อีกมุมหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอีสาน


เข้าใจชีวิตของชาวเกษตรกรนี้ลำบาก ต้องใช้ความอดทนสูง

ในวันหยุดที่หยุดติดต่อกันหลายวัน ได้มีโอกาสกลับบ้านและได้มีเวลาที่จะทำงานบ้านของตนเอง   ในปีนี้ได้ปรึกษากับพี่สาวว่าเรามีที่ดินที่ว่างประมาณ 7 ไร่  และตกลงกันว่าจะปลูกอ้อย   ซึ่ง ในวันเสาร์จึงได้หาคนงานจำนวน 10 คน ในการช่วยเตรียมดิน  ไถพรวนดิน  สำหรับปลูกอ้อย   จ่ายค่าแรงงานวันละ 130 บาท แต่การทำปลูกอ้อยเป็นงานที่หนักต้องใช้พลังงานมาก ทั้งแบก ทั้งขน และปลูก  และขอจ่ายค่าตอบแทนเป็นวัน 150 บาท/คน/วัน   

 

ขั้นตอนการปลูกอ้อย   เตรียมดิน    หาพันธุ์อ้อย  (ไร่ละ 12,000 บาท)  เริ่มจากการตัดพันธุ์อ้อย  และนำพันธุ์อ้อยไปปลุก  วางตามจุด  ที่จะลงดิน เมื่อลงดินแล้วจะต้องตัดให้เป็นท่อนๆ เพื่อง่ายต่อการไถกลบ     การไถกลบเป็นอันว่าขั้นตอนสุดท้าย เสร็จเรียบร้อย กว่าจะปลูกเสร็จต้องใช้เวลา 2 วัน และช่วงที่ให้คนงานปลูกอยู่นั้น จึงอยากจะเรียนรู้และลงมือช่วยกันทำงาน ในท่ามกลางแดดที่ร้อนจัด  หลังสู่ฟ้าหน้าสู้ดิน  เข้าใจชีวิตของชาวเกษตรกรนี้ลำบาก ต้องใช้ความอดทนสูง

 

นับได้ว่าช่วงเดือนเมษายน  ร้อนจริงๆเมื่อมองย้อนไปปีที่แล้วว่าวันนี้เราทำอะไร   ก่อนๆไม่ได้ทำอะไรจะเตรียมตัวละเล่นเพราะใกล้วันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย และในปีนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า   ตามชุมชนแถวบ้าน ชาวบ้านได้จัดเตรียมดิน  ไร่ นาต่างๆ  สำหรับจัดเตรียมปลูกมันสัมปะหลัง  และปลูกอ้อย  กันเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่เตรียมปลูกก็จะไม่ทันกับหนี้สินที่ชาวนาได้กู้มาลงทุนที่ผ่านมา

 

จากการที่สัมผัส การคลุกคลี และการลงมือทำงานเกษตรกรทำให้เข้าใจ ชีวิตความเป็นอยู่วิถีชีวิต การดำเนินชีวิตของคนอีสาน  คนอีสานเป็นคนขยันมาก  สังเกตได้ว่าการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ตื่นนอนตี 5  ออกไปทำงาน กลับเข้าบ้านก็มือค่ำแล้ว เข้านอนหัวค่ำ ในแต่ละวันก็ทำไร่กัน หรือเวลาว่างก็จะไปรับจ้าง เพื่อที่จะนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และค่าภาษี สังคมในชุมชนก็มีมาก   แต่ละกิจกรรมชาวบ้านก็จะต้องร่วมกันในการจัดกิจกรรมขึ้น แต่เงินที่หามาได้ก็จะนำมาใช้ในกิจกรรมของชุมชน มองดูก็มีความอบอุ่น ชาวบ้านให้ความร่วมมือกันดีในชุมชน  เมื่อหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น  ประชากรก็มากขึ้น    มีผู้นำหมู่บ้านจำนวน  6 หมู่บ้าน ก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่มาก  และมีวัดเดียว  เวลาจัดกิจกรรมก็จะได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชุมชน

 

แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ในหมู่บ้านได้จัดตั้งชาวฌาปนกิจหมู่บ้านขึ้น   เมื่อมีใครเสียชีวิต คณะกรรมการหมู่บ้านจะเก็บบ้านละ 200 บาท /ศพ   รวบรวมเงินได้ยอด 80,000 บาท  ในแต่ละเดือนพบว่ามีชาวบ้านเสียชีวิตเดือนละ 4-5 ราย ทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยเดือดร้อนในการที่จะจ่ายตรงนี้ แต่ด้วยความสมัครใจชองชาวบ้านส่วนใหญ่ ที่จะจ่ายจำนวนที่กำหนด ทำให้แต่ละครอบครัวจะต้องออกไปรับจ้างในการหาเงินมาจ่ายตรงนี้

หมายเลขบันทึก: 253915เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อ่านแล้วคุณMSU-KM :panatung~natadee
  • เข้าใจปัญหาของคนในชุมชน
  • สมมุติ คุณได้เป็นผู้บริหารประเทศชาติ เกษตร กรต้องได้รับความช่วยเหลือจากคุณแน่นอน เพราะรู้และเข้าใจวิถีชีวิตจริง ๆ
  • คนชนบทเขาห่วงลุกหลานเมื่อเสียชีวิต ต้องมีฌาปนกิจ เอาไว้ทำบุญ ไม่ให้ลูกหลานเดือดร้อน
  • ลองใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพดูครับ ปลูกอ้อย จะได้ลดต้นทุนลงบ้าง
  • เศรษฐกิจพอเพียงดีที่สุด ต้องทำเป็นแบบอย่างให้ชุมชนเห็น ชุมชนจะตามเอง

สวัสดีค่ะคุณ

P เหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์

  • ปัญหาของชุมชนมีหลากหลายค่ะ
  • เข้าใจปัญหาของคนในชุมชน
  •  ใช่ค่ะ  คนอีสานจะห่วงลุกหลานมาก  มีการเตรียมตัว  เมื่อเสียชีวิต ต้องมีฌาปนกิจ เอาไว้ทำบุญ ไม่ให้ลูกหลานเดือดร้อน
  • ขอบคุณที่แนะนำ  เกี่ยวกับ การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพในการ ปลูกอ้อย ชาวบ้านก็มีการรวมกลุ่มทำกันบ้างค่ะ ทางอำเภอออกมาให้ความรู้
  • ขอบคุณมากค่ะ 

มาชื่นชมวิถีอันงาม เงียบ และเรียบง่ายค่ะ

แถวบ้านปูก็มีการเก็บเงินค่ะ แต่แค่รายละหนึ่งร้อยบาท ...

อันนี้น่าจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละกลุ่ม ..

... มีความสุขในวันหยุดที่มีคุณภาพกับครอบครัวนะคะ ...

 

สวัสดีค่ะน้องP poo


การใช้ชีวิตที่น้อมสู่ธรรมชาติ ให้ความเงียบ และเรียบง่ายค่ะ

ทำให้เกิดสุข และเข้าใจชีวิตของเกษตรกรมากขึ้น

การเก็บเงินขึ้นอยู่กับการตกลงของชุมชนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท