ของฝาก


สำหรับผู้ใหญ่ที่อยากให้เด็กเก่งคิด

แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดจินตนาการและความคิดรวบยอด
ให้กับเด็กๆจากการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน  ดังนี้
1.      พาเด็กๆไปเดินเล่นนอกบ้าน หรือสวนสาธารณะ  ชี้ชวนให้ลูกสังเกต เปรียบเทียบสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น สังเกตลักษณะของใบไม้ ดอกไม้  แล้วนับจำนวนใบไม้  ดอกไม้
2.      เล่านิทาน/อ่านนิทานให้เด็กฟัง  และทำกิจกรรมระหว่างหรือหลังการเล่านิทาน เช่น
-          หนูลองคิดต่อนิทานเรื่องนี้ให้จบไม่เหมือนเดิม
-          หนูลองเปลี่ยนชื่อนิทานเรื่องนี้ใหม่    เพราะอะไรถึงใช้ชื่อนี้
-          จากปกหนังสือนี้ หนูลองเดาว่าเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร
-          ถ้าหนูเลือกได้  จะเป็นตัวละครตัวไหนในเรื่องนี้เพราะอะไร
-          หนูลองเปลี่ยนสัตว์  (ผลไม้หรืออื่นๆ)ที่อยู่ในเรื่องเป็นสัตว์(ผลไม้หรืออื่นๆ)ใหม่ทั้งหมดแล้วเรามาเล่ากันใหม่
3.      เล่นทายปริศนาคำทาย อะไรเอ่ย  เช่น
         -    อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง (เต่า)
         -    อะไรเอ่ย หูยาวตากลม รูปร่างประเปรียว วิ่งเร็วกินผักเป็นอาหาร (กระต่าย)
             หลังจากได้คำตอบแล้ว ให้สนทนาพูดคุยถึงสิ่งที่เป็นคำตอบนั้นๆ ปริศนาคำทายที่ใช้ทาย 
          เด็กๆใ ควรเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและไม่ยากเกินไป เช่น สัตว์เลี้ยง  ร่างกายของเรา  สิ่งต่างๆ
          รอบตัว    เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ
4.      ให้เด็กๆต่อเติมภาพโดยผู้ปกครองเขียนภาพวงกลม หรือสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยมในกระดาษ ขนาด เอสี่  แล้วให้เด็กต่อเติมเป็นภาพตามที่เด็กๆต้องการ
5.      ให้เด็กร่วมกิจกรรมในครอบครัว เช่น
-          ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ร่วมกัน ให้เด็กแสดงความคิดเห็นว่าควรปลูกตรงไหน  และทำตามความคิดเห็นของเด็ก  ปลูกเสร็จให้เด็กช่วยรดน้ำดูการเจริญเติบโต
-          ชวนเด็กๆทำความสะอาดบ้าน /ห้องเรียน ลานบ้าน สนามหญ้า  ตัดหญ้า จัดห้องนอน  ให้เด็กแสดงความคิดเห็นว่าควรจะจัดแบบไหน  จัดอย่างไร
-          ชวนเด็กทำอาหารร่วมกัน เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด  แสดงความเห็นในสิ่งที่เขาอยากทำ ในขณะทำอาหารหรือทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้ปกครองควรใช้คำถามตามกระบวนการแก้ปัญหาให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด เช่น  ขนมครกนี้ถ้าทิ้งไว้นานจะเป็นอย่างไร  เราจะทำอย่างไรไม่ให้ขนมครกไหม้  จะมีวิธีเอาขนมครกออกได้อย่างไรบ้าง  หนูจะเลือกวิธีไหน (ลองทำตามที่เด็กเสนอ)  มันเป็นไปตามที่หนูคิดไว้หรือไม่  เด็กจะได้พัฒนาความคิดอย่างเป็นกระบวนการ   หรือลองเล่นทายสิ่งของต่างๆที่มีกลิ่น หรือมีลักษณะนิ่มกับลูก โดยเล่นเอาผ้าผูกตา ให้เด็กเอาของมาให้ลูกดม แต่ห้ามเด็กจับ แล้วให้เด็กทายว่าของชิ้นนั้นคืออะไร
6.      ให้เด็กได้เล่นบล็อกไม้ ของเล่นก่อสร้าง ปั้นดินน้ำมัน การเล่นเหล่านี้จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี  โดยขณะที่เล่นให้ถามเด็กด้วยว่ากำลังทำอะไรให้เด็กเล่าให้ฟัง
     7.   ให้เด็กมีโอกาสเล่นตามลำพังโดยผู้ใหญ่ไม่เข้าไปแทรกแซง   เพื่อจะได้จินตนาการสร้างสรรค์
     8.   ชวนเด็กแต่งนิทาน เริ่มแรกอาจจะสลับกันแต่งคนละประโยค  ต่อมาให้เด็กแต่งเองว่าอยากจะให้จบอย่างไร
     9. จัดเตรียมอุปกรณ์ของเล่นสร้างสรรค์ต่างๆไว้อย่างพอเพียง ไม่จำเป็นต้องเป็นของเล่นชิ้นๆที่ซื้อหามาทั้งหมด อาจเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ เช่นกล่อง ถุง กระดุม เชือก เพื่อให้ได้ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆอย่างอิสระ
     10. จัดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมแบบลงมือทำกับสื่อวัสดุ ผ่านกระบวนการคิด เช่น การทดลอง  การประกอบอาหาร  การประดิษฐ์   สร้างสถานการณ์แก้ปัญหา
                             3333333333333333333333333333333333

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25419เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2006 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีตอ้นรับสมาชิกใหม่ของชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท