ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

กันตรึม


กันตรึม

                                             

 

                                                กันตรึม

              กันตรึม หมายถึง  โทน มาจากวงดนตรีพื้นเมืองที่นำเอาจังหวะตีโทนโจ๊ะคะครึมครึม การละเล่นจะเล่นแถบอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

            ประวัติการเล่นกันตรึม

    กันตรึม เกิดขึ้นในอีสานใต้  เมื่อใดยังไม่มีใครทราบแน่ชัด  ทราบแต่ว่าได้รับการถ่ายทอดมาจากขอม ใช้เล่นในงานแต่งงาน งานศพ หรืองานทางพิธีกรรม การประกอบการเซ่นสรวงบูชา  ปัจจุบันกันตรึมเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงโดยทั่วๆไป

    กันตรึม เป็นการละเล่นที่ถือว่า ดนตรีมีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน มีการขับร้องประกอบ ภาษาที่ใช้  เป็นภาษาของชาวเขมรสูง

           สถานที่เล่นกันตรึม

       เดิมเล่นกันตรึม อยู่บนบ้านโดยมีแขกที่เชิญมาในงานห้อมล้อมอยู่ข้างๆต่อมาเมื่อมีการพัฒนาขึ้น เป็นการแสดงโดยการยกโรงขึ้นเป็นเวที ผู้เล่นดนตรีจะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ร้องและผู้รำ จะยืนบนเวที

           จำนวนผู้เล่น

   เดิมมีผู้เล่นกันตรึมประมาณ 4-6 คน เป็นชายหรือหญิงก็ได้ ส่วนมากจะเป็นชายไม่นิยมให้ผู้หญิงเล่นด้วย แต่ถ้ามีผู้หญิงเล่นด้วย จะเป็นผู้ร้องและรำประกอบไปตามจังหวะเพลง  โดยแยกหน้าที่กันดังนี้

              ตีกลอง         2        คน

              ซออู้            1         คน

              กรับหรือฉิ่ง   1         คน

              เป่าปี่อ้อ        1     คน

           ผู้ร้องหญิงและชาย ซึ้งทำหน้าที่ทั้งร้องทั้งรำ

    ปัจจุบัน  นักดนตรีจะมี  2   คน   ซอ  1  คน และกลองอีก  1 คน ผู้ร้องใช้หญิงและชายฝ่ายละ 1 คน  แต่อาจจะเพิ่มฝ่ายหญิงและฝ่ายชายหลายๆคู่  

            การแต่งกาย

         ผู้ชาย    นุ่งผ้าโจงกระเบน มีผ้าไหมคาดเอว และมีผ้าไหมอีกผืนหนึ่งพาดไหล่ ทั้งสองข้างโดยให้ชายผ้าห้อยอยู่ทางด้านหลัง สวนเสื้อใช้เสื้อคอกลมแขนสั้น สีอะไรก็ได้

         ผู้หญิง    นุ่งผ้าซิ่นไหมพื้นเมือง เสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผ้าสไบเฉียง

            ประเภทของกันตรึม

   การเล่นกันตรึม  มี   4   ลักษณะ คือ

          1. เจรียง  เป็นการร้องของชาวเขมรสูงในสมัยโบราณ  เนื้อหาที่ร้องจะเป็นการเกี้ยวพาราสี  โต้ตอบระหว่างชายหญิง ลักษณะทำนองจะช้ากว่าทุกประเภท

          2. อาไย  สมัยก่อนเรียกว่า "ตาไย" จังหวะการเล่น จะเร็วกว่า เจรียง มีดนตรีประกอบคือปี่อ้อ ซออู้ และกลอง เนื้อหาจะเป็นทำนองสนุกสนาน

          3. แกวนอ เป็นการขับร้องที่สนุกสนาน พอๆกับ อาไย มักจะใช้ เมื่อต้องการร้องเกี้ยว ระหว่างหนุ่มสาวเท่านั้น

          4. กระโหนบติงตอง  เป็นทำนองร้องแบบใหม่ล้าสุดของกันตรึม ต้นกำเนิดอยู่ในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  วิวัฒนาการมาจากท่าทางของตั๊กแตนตำข้าวการขับร้องจะมีทำนองเร็วกว่าชนิดอื่นๆ จะร้องในวงเกี่ยวข้าวหรืทำงานร่วมกัน

คำสำคัญ (Tags): #กันตรึม
หมายเลขบันทึก: 253459เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ อาจารย์ ที่เคารพ

  • เช้านี้ผมแวะมาเรียนรู้ เรื่องดีๆของคนอีสานเรา
  • มีคุณค่ามากครับ  อยากให้อนุรักษ์ไว้ตลอดไป
  • อาจารย์เป็นผู้ที่เห็นคุณค่า สิ่งดีๆเหล่านี้  ขอยกย่องครับ
  • รักษาสุขภาพด้วย
  • มีความสุขกับการให้ (ความรู้)นะครับ

ขอบคุณคุณนพรัตน์

  • ที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจกัน
  • ถามไถ่ทุกข์สุข ความเป็นอยู่
  • เห็นคุณค่าของดีอีสานด้วยกัน
  • ขอให้โชคดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท