พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

1พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ

1.  พฤติกรรมสุขภาพในภาวะปกติ

     1.1  พฤติกรรมป้องกัน (Preventive health  behavior)  หมายถึง  การแสดงออกของพฤติกรรมของบุคคลเพื่อดำรงไว้ซึ่งผู้ที่มีสุขภาพดี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย กระทำในขณะที่ยังไม่มีอาการของการเจ็บป่วย เช่น  การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ  โดยการใช้เครื่องป้องกันหรือไม่คลุกคลีกับผู้ที่มีเชื้อ  การไม่สูบบุหรี่  การไม่ดื่มสุรา  การควบคุมน้ำหนัก   การใช้เข็มขัดนิรภัย  การสวมหมวกกันน็อค  การขับรถให้ถูกกฎจราจร   การประเมินสภาพตัวเองโดยการใช้เครื่องมือแพทย์  เช่น  การตรวจสุขภาพประจำปี  การตรวจฟันทุก 6 เดือน  การตรวจเลือดก่อนแต่งงาน    เป็นต้น

      1.2  พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Promotive health  behavior )  หมายถึง  พฤติกรรมที่แสดงออกในภาวะที่ร่างกายปกติแต่ต้องการให้สมบูรณ์มากขึ้นด้วยการออกกำลังกาย  การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ    การผ่อนคลายความเครียด

2.  พฤติกรรมเมื่อรู้สึกไม่สบาย (Illness Behavior)   หมายถึง   เป็นกิจกรรมหรือการปฏิบัติของบุคคลที่รับรู้ว่าร่างกายเจ็บป่วยหรือสงสัยว่าจะมีอาการผิดปกติบางอย่าง หรือรู้สึกไม่สบายก่อนที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วย  จึงแสวงหาการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ตนเองทราบว่าป่วยเป็นอะไร และค้นหาแนวทางแก้ไขตามสภาวะการณ์  เช่น  การพักผ่อนเมื่อรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย  การปรึกษาผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อนในกลุ่ม ในครอบครัว   หรือถ้าประเมินแล้วว่ามีอาการมากก็จะแสวงหาการรักษาพยาบาล  โดยการไปหาซื้อยากินเอง หรือการไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน  แพทย์แผนโบราณ  การใช้สมุนไพร   หรือไม่ทำอะไรเลยรอยให้อาการผิดปกติหายไปเอง

3.  พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย (Sick Role  Behavior)   การแสดงออกของ พฤติกรรมหลังจากได้รับการวินิจฉัยเกี่ยวกับความเจ็บป่วยแล้ว  เพื่อที่จะทำให้อาการป่วยดีขึ้น เช่น  การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง  การสั่งงดบุหรี่  สุรา  หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด    การออกกำลังกาย  การควบคุมอาหารและน้ำหนัก  การมาหาแพทย์ตามนัด เป็นต้น

จากสถิติข้อมูลและการศึกษาวิจัยของผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น  การสูบบุหรี่ จะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น    หรือในปัญหาสุขภาพบางปัญหาก็เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมหลายพฤติกรรมร่วมกัน  เช่น ความดันโลหิตสูง เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป  สูบบุหรี่ ดื่มสุรา  ไม่ผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น โดยสามารถสรุปให้เห็นถึงแผนภาพของความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพและปัญหาสุขภาพบางประการได้ ดังนี้

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 253338เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท