ประวัติ


ประวัติ
ประวัติ
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เดิมใช้แว่นขยายหรือเลนส์อันเดียวส่องดู คงเช่นเดียวกับการใช้เเว่นขยายส่องดูลายมือ ในระยะต่อมา Galilei Galileo ได้สร้างแว่นขยาย ส่องดูสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กๆ ในราวปี พ.ศ.2153 ในช่วง ปี พ.ศ.2133 ช่างทำแว่นตาชาวฮอลันดา ชื่อ Zaccharias Janssen ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ชนิดเลนส์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย แว่นขยาย 2 อัน แต่ยังไม่สามารถส่องดูอะไรได้ พ.ศ.2208 Robert Hooke ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ์ชนิดเลนส์ประกอบ ที่มีลำกล้อง รูปร่างสวยงาม ป้องกันแสงภายนอกรบกวนได้ และไม่ต้องถือเลนส์ ์ให้ซ้อนกัน เขาตรวจดูสิ่งต่างๆ เช่น ไม้คอร์กที่ฝานบางๆ ด้วยมีดโกน พบว่า ไม้คอร์กประกอบด้วย ช่องเล็กๆ มากมาย เขาเรียกช่องเล็กๆ เหล่านั้นว่า "cell" ซึ่งหมายความถึง ห้องว่างๆ หรือห้องขัง เซลล์ที่ฮุคเห็นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เหลือแต่ผนังเซลล์ของพืช ที่แข็งแรงกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ จึงทำให้คงรูปร่างอยู่ได ้เพราะผนังเซลล์มีสารประกอบ พวกเซลลูโลส และซูเบอริน ดังนั้น ฮุคจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งชื่อเซลล์ พ.ศ.2215 Antony Van Leeuwenhoek ชาวฮอลันดา ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ ชนิดเลนส์เดี่ยว จากแว่นขยายที่เขาฝนเอง ซึ่งสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ ตรวจดูหยดน้ำ จากบึง และแม่น้ำ และจากน้ำฝน ที่รองเก็บไว้ในหม้อ เห็นสิ่งมีชีวิต ชนิดเล็กๆ มากมาย คือ พบแบคทีเรีย สาหร่าย โพรโทซัว สัตว์น้ำขนาดเล็ก แล้วยังส่องดูสิ่งต่างๆ เช่น เม็ดโลหิตแดง เซลล์สืบพันธุ์ ของสัตว์เพศผู้ กล้ามเนื้อ เป็นต้น จึงได้ส่งข้อมูลเผยแพร่ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นคนพบ จุลินทรีย์เป็นคนแรก พ.ศ.2367 Rene J.H.Dutrochet นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืช และสัตว์ พบว่าประกอบไปด้วยเซลล์ พ.ศ.2376 Robert Brown นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบว่า ในเซลล์พืช มีนิวเคลียส (nucleus) เป็นก้อนกลมๆ อยู่ภายในเซลล์ พ.ศ.2378 เฟ-ลิกซ์ ดือจาร์แดง นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ศึกษาจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตอี่นๆ พบว่า ภายในประกอบด้วย ของเหลวมีลักษณะ คล้ายวุ้นใสๆ จึงเรียกว่า ชาร์โคด (sarcode) ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยมาจาก ภาษากรีกว่า ซารค์ (sarx) ซึ่งแปลว่าเนื้อ พ.ศ.2381 Matthias Jacob Schleiden นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ แล้วสรุปได้ว่า เนื้อเยื่อพืชทุกชนิด ประกอบด้วยเซลล์ พ.ศ.2382 Theodor Schwann นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อ ของสัตว์หลายๆ ชนิด แล้วสรุปได้ว่า เนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิด ประกอบด้วยเซลล์ ดังนั้น ชวันน์และชไลเดน จึงร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) มีใจความสำคัญคือ "สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วยเซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์" (All animals and plants are composed of cells and products) พ.ศ.2382 Johannes Purkinje นักสัตววิทยาชาวเชคโกสโลวาเกีย ศึกษาไข่ และตัวอ่อนของสัตว์ ชนิดต่างๆ พบว่า ภายในมีของเหลวใส เหนียว และอ่อนนุ่ม คล้ายวุ้น เรียกของเหลวนี้ว่า โปรโตปลาสซึม (protoplasm) พ.ศ.2389 Hugo Von Mohl นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืช พบว่า ในเซลล์พืช มีของเหลวใสๆ จึงเรียกว่า ชไลม์ (schleim) หรือโปรโตปลาสซึม พ.ศ.2404 Max Schltze นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน พิสูจน์ว่า ชาร์โคด หรือโปรโตปลาสซึม ที่พบในเซลล์สัตว์ และเซลล์พืช เป็นของเหลวชนิดเดียวกัน พ.ศ.2411 Thomas Henry Huxley แพทย์ชาวอังกฤษ ศึกษาคุณสมบัติ ของโปรโตปลาสซึม พบว่า โปรโตปลาสซึม เป็นรากฐานของสิ่งมีชีวิต (Protoplasm called the physical of life) พ.ศ.2423 Walther Flemming ศึกษานิวเคลียสของเซลล์ พบว่า ประกอบด้วย โครโมโซม ต่อจากนั้น มีนักวิทยาศาสตร์ อีกมากมาย ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ และส่วนประกอบของเซลล์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชนิดเลนส์ประกอบ และได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนในปี พ.ศ.2475 นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน 2 คน คือ E.Ruska และ Max Knoll ได้เปลี่ยนแปลง กระบวนการต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์ ที่ใช้แสงและเลนส์ มาใช้ลำอิเล็กตรอนแทน ทำให้สามารถศึกษา ส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ ได้ละเอียด มากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25466เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อ่านแล้วตาลายมากๆๆๆๆ เลยค่ะ   แต่  ก้อ  ออกข้อสอบหรือปล่าวคะ  เรื่องนี้อะ

ใน่ที่สุดก็เจอจนได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท