อสม. ดูงาน ตอนที่ 2


จุดเด่นอีกอย่างของที่นี่ คือ มีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้เครือข่าย อสม.น้อยในการดูแลและสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ซึ่งในที่นี้เรียกว่า “ลูกโซ่อสม.”

         

                                                   

          ที่ที่สองที่เราไปดูงานกัน คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านปลายสาย หมู่ที่ 4 ตำบลอิปัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จุดเด่นของศูนย์แห่งนี้ คือ เป็นศูนย์ถ่ายทอดการเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน มีประธานอสม.ที่เข้มแข็ง คือ คุณพรทิพย์ จันทร์สาระ ได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นระดับจังหวัดในสาขาการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งจุดเด่นอีกอย่างของที่นี่ คือ มีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้เครือข่าย อสม.น้อยในการดูแลและสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ซึ่งในที่นี้เรียกว่า ลูกโซ่อสม.

                                              

            เป็นการประยุกต์จากเครือข่ายทางการตลาด ที่เน้นการหาเครือข่ายในการดำเนินงาน โดย อสม.แต่ละคนทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการหาลูกทีม เพื่อนำมาอบรมให้ความรู้ในการสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน อุปกรณ์ที่ลูกโซ่ อสม.ทุกคนได้รับเหมือนกันหมด คือ กระเป๋าสะพาย 1 .ใบ ข้างใน มีกระบอกไฟฉาย 1 กระบอก ทรายอะเบท และใบที่ใช้ในการสำรวจลูกน้ำ

                                        

           โดยทุกวันศุกร์เย็น หลังเลิกเรียน ลูกโซ่เหล่านี้ ก็จะออกสำรวจทุกบ้านในเขตพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ และถ้าพบว่าบ้านไหนมีลูกน้ำยุงลายก็จะไม่แจกทรายก่อน แต่จะแนะนำให้ไปรับปลาหางนกยูงที่ ธนาคารปลา ซึ่งตั้งอยู่หน้าบ้านประธาน อสม. ใครก็สามารถมารับปลาไปได้ นับว่าเป็นแนวคิดที่น่าชื่นชมอีกอย่างนึง ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ปลอดไข้เลือดออกมาแล้ว 3 ปี และปัจจุบันนี้ ลูกโซ่ อสม. ก็เข้ามาสมัครกันมากขึ้น และทุกคนในหมู่บ้านต่างก็ยอมรับ และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านอุปกรณ์ จากองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันด้วย

หมายเลขบันทึก: 25151เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     อ่านแล้วเป็นเรื่องเล่าที่น่าอ่าน น่าจดจำไปประยุกต์ใช้ต่อมาก แต่ความสำเร็จตรงที่เป็นหมู่บ้านปลอดไข้เลือดออกนั้น พิจารณาข้อสรุปแบบนิ่ง ๆ ใจเย็น ๆ ด้วยนะ ยังมีหลาย ๆ ปัจจัยที่เชิ่อมโยงมา เอาล๊ะอย่างหนึ่งที่เห็นแน่ ๆ คือ ชุมชนนี้ได้ "ใจ" ในการร่วมจัดการกับปัญหาของเขาเอง อันนี้ยอดเลย เขาทำอย่างไรนะ ถึงได้ใจนั้นมา

ขอวิเคราะห์จากมุมมองของตัวเองนะคะว่า เขาทำอย่างไรถึงได้ "ใจ" ในการร่วมจัดการกับปัญหา

ประการแรก น่าจะมาจากผู้นำค่ะ (ใครๆ ก็รู้นะคะ ว่าผู้นำมักเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะในองค์กร หรือชุมชน) ถ้าเขาคิดดี ทำให้เห็น ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และมีเป้าหมายเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง จุดเริ่มต้นอาจจะเหนื่อยและล้าบ้าง แต่เชื่อว่าถ้าเขาตั้งใจจริง รับรองว่าไม่ล้มเหลว

ประการต่อมา น่าจะเป็นบริบทของชุมชนเอง เนื่องจากชุมชนดังกล่าว ค่อนข้างเล็ก โครงสร้างทางสังคมในชุมชนไม่ซับซ้อน มีประชากรประมาณ 490 คน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร และเมื่อมีการเคลื่อนไหวของผู้นำหรือคนร่วมชุมชน ก็จะมีการสื่อสารถึงกันได้โดยง่ายและรวดเร็ว

ส่วนประการสุดท้าย ก็น่าจะเป็นการประยุกต์ทรัพยากรในหมู่บ้านที่เหมาะสม มีการใช้แกนนำเยาชนในหมู่บ้านมาเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ และการพบปะกันทุกวันศุกร์ตอนเย็น นับว่าเป็นการ ลปรร.กันระหว่าง อสม.กับลูกโซ่อสม. เพื่อมาเลาสู่กันฟังถึงการทำงานของแต่ละคนว่าได้พบเจอกับอะไรมาบ้าง และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างยั่งยืน

เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างนึงว่า การทำงานร่วมกับชุมชนที่ประสบผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่นั้น เกิดในชุมชนชนบทมากว่าชุมชนเมือง เป็นเพราะอะไรคะ ใครพอจะมองเห็นมุมอื่น ก็ร่วมลปรร.กันได้ค่ะ

 

อย่าว่าผู้นำเลยคับ เอาเป็นประชาชนของผมเกือบ800 หลังคาเรือน บ้านไหนสนใจจะกำจัดลูกน้ำยุงลายก้อทำนะ บ้านไหนไม่ทำ ไปสำรวจ ไปกระตุ้นก้อไม่ได้อะไรเลย พอเจอหน้าวันหลังก้อไม่อยากมองเราแล้วพยายามแล้วคงต้องรอให้ป่วยก่อนล่ะถึงกลัวกันบ้าง

ใชคะ คงให้ป่วยก่อนถึงจะกลัวกัน เห็นด้วยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท