การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ


วิธีการสอนการเขียนแบบใหม่ หรือแบบเน้นกระบวนการนั้น เชื่อว่าการเขียนเป็นทั้งวิธีการสื่อสารและเป็นทั้งกระบวนการทางความคิด สติปัญญา ในการคิดค้นแสวงหาข้อมูลและเรื่องราวที่จะนำมาเขียน

การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ

แนวคิดพื้นฐาน

ตั้งแต่ปี ค.. 1980 เป็นต้นมา แนวคิดเกี่ยวกับการเขียนภาษาอังกฤษเป็น

ภาษาต่างประเทศเริ่มแปรเปลี่ยนไปจากเดิม (Traditional approach) ซึ่งเน้นผลงานเขียนหรือเน้นผลผลิตของผู้เขียน (Product) มาเป็นแบบใหม่ ซึ่งเน้นกระบวนการเขียน (Process) วิธีการสอนการเขียนแบบใหม่ หรือแบบเน้นกระบวนการนั้น เชื่อว่าการเขียนเป็นทั้งวิธีการสื่อสารและเป็นทั้งกระบวนการทางความคิด สติปัญญา ในการคิดค้นแสวงหาข้อมูลและเรื่องราวที่จะนำมาเขียน รวมทั้งวิเคราะห์จัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเหล่านั้น ดังนั้นจึงมีผู้หันมาศึกษากระบวนการที่ก่อให้เกิดงานเขียนขึ้น และทำให้แนวคิดในการเขียนได้แปรเปลี่ยนไปเน้นที่กระบวนการเขียน กลุ่มที่มีแนวคิดดังกล่าวได้ให้คำนิยามการเขียนไว้ว่า การเขียนคือกระบวนการทางความคิด เพราะผู้เขียนต้องคิดให้กระจ่างก่อนจึงจะสามารถเลือกและเรียบเรียงความคิดนั้นออกมาเขียนได้ (Arapoff, 1972, อ้างใน พูนรัตน์ แสงหนุ่ม, 2538) สำหรับ Hairston (1982) ให้ความหมายของการเขียนแบบเน้นกระบวนการว่า การเขียนเป็นกระบวนการค้นหาข้อมูลโดยผ่านกระบวนการในการค้นหา การเรียบเรียงข้อมูลจากความคิด โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีกฎที่ตายตัว และไม่ได้แบ่งขั้นตอนที่แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด และเป็นกระบวนการที่เกิดสลับไปมาหรือย้อนกลับได้

(Recursive) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน การเขียน การตรวจทานแก้ไขงานเขียน การคาดการล่วงหน้าในสิ่งที่จะเขียน (Anticipating) และขั้นตอนการทบทวนงานเขียน (Reviewing)

ลักษณะสำคัญของวิธีสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการ

Hairston (1982) มีความคิดว่า วิธีสอนแบบนี้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้ คือ

1. เน้นการฝึกใช้กลวิธีในการสร้างและค้นหาข้อมูล โดยครูจะเป็น

ผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามสร้างเนื้อหา หรือช่วยวางวัตถุประสงค์ในการเขียนให้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสมและดุลยพินิจของครู

2. เน้นการตระหนักในปฏิกิริยาตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้อ่านและ

วัตถุประสงค์ของการเขียนในขณะเขียน เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพงานเขียนในแง่ของการสื่อความชัดเจนและตรงตามจุดประสงค์ของการเขียน

3. เน้นความเข้าใจในกระบวนการทางความคิดที่เกิดสลับไปมา

ระหว่างขั้นตอนการเขียน ขั้นการเขียน ขั้นตรวจทานแก้ไข ซึ่งจะเกิดคาบเกี่ยวกันมิได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด

4. เน้นการให้ความสำคัญต่อการเขียนว่า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ

การใช้ความคิด กระบวนการทำงานของสมอง วิธีเรียนรู้ และการพัฒนาความคิดเพื่อใช้ในการสื่อสาร

ขั้นตอนการสอนของวิธีสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการ

ได้มีผู้เสนอขั้นตอนการสอนและกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้

Kelly (1984) ได้เสนอการสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการ เป็น 3

ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นก่อนการเขียน (Pre-writing) ให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมค้นหา

สำรวจข้อมูล ความคิด และจัดเตรียมรวบรวมข้อมูลไว้เขียน ขั้นนี้ช่วยให้ผู้เรียนได้สำรวจหัวเรื่องและเนื้อหาสนับสนุนได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังให้กำหนดจุดประสงค์ของการเขียนและตัวผู้อ่านงานเขียนนั้นอีกด้วย กิจกรรมในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย

1.1 คิด สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ใช้กิจกรรมการระดมสมอง

(Brainstorming) การถามคำถามแบบ “WH” ผังความสัมพันธ์ของความหมาย (Mapping) การเขียนรายการ (Listing) การเขียนข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยไม่หยุด (Nonstop writing) การคิดจากความทรงจำหรือประสบการณ์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน เป็นต้น

1.2 จัดกลุ่มและเรียงลำดับข้อมูลดังกล่าวเพื่อเตรียมนำเสนอ

1.3 เรียนรู้การใช้คำศัพท์ ตัวเชื่อม และโครงสร้างไวยากรณ์ที่

เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนำเสนอ

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเขียน (Writing) ให้ผู้เรียนได้ลงมือเขียนงานฉบับร่าง

ผู้เรียนได้ถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลที่ตนเตรียมไว้ เพื่อสื่อความหมายกับผู้อ่านทางตัวอักษร การเขียนในขั้นนี้ ยังไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องในการใช้ภาษา แต่คำนึงถึงเนื้อความเป็นหลัก

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นหลังการเขียน (Post-writing) ให้ผู้เรียนได้ทบทวน ปรับปรุง

แก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติม หรือย้อนไปสู่ขั้นตอนที่ 1 หรือ 2 ใหม่ได้ เพื่อปรับแก้ตามคำเสนอแนะหรือข้อมูลย้อนกลับจากผู้อ่าน เป็น การปรับทั้งด้านเนื้อหาและความถูกต้องในการใช้ภาษา โดยจะปรับกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้งานเขียนฉบับสุดท้าย คือ ฉบับสมบูรณ์กิจกรรมในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย

3.1 แลกเปลี่ยนกันอ่านงานเขียน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับด้านเนื้อหา

โดยครูแจกแบบตรวจสอบเนื้อหาประกอบการอ่าน

3.2 ปรับแก้งานเขียนตามข้อมูลย้อนกลับจากผู้อ่าน

3.3 แลกกันอ่านงานเขียนอีกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับด้านการใช้

ภาษา โดยครูจากแบบตรวจสอบการใช้ภาษาประกอบการอ่าน

3.4 ปรับแก้งานเขียนตามข้อมูลย้อนกลับอีกครั้ง แล้วส่งครูเพื่อ

การประเมินผลจะเห็นได้ว่า วิธีสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการนี้ ได้เน้นการใช้ความคิด

สติปัญญา และความสามารถในการใช้ภาษาประกอบกัน และยังช่วยพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาประกอบกัน และยังช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 254495เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2009 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จำเพื่อนคนนี้ได้ไหม

รับงานเขียนแบบ ,ออกแบบ , แก้ไขแบบ , ถอดแบบ , แกะแบบ , งานประกอบชิ้นส่วน, 2D, 3D , ISO METRIC เครี่องกลทุกประเภท อาทิเช่น ชิ้นส่วน อะไหล่ เครื่องมือจับยึด ( Jig & Fixture ) ฯลฯ และงานเกี่ยวกับเครื่องจักร Line การผลิต เช่น สกรู กระพ้อ สายพานลำเลียง( Conveyor ) เป็นต้น งาน Process assembly ในกระบวนการผลิต รับเขียนแบบ Project เครื่องกล , Project เมคคาทรอนิกส์, Project นักศึกษาเพื่อนำไปลงเล่ม , งานโครงสร้าง , piping , งานระบบ ปรับอากาศ (Air) , ทำ Shop drawing , Plant Layout , Proto type , Bill of materials ,งานออกแบบเขียนแบบระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ,งานออกแบบเขียนแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก( Die, Mold ) เคลียร์แบบชิ้นงานให้ผลิตได้จริง เขียนแบบตาม Idea และตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้โปรแกรม AUTO CAD, AUTODESK INVENTOR , Mechanical Desktop , Solid Work , UG NX , CATIA , Pro-engineering , และโปรแกรมอื่นๆ รับประมาณราคางานประเภทโครงสร้างที่เกี่ยวกับเหล็กและงานแปรรูปเหล็กทุกชนิด เช่น โครงหลังคา ถังเหล็ก อลูมิเนียม เรามี Unit Price ที่ Update ตลอดเวลา ตามราคาขึ้นลงของ Material งาน present คู่มือการประกอบผลิตภัณฑ์ สามารถส่งข้อมูลมาในรูปแบบ เสก็ตด้วยมือพร้อมบอกขนาด, ภาพถ่าย หรือ ให้ไปถอดแบบจากชิ้นงานจริงทั้งในและนอกสถานที่ รับสอนเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Auto CAD , Solid Work , UG NX เริ่มสอนตั้งแต่พื้นฐาน จนไปสู่การใช้งานเน้นการนำไปใช้งานได้จริง เหมาะสำหรับนักศึกษา วิศวกร และผู้สนใจงานด้านการออกแบบ เขียนแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและข้อได้เปรียบในสมัครงาน

โดยทีมงานวิศวกรสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและเครื่องมือกล Email : [email protected] , [email protected]

Tel. 083-2587643 , 086-3241161 ทัศ

พอดีตอนนี้กำลังทำ IS เรื่องนี้อยู่ค่ะ อยากทราบชื่อหนังสือ ที่มาของข้อมูลนี้ไปประกอบในสามบทแรกค่ะ และศึกษาเพิ่มเติม เพราะหนังสือที่หาเจอก็มีเนื้อหาแบบเฉียดๆ ไม่ตรงแบบนี้น่ะค่ะ รบกวนคุณครูเพ็ญนภา ส่งชื่อหนังสือหรือวารสารที่เป็นที่มาของข้อมูลนี้ให้ได้ไหมคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ E-mail:[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท