ระเบียบปฏิบัติงานเรื่องการจำหน่ายผู้ป่วย


สารบัญ

ตอนที่ หัวข้อ

1.0 แผนผังการปฏิบัติงาน
  1. วัตถุประสงค์
  2. ดัชนีชี้วัด

4.0 ขอบเขต

5.0 ความรับผิดชอบ

6.0 คำจำกัดความ

7.0 ระเบียบปฏิบัติ

  1. ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

9.0 เอกสารอ้างอิง

10.0 การเก็บเอกสาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. แผนผังการปฏิบัติงาน

แพทย์จำหน่ายผู้ป่วย

 

 

 

 

 



อาการทุเลา ชนิดการจำหน่าย Refer,ไม่สมัคร

 

ใจอยู่,Dead

 

พยาบาลผู้ดูแลสรุปแฟ้ม

พยาบาลผู้ดูแลสรุป

 

เบิกยาตามการรักษา พาญาติไปห้องยา

ของแพทย์ เพื่อ clear ค่ารักษา

 

พาญาติรับยา

และ clear ค่ารักษา จำหน่าย Refer / ไม่สมัครใจ ใจอยู่ / Dead ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในห้อง

ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

 

ให้คำแนะนำและให้สุขศึกษา

ก่อนกลับบ้าน Follow up

 

ผู้ป่วยกลับบ้านได้

 

  1. วัตถุประสงค์

    เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการจำหน่ายผู้ป่วย ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

  2. ดัชนีชี้วัด

    อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในด้านบริการมากกว่า 95 %

  3. ขอบเขตเริ่มตั้งแต่แพทย์สั่งจำหน่ายผู้ป่วย ทีมการพยาบาลเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้านด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจสังคมแก่ผู้ป่วย/ญาติ พร้อมจัดเตรียมเอกสารและเบิกยา จนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้าน หรือส่งต่อ / ขอย้าย / เสียชีวิต
  4. ความรับผิดชอบ
    1. แพทย์ ตรวจประเมินอาการและสั่งจำหน่ายผู้ป่วย
    2. พยาบาลหัวหน้าเวร มอบหมายงานดูแลการปฏิบัติงานของทีมการพยาบาลในแต่ละเวร จัดให้มีการสอนการช่วยเหลือตนเองให้กับผู้ป่วย และ/หรือญาติผู้ป่วยบางรายที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
    3. ทีมการพยาบาล ดูแลให้การพยาบาลและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละเวร
    4. พยาบาลผู้ดูแล ให้การพยาบาล สอน สาธิต และให้คำแนะนำการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย และ/หรือญาติเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
    5. พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทางการพยาบาล
    6. คำจำกัดความ
      1. แพทย์เวร หมายถึง แพทย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยที่ตึกผู้ป่วยในชาย ตึกผู้ป่วยในหญิง ตึกพิเศษ และห้องคลอด รวมทั้งดูแลผู้รับบริการที่หน่วยฉุกเฉิน ตามเวลาที่กำหนด
      2. แพทย์ผู้ดูแล หมายถึง แพทย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนกระทั่งจำหน่าย
      3. พยาบาลหัวหน้าตึก หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของทีมการพยาบาลในตึกผู้ป่วยใน
  5. พยาบาลหัวหน้าเวร หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าเวร
  6. ทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลหัวหน้าเวร พยาบาลผู้ดูแล พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้
  7. พยาบาลผู้ดูแล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ และ/หรือ พยาบาลเทคนิค
  8. พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ หมายถึง ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ให้ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน เป็นพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้
  9. พนักงานทำความสะอาด หมายถึง ลูกจ้างของโรงพยาบาลหรือพนักงานบริษัททำความสะอาดตามที่ได้รับมอบหมาย และดูแลความสะอาดทั่ว ไปภายในตึกที่รับผิดชอบ
  10. พนักงานเปล หมายถึง ลูกจ้างของโรงพยาบาล ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เคลื่อนย้าย ผู้ป่วย
  11. เวชระเบียนผู้ป่วยใน (F-IPD-001) หมายถึง ชุดเอกสารที่ใช้บันทึกข้อมูลผู้ป่วย ประกอบด้วย
    1. แบบบันทึกการซื้อยาผู้ป่วยใน ( F-IPD-001.11)
    2. แบบแผนการให้ความรู้และฝึกทักษะผู้ป่วยก่อนจำหน่าย (F-IPD-004)
    3. แบบบันทึกทางการพยาบาล ( ใบต่อ) (F-IPD-001.2)
    4. แบบบันทึกทางการพยาบาล ( แรกรับ ) (F-IPD-001.1)
    5. แบบบันทึกประวัติและประเมินสมรรถนะผู้ป่วย (F-IPD-001.8)
    6. แบบบันทึกการใช้ยา Order for one day (F-IPD-001.3/1)
    7. แบบบันทึกการใช้ยา Order for continue (F-IPD-001.3/2)
    8. แบบบันทึกสัญญาณชีพ ( ร.บ. 2ต. 02 ) (F-IPD-001.4)
    9. แบบบันทึกแผนการรักษาแพทย์ ( ร.บ. 2ต. 04 ) (F-IPD-001.5)
    10. ใบบันทึกประวัติและตรวจร่างกายของแพทย์
    11. แบบรายงานผลการชันสูตรทางคลินิก (ถ้ามี) (F-IPD-001.6)
    12. แบบคำยินยอมให้ทำการรักษา
    13. ใบอื่นๆนอกเหนือจากนี้ได้แก่ EKG (F-EMR-012), ใบบันทึกต่างๆจากห้องผ่าตัด(กรณีมีการผ่าตัด) ใบรับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานบริการอื่น เป็นต้น
    14. แบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (F-ICS-001.01)
    15. แบบบันทึกประวัติผู้ป่วย ( รง. 501 ) (F-IPD-011.10)

    กรณีมีบันทึกอาการทางสมองหรือระบบประสาทจึงจะเพิ่มใบประเมินอาการทางสมองหรือระบบประสาท (F-IPD-001.15) ไว้ หน้าแบบบันทึกทางการพยาบาล

    กรณีมี Rcecord I/O จึงจะเพิ่ม แบบบันทึกจำนวนน้ำเข้าและน้ำออกจากร่างกาย (F-IPD-001.13 ไว้ด้านหน้า

  12. จำหน่าย หมายถึง การสิ้นสุดการรักษาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
    1. จำหน่ายกลับบ้าน
    2. จำหน่ายโดยส่งต่อเพื่อทำการรักษาต่อสถานพยาบาลอื่น
    3. จำหน่ายโดยไม่ยินยอมให้รักษา
    4. จำหน่ายโดยเสียชีวิต
    5. จำหน่ายโดยหนีกลับ
    6. ระเบียบปฏิบัติ
      1. เมื่อแพทย์ตรวจดูอาการและวินิจฉัยโรคเห็นสมควรจำหน่ายผู้ป่วย พยาบาลหัวหน้าเวร

        รับคำสั่งแพทย์ โดยปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การรับคำสั่งแพทย์ (WI-IPD-01.05)

      2. พยาบาลผู้ดูแล บันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วยใน (F-IPD-001) โดยปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง

        การจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน (WI-IPD-04.01)

      3. พยาบาลผู้ดูแลตรวจสอบยาของผู้ป่วยที่เหลือ และเบิกยาเพิ่มตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยพิมพ์เบิกยาลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ห้องยาปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเรื่อง การจัดและจ่ายยาให้ผู้รับบริการ (SP-PHA-01) และลงทะเบียนใน ทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย (F-IPD-011)
      4. พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ นำแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่ายพร้อมยาที่เหลือ และทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย (F-IPD-011) พร้อมพาญาติหรือผู้ป่วยไปที่ห้องจ่ายยาเพื่อรับยาและชำระค่าใช้จ่าย และให้ห้องยาเซ็นชื่อรับเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย ในทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย (F-IPD-011)
      5. หลังจากญาติหรือผู้ป่วยไปรับยาเรียบร้อยแล้ว
        1. พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ตรวจเช็คอุปกรณ์ภายในห้องและที่เตียงครบแล้วให้ ผู้ป่วยกลับบ้านได้
        2. กรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หลังจากผู้ป่วยเปลี่ยนเสื้อผ้าทีมการพยาบาลปฏิบัติดังนี้
          1. กรณีวันราชการแจ้งพนักงานเปลประจำศูนย์เปล ยกเว้นตึกพิเศษใช้พนักงานทำความสะอาดประจำตึก ส่งผู้ป่วยโดยปฏิบัติตาม

            คู่มือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (R-EMR-001)

          2. กรณีวันหยุดราชการ ตึกผู้ป่วยสามัญ ให้พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ส่งผู้ป่วยแต่ถ้าผู้ป่วยต้องใช้เปลนอนให้ตามพนักงานทำความสะอาดประจำตึกพิเศษหรือพนักงานเปลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินมาช่วย
        ส่วน

        ตึกพิเศษให้พนักงานทำความสะอาดประจำตึกส่งผู้ป่วย

      6. กรณีผู้ป่วยไม่ยินยอมให้ทำการรักษาต่อ พยาบาลหัวหน้าเวรรายงานแพทย์เวรหรือแพทย์ผู้ดูแล ทราบ จากนั้นปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจำหน่ายผู้ป่วยไม่ยินยอมให้ทำการรักษา (WI-IPD-04.02) และปฏิบัติตาม ข้อ 7.3,7.4และ 7.5
      7. กรณีผู้ป่วยหนีกลับพยาบาลหัวหน้าเวรรายงานแพทย์เวรหรือแพทย์ผู้ดูแล โดยปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การปรึกษาแพทย์เวร” (WI-IPD-03.04) จากนั้น สรุปลงในแฟ้มเวชระเบียน ผู้ป่วยใน (F-IPD-001) และปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจำหน่ายผู้ป่วยหนีกลับ (WI-IPD-04.03)
      8. กรณีผู้ป่วยเสียชีวิต ทีมการพยาบาลปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การบริการผู้ป่วยเสียชีวิต (WI-EMR-01.06) และลงในทะเบียนผู้ป่วยเสียชีวิต (F-IPD-012) จากนั้นให้พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้นำแฟ้มเวชระเบียน(F-IPD-001)พร้อมญาติไปห้องยาเพื่อชำระค่าใช้จ่าย
      9. กรณีผู้ป่วยต้องส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ทีมการพยาบาลสรุปอาการผู้ป่วยพร้อมให้ พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้นำแฟ้มเวชระเบียน(F-IPD-001)พร้อมญาติไปห้องยาเพื่อชำระค่าใช้จ่าย และปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง การบริการส่งต่อผู้ป่วย (WI-EMR-02.04)
    7. กรณีผู้ป่วยที่ต้องเยี่ยมบ้าน ให้ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานเรื่อง “การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน” ( WI – IPD – 04.04 ) และบันทึกในใบส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่อง (F-IPD-035) และส่งใบนี้ไปยังทีมแพทย์ประจำตำบล เพื่อดำเนินการต่อไป
    8. ก่อนกลับบ้านให้คำแนะนำและให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ
    9. ผู้ป่วยที่จำหน่ายทุกรายไม่ว่าจะกรณีอาการทุเลาแพทย์อนุญาต,ส่งต่อไปรักษาที่สถานบริการอื่น,ไม่ยินยอมให้ทำการรักษา,เสียชีวิตหรือหนีกลับ จะลงทะเบียนดังต่อไปนี้ ทะเบียนผู้ป่วยและคลอดภายใน (F-IPD-002) , ทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย (F-IPD-011) แบบบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน (F-IPD-003) และกรณีเสียชีวิต เพิ่มลงทะเบียนผู้ป่วยเสียชีวิต (F-IPD-012)

 

  • ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
  1. ระเบียบปฏิบัติ

    8.1.1 SP PHA 01 การจัดและจ่ายยาให้ผู้รับบริการ

  2. วิธีปฏิบัติงาน
    1. WI IPD 01.05 การรับคำสั่งแพทย์
    2. WI IPD 04.01 การจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน
    3. WI IPD 04.02 การจำหน่ายผู้ป่วยไม่ยินยอมให้ทำการรักษา
    4. WI IPD 03.04 การปรึกษาแพทย์เวร
    5. WI IPD 04.03 การจำหน่ายผู้ป่วยหนีกลับ
    6. WI IPD 04.04 การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
    7. WI EMR 01.06 การบริการผู้ป่วยเสียชีวิต
    8. WI EMR 02.04 การบริการส่งต่อผู้ป่วย
    9. เอกสารอ้างอิง
      1. F – IPD – 001 แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน
      2. F – IPD – 003 แบบบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
      3. F – IPD – 011 ทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย
      4. F – IPD – 012 ทะเบียนผู้ป่วยเสียชีวิต
      5. F – IPD – 002 ทะเบียนผู้ป่วยและคลอดภายใน
      6. F - ICS – 001.01 แบบการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
      7. F– COM– 004 สำเนาแบบสำหรับส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจหรือรักษาต่อ
      8. F– COM–007 สำเนาใบรับรองการตาย
      9. F - OPD- 002 บัตรนัดผู้ป่วย
      10. F - IPD- 020 สมุดนัดผู้ป่วย
      11. F-CHS-003 ใบส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่อง
      12. R–EMR–001 คู่มือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 

  • การเก็บเอกสาร
  1. การจัดเก็บ

    ชื่อเอกสาร

    สถานที่เก็บ

    ผู้รับผิดชอบ

    การจัดเก็บ

    ระยะเวลา

    1. แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน

    ห้องเวชระเบียน

    เจ้าหน้าที่เวชสถิติ

    เรียงตาม A.N.

    5 ปี

    2. ทะเบียนส่งเวชระเบียนผู้ป่วยจำหน่าย

    ตึกผู้ป่วยใน

    เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยใน

    ทุกวัน

    อย่างน้อย 1 ปี

    3. ทะเบียนผู้ป่วยเสียชีวิต

    ตึกผู้ป่วยใน

    เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยใน

    เรียงตามลำดับก่อนหลัง

    1 ปี

    4. ทะเบียนผู้ป่วยและคลอดภายใน

    ห้องเวชระเบียน

    เจ้าหน้าที่เวชสถิติ

    เรียงตามวัน เดือน ปี

    5 ปี

    5.แบบบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน

    ตึกผู้ป่วยใน

    เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยใน

    เรียงตามวัน เดือน

    ปี

    1 เดือน

     

  2. ผู้มีสิทธิ์เข้าถึง

    เอกสารลำดับที่ 1- 5 เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยในทุกคน

     

     

     

     

     

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2546เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2005 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท