สร้างแบบจำลองของเรื่องใกล้ตัว (๑)


ทำได้ หาข้อมูล และเนื้อเรื่องได้ง่าย

เราสามารถสร้างแบบจำลองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนระบบ แบบจำลองอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบของภาพวาด ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ

เรื่องใกล้ตัวสามารถนำมาสร้างเป็นแบบจำลอง เพื่อ

๑. ทดสอบว่าเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบมากน้อยเพียงใด

๒. ใช้แบบจำลองที่สร้างได้เพื่อคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของระบบ

๓. ใช้ผลของการคาดการณ์ในการจัดการ ควบคุมทรัพยากรการผลิตให้เหมาะสม

 

ตัวอย่างของเรื่องใกล้ตัวที่ควรนำมาสร้างเป็นแบบจำลองควรเป็นเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อคน ต่อสังคม ต่อความสามารถในการผลิต ต่อสิ่งแวดล้อม

แบบจำลองการออมของประชากรในระดับหมู่บ้าน

แบบจำลองระดับการเรียนรู้ของนักเรียนเมื่อใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง

แบบจำลองการเพิ่มขึ้นลดลงของการระบาดของไข้หวัดนก

แบบจำลองระบบการปรับปรุงบำรุงดิน-การเปลี่ยนแปลงระดับของอินทรีย์วัตถุในดิน

อื่น ๆ

 

การแก้ปัญหาของเรื่องใกล้ตัวที่กำลังบรรยายเป็นเป้าหมายหลักของการสร้างแบบจำลองระบบ หากเรื่องใกล้ตัวเป็นปัญหาและต้องการแก้ไข การสร้างแบบจำลองอาจจะนำสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบได้

 

อรรถชัย จินตะเวช, ๒๓ เมษายน ๒๕๔๙, ม.อบ.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25126เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท