + มีระบบควบคุมการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ
        วิชาการที่สามารถตรวจสอบได้
   (4) มี (3) + มีการประเมินผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการ
        อย่างต่อเนื่อง
   (5) มี (4) + นิสิต คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่พึงพอใจในบริการที่ได้รับ  

   สำนักงานเลขานุการคณะเกษตรฯ ขอปรับเปลี่ยนโดยการสลับข้อดังนี้ 


    (1) มีระบบควบคุมการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ
        วิชาการที่สามารถตรวจสอบได้
    (2) มี (1) + นิสิต คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่พึงพอใจในบริการที่ได้รับ 
    (3) มี (2) + มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ 
    (4) มี (3) + มีการจัดระบบห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานตรงตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
    (5) มี (4) + มีการประเมินผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการ
        อย่างต่อเนื่อง

    สำนักงานเลขานุการคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผมได้ติดต่อกับผู้ที่รับผิดชอบในงานห้องปฏิบัติการแจ้งว่า "ปรับอย่างไรก็ได้ครับ" (ต้องขอชมเชยจริง ๆ ว่า พร้อมรับการประเมินอยู่เสมอ)

    สำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ ขอปรับเปลี่ยนดังนี้

   (1) มีการปฏิบัติงานตามเอกสารอธิบายลักษณะงาน 
  
(2) มี (1) + มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ
   (3) มี (2) + มีระบบควบคุมการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ
        วิชาการที่สามารถตรวจสอบได้
   (4) มี (3) + มีการประเมินผลการดำเนินงาน
   (5) มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง

    ขอเชิญเจ้าหน้าที่งานห้องปฏิบัติการของสำนักงานเลขานุการคณะ ที่มีงานห้องปฏิบัติการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ เพื่อพัฒนางานประกันคุณภาพของสำนักงานเลขานุการ 

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

 

  

หมายเลขบันทึก: 25528เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2006 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เท่าที่จำได้ เมื่อก่อนเคยมีการเชิญประชุมกันเรื่องนี้ โดยท่านรองอธิการบดี ผศ.ดร.วิบูลย์ เป็นประธานและเรื่องก็เงียบหายไป มีการแยกดัชนีเกี่ยวกับห้องปฏิบัติอยู่หลายหัวข้อ ลองตามเรื่องดูนะครับ  สำหรับผมมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

1. เห็นว่าควรแยกเรื่องคนกับมาตรฐานงานไว้คนละหัวข้อ

2. ลองแจกแจงงานในแต่ละข้อออกมา ให้นิยามว่าจะประเมินแค่ไหน และนำเรื่องพื้นฐานง่ายสุดไว้ระดับแรก และที่ยากสุดไว้ลำดับหลัง ง่ายสุดลองไปดูเกณฑ์ตามมาตรฐานต่าง ๆ มาเป็นแนวทาง

3. นอกจากมาตรฐานวิชาชีพอาจใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งยอมรับกัน เช่น มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางแพทย์ มาตรฐานเทคนิคการแพทย์  HA  ISO 15189  หรือ อื่น ๆ  ซึ่งแก่นสารข้างในก็ไม่ต่างกัน คือประกอบด้วยเรื่องของ องค์กรและการบริหาร บุคลากร เครื่องมือห้องปฏิบัติการ การจัดซื้อและการใช้บริการภายนอก การควบคุมกระบวนการ เอกสารคุณภาพ การควบคุมสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด การตรวจติดตามภายใน การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ  แต่การที่จะให้ได้มาตรฐานก็เป็นเรื่องไม่ง่ายครับ

 

 

1.  เห็นด้วยกับ อ.ครรชิต ในข้อที่ 1 ค่ะ  คือ เกณฑ์ข้อ (1) มีการปฏิบัติงานตามเอกสารอธิบายลักษณะงาน  เป็นการประเมินบุคคลากร  ไม่ควรนำมาปะปนกับการประเมินผลการดำเนินงาน (การประเมินคน คณะมักมีระบบอยู่แล้ว)

2. ห้องปฏิบัติการของคณะวิชาต่างๆ  ถ้าเห็นว่ามีลักษณะเฉพาะที่ให้บริการไม่เหมือนกัน  ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เกณฑ์เดียวกันก็ได้กระมังค่ะ อาจแบ่งเป็น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ  กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ฯลฯ เพื่อการเทียบเคียงคุณภาพในสาขาเดียวกันก็ได้ค่ะ  ไม่เช่นนั้น อาจคุยกันไม่รู้เรื่อง เหมือนที่ผ่านมา

3. ห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษา  มีวัตถุประสงค์ที่ต่างจากห้องปฏิบัติการในหน่วยราชการที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว  กล่าวคือ ห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษา  มีไว้เพื่อการเรียนการสอน  การวิจัยและการบริการวิชาการ  ดังนั้น  การตั้งเกณฑ์การประเมินจึงขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของห้องปฏิบัติการนั้นๆ ด้วย  ซึ่งแนวทางต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้  ควรให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของคณะและสถาบัน

4. แบบที่ สำนักงานเลขานุการคณะเกษตรฯ ขอปรับเปลี่ยนโดยการสลับข้อ   ก็เป็นข้อเสนอที่ดีนะค่ะ ดิฉันขอแจมสลับข้ออีกทีค่ะ  (ส่วนที่เป็นตัวแดง) เพราะเห็นอาจารย์ครรชิต พูดถึงเรื่องมาตรฐานห้องปฏิบัติการแล้วชักหนาววว !


    (1) มีระบบควบคุมการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการที่สามารถตรวจสอบได้
    (2) มี (1) + มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ
    (3) มี (2) + มีการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้  
    (4) มี (3) + มีการประเมินผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
    (5) มี (4) + นิสิต คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่พึงพอใจในบริการที่ได้รับ

  

สวัสดีค่ะ

จากที่เคยคุยกันตอนไปประชุม  QA  พวกเราที่เป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการได้คุยกันว่าเราจะมีการขอปรับเปลี่ยนหรือสลับข้อของเกณฑ์งานห้องปฏิบัติการ  ดังนี้

   (1) มีการปฏิบัติงานตามเอกสารอธิบายลักษณะงาน 
  
(2) มี (1) + มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ
   (3) มี (2) + มีระบบควบคุมการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ วิชาการที่สามารถตรวจสอบได้
   (4) มี (3) + มีการประเมินผลการดำเนินงาน
   (5) มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง

ในขั้นแรกทางห้องปฏิบัติการคิดว่าน่าจะทำตรงส่วนนี้ให้ดี  แล้วจึงค่อยพัฒนาไปอีกขั้นตอนหนึ่ง    ซึ่งในส่วนของห้องปฏิบัติการของเราจะมีความหลากหลายในการทำงาน  การที่จะใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งกำหนดการทำงานให้เหมือนกันหรือให้มีการจัดระบบห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานตรงตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพทำได้ค่อนข้างยากมากค่ะ  เพราะในส่วนนี้มีการทำงานคล้ายกับงานวิชาชีพก็จริงแต่เอาเข้าจริงระบบต่าง ๆ  ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก

ขอบคุณมากค่ะที่ยอมรับฟังความคิดเห็น  ถ้ามีข้อเสนอแนะอะไรสามารถบอกได้น่ะค่ะ  จะนำกลับมาปรับปรุงค่ะ

สวัสดีคะ

     เห็นด้วยกับท่านอาจารย์มาลินีคะ เพราะเกณฑ์ข้อ 1 ที่คิดกัน((1) มีการปฏิบัติงานตามเอกสารอธิบายลักษณะงาน )ก็ยังไม่เข้าใจว่าจะให้ประเมินอย่างไรดี  แต่พอได้อ่านความเห็นของท่านอาจารย์มาลินี ก็คิดว่าเป็นเกณฑ์ที่สามรถที่จะทำได้คะ และเข้าใจว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประเมินที่ดีขึ้นคะ

 

ขอบพระคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท