ความสุข..การทำงานอยู่ที่"ซี"..?


รางวัลแห่งการทำงาน เพราะเมื่อเขามาเขาจะคิดถึงเรา "คนทำงานทุกคน" นี่แหละคือความสุขใจของเราชาวจิตเวช

       ช่วงหลายปีผ่านมานี่กระแส "คุณภาพ" ค่อนข้างมาแรง หันมองไปทางไหนก็คุณภาพ..คนทำงานทุกคนจากที่เคยกระตือรือร้น ...เครียด..วิ่งตาม และพยายาม จนพยายาม แต่ก็มักถูกประเมินว่า ไม่ผ่านคุณภาพ...จนคนทำงานชัก "งง" กับคำว่าคุณภาพเสียแล้วว่าจริงแท้คืออะไรกันแน่ "คุณภาพ"ตามที่มีองค์ประกอบต่างๆ ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือ"คุณภาพ"..เมื่อผู้มารับบริการมาที่เรามีความสุข อาการดีขึ้น หรือว่าอย่างไร เราก็ชักไม่แน่ใจเสียแล้ว

       ในกลุ่มงานจิตเวชเราก็เช่นเดียวกัน กระแสเรื่องคุณภาพผ่านเข้ามาเป็นระลอกๆ จนพี่ๆ น้องๆ รู้สึกเครียดกับการทำงาน อ่านๆ ทำเอกสาร ทำงาน..วนเวียนอยู่กับสิ่งเหล่านี้มานานพอสมควร จนเดี๋ยวนี้เรารู้สึกว่าเราขอปลดแอก เรื่อง "คุณภาพ"...ออกจากวิถีที่เป็นกรอบที่น่าอึดอัดใจ เราเปลี่ยนตัวตั้งการทำงานใหม่..

       วิธีการที่เราเริ่มทำในช่วงปีหลังนี้ เราเบื่อกับการที่ทิ้งงานที่ค้างคาอยู่ เพื่อลุกขึ้นมานั่งประชุมกันโดยมีหัวหน้าเป็นผู้นำในการประชุม มีคนจดบันทึก ทุกคนหน้าตาคร่ำเคร่งกับการประชุม เหล่านี้ทำให้เรามองว่าประชุมไปเสียเวลา และทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์มากเท่า เพราะบางอย่างสิ่งที่เรา get พอถึงคราวประชุมก็ลืมไปแล้ว สิ่งใหม่หลังจากเราย้ายมานั่งรวมกัน เราเลือกที่จะถก..ประเด็นต่างๆ ได้ตลอดเวลาที่เรานึกออก และ get ได้ และหากเกี่ยวข้องกับงานใครที่ตนเป็น "เจ้าภาพ" ก็เลือกที่จะบันทึกเก็บไว้ในงานตน เพื่อนำไปพัฒนาต่อ

       เราเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ มาเป็นการทำงานที่มี "เจ้าภาพ" ในการทำงาน...และหากเป็นงานใดใด คนที่เหลือก็เลือกที่จะมาเป็นผู้ร่วม ช่วยเหลือกัน เป็นกันเองมากขึ้น เป็นพี่ๆ น้องๆ กันมากขึ้น และหากใครถนัดหรือมีความเชี่ยวชาญด้านใดก็ลงลึกในด้านนั้น...เมื่อก่อนมักจะมีใครบางคนแบ่งแยกว่า งานนี้คือ ซี5 ควรทำ งานนี้ซี 7 ควรทำ อะไรประมาณนี้เป็นต้น...เรามองว่ากรอบของซี คือ ความปิดกั้นศักยภาพของมนุษย์คนทำงานอย่างยิ่ง ที่ทำงานเราส่วนใหญ่จบปริญญาโท ปริญญาเอกแต่ซีน้อย ซึ่งหากมองบริบทความสามารถที่ซ่อนลึกอยู่ในแต่ละบุคคลมีค่อนข้างมาก หากมักถูกจำกัดด้วยกรอบของซี ทำให้บุคคลเหล่านั้นไม่สามารถที่จะทำงานได้เต็มตามศักยภาพของตน

       พอเราหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น พูดคุยกันมากขึ้น เราเอาเรื่องซีพวกนี้ทิ้งไป...แต่เลือกที่จะมาทำงานตามที่ "ใจ" มุ่งมั่นอยากจะทำมากกว่า อย่าง เช่น พี่เขียว ชำนาญการทางด้านปฏิบัติเชิงบริการ เมื่อก่อนจะทำอะไรได้ไม่มากนัก เพราะระดับผู้บริหารมีมุมมองติดที่ว่าพี่เขียวมี ซีน้อย พัฒนาตนเองมาจากพยาบาลเทคนิค ถึงแม้ตอนนี้จะเป็นพยาบาลวิชาชีพก็ตาม แต่มุมมองใหม่เราพี่ๆ น้องๆ มองว่าพี่เขียวมีศักยภาพค่อนข้างมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับหน่วยอื่นๆ ในโรงพยาบาลก็ทำได้ดี...เราก็เลือกที่จะส่งเสริมให้พี่เขียวได้ทำงานและบริหารจัดการตนเอง...ด้วยศักยภาพที่ตนเองมี

       จากการเริ่มเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในแนวใหม่ (เราเรียกเอาเอง) ทุกวันนี้เรามีความสุขในที่ทำงานอย่างมาก..และยิ่งมีความสุขมากยิ่งเมื่อคนที่ชมเรา..คือ "ผู้ป่วย" เรามักจะได้ของฝากเล็กๆ น้อยๆ จากผู้ป่วยเสมอทุกสัปดาห์ เช่น มะม่วงบ้าง ขนมบ้าง เสื่อทอมือบ้าง ข้าวกล้องบ้าง..เป็นต้น ตรงนี้แหละที่เราถือว่า คือ รางวัลแห่งการทำงาน เพราะเมื่อเขามาเขาจะคิดถึงเรา "คนทำงานทุกคน" นี่แหละคือความสุขใจของเราชาวจิตเวช


 

หมายเลขบันทึก: 25174เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
-ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
  • ถ้าเราสมารถปลดแอกออกจากระบบซีได้จะมีความสุขครับ
  • ผมได้ทดลองแล้ว ตอนนี้เลยมีความสุขกับการเรียนการทำงานมาก
  • การทำงานควรเน้นที่ผู้ให้บริการเป็นสำคัญ ผู้ป่วยเป็นนายของเราครับ

คห. มาเร็วนะคะอาจารย์"ขจิต"

ดิฉันเป็นข้าราชการ ซี5 มาเกือบจะสิบปีแล้วคะ

มีความสุขดีในการดำรงชีวิตคะ

*^__^*

 

     ลองลดละเลิก สิ่งที่เป็น "แอก" ออก จะรู้สึกเบาสบาย แต่อาจจะขวางหูขวางตาไปบ้าง แรก ๆ ก็ทนเอาหน่อย ชื่นชมครับและทึ่งที่กล้า...มาก ในระบบราชการนี้

ราชการ คือ ราชการ

 ระบบ คือ ระบบ

  บางครั้ง "จำยอม" เพราะ " อยู่ใน...ระบบ  (สังคม คนหมู่มาก อาศัย เงินภาษี ราษฎร ต้องมี กฏ กติกา และ มารยาท)"

     อยู่ใน ระบบ ต้อง มี "ระเบียบ" ( เหมือน ระเบียบ วิธีการวิจัย)

       แต่  "อยายึด ระบอบ ที่ ไม่มีคุณธรรม"

 สติ ตั้งมั่น ฝ่าฟัน ไม่ยึดติด แต่ ต้องคิด เพื่ออนาคต จนกว่า

  "จะ ปลด แอก"

     

               " ไม่ยึดติด...จะสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่าง "

เห็นด้วยกับ อ.jj.อย่างที่สุด และอยากจะลปรร.เพิ่มเติมว่า" ไม่ยึดติด " นั้น ต้อง " วาง และว่างจริงๆ " ถ้ายังมีความรู้สึกอื่นแทรกอยู่...เรา...อาจ " ยึด " กับ คำว่า " ไม่ยึดติด " โดยไม่รู้ตัวก็ได้

"ข้าราชการ"  หมายถึง ผู้รับใช้ของราชา (หรือป่าวครับ)
แล้วสิ่งที่ผู้รับใช้ของพระราชาพึงกระทำก็คือ การทำงานช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ ตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย...

ตอนนี้มีสถานะอื่นๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น "พนักงานองค์กรของรัฐ"  "พนักงานมหาวิทยาลัย"  สวัสดิการอาจต่างกัน หากแต่เพียง บทบาทหน้าที่ที่มีต่อ"ประชาชน" ก็มิได้เปลี่ยนแปลง

อย่างมอง แค่ซี แค่ระดับ  หรือตำแหน่ง แต่มองที่งาน มองที่ผู้รับบริการ น่าจะทำให้สังคมเรามีไรดีๆขี้นเยอะเลย

ไม่ยึดไม่ทุกข์   ถ้ายึดก็จะทุกข์มาก  สุขเกิดจากละให้มันหมดไป

  • คุณ"ชายขอบ" กล้าอย่างถูกต้อง...ย่อมนำมาสิ่งซึ่งความสุข..หากบางครั้งจะเหนื่อยยากก็ตาม
  • ท่านอาจารย์หมอ JJ ยึดมั่นในตนเอง อย่างถูกต้อง ต่อสังคม และประโยชน์ของปวงชน คือ สิ่งที่คนทำงาน พึงกระทำ
  • คุณ"คนข้างนอก" เห็นด้วยคะบางครั้งที่เราบอก "ตน" ว่าไม่ยึดติดนั่น..อาจ "ยึดติด"
  • คุณ"ตุมปัง" ข้า+ราชา+การ >> เป็นคนรับใช้พระราชา/กษัตริย์ ในการทำงาน
  • คุณ"samnuan" สุขและทุกข์บางครั้งอาจวิ่งไล่ตามกันมาติด และอาจแยกจากกันไม่ออก

แล้วที่เราทำ "ภาระ" ทุกวันนี้..ถาม"ตน" หรือยังว่า...ทำเพื่ออะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท