KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 53. เครียด


• การทำ KM เป็นบ่อเกิดของความเครียดหรือไม่
• คำตอบคือ “เป็น และไม่เป็น”   และอาจมีผลตรงกันข้าม คือทำให้เกิดความสดชื่น ความสุข    ขึ้นอยู่กับว่า ทำ KM เป็นหรือไม่  
• คาถากันเครียดมี ๒ คาถา  คือ  (๑) คิดเชิงบวก   (๒) ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามธรรมชาติ  (ตถตา – มันเป็นเช่นนั้นเอง) 
• จากคาถา คิดเชิงบวก นำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญคือ เอาความสำเร็จ (น้อย – ใหญ่) มาขับเคลื่อน   ทั้งขับเคลื่อนอารมณ์  ความรู้สึก  การปฏิบัติ (ประยุกต์ใช้ความรู้)  ความรู้   ความสัมพันธ์     ถ้าเกิดผลเชิงบวก ก็จะเกิดกระแสความสดชื่น ลดทอนความเครียดลงไป จนเหลือน้อย ถึงน้อยมาก 
• จากคาถา  ตถตา  จะทำให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่น อันเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ ความเครียด    เช่น ในการทำ AAR  เราตกลงกันให้คนที่อาวุโสน้อยที่สุดพูดก่อน     แต่ถ้าผู้นั้นยังคิดไม่ทัน ก็ข้ามไปให้คนถัดไปพูดก่อนได้    เมื่อคนที่อาวุโสต่ำสุดพร้อม ค่อยวนกลับมา     คือต้องยอมรับธรรมชาติความเป็นจริงว่าคนเราอาจยังไม่พร้อมได้ด้วยเหตุผลมากมาย    การยอมรับเช่นนี้จะไม่ก่อความเครียด    แต่กรณีแบบนี้จะไม่เกิดบ่อย   เพราะทุกคนในกลุ่มจะฝึกการ “พูดออกมาจากใจ” ได้ในทันที 
• ที่จริง ตถตา ก็คือการคิดเชิงบวก  
• ในชีวิตจริง   KM ช่วยลดความเครียดในการทำงาน
• ลดความเครียดเหลือศูนย์ได้หรือไม่   ผมตอบว่าไม่ได้   และไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
• ความเครียด กับความสุขความสดชื่น คือสิ่งเดียวกัน    เหมือน หยิน – หยาง

วิจารณ์ พานิช
๒๓ กพ. ๔๙
 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 25497เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท