ภาษาไทย (คำควบกล้ำ)


คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ

          คำควบกล้ำ  คือ  คำที่มีพยัญชนะต้นสองตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน และอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองตัวพร้อมกัน  พยัญชนะตัวควบมี 3 ตัว คือ     

1.      คำควบแท้

คือ  คำที่มีพยัญชนะ  2 ตัวเรียงกัน พยัญชนะตัวหลังเป็น ร ล ว    ประสมสระเดียวกัน เวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะ ทั้ง  2   ตัว พร้อมกัน  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท คือ

                   1.1  พยัญชนะตัวหน้า คือ  ตัว ก ข ค ต ป พ ควบกับตัว ร  เช่น      กรอบ  ขรุขระ  ครู  เตรียม  ปรับปรุง  แพรวพราว

                   1.2  พยัญชนะตัวหน้า  คือ  ตัว              ควบกับตัว ล เช่น     กลอง  ขลุ่ย  คลาน  ปลอมแปลก  ปรับปรุง  แพรวพราว

1.3            พยัญชนะตัวหน้า คือ ตัว ก ข ค ควบกับตัว ว เช่น 

   กวาง  ขวาน  ควาย

 

    2.      คำควบไม่แท้

คือ คำที่พยัญชนะต้นควบกับตัว ร  แต่ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว หรือออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่นแบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ

                   2.1  พยัญชนะตัวหน้าเป็น         ควบกับตัว ร  จะออกเป็นเสียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ไม่ออกเสียง ร ควบ เช่น

          จร  จริง       อ่านว่า         จิง

          ซร  ไซร้      อ่านว่า         ไซ้

          ศร  เศร้า      อ่านว่า         เส้า

          สร  สร้อย    อ่านว่า         ส้อย

                   2.2  พยัญชนะตัวหน้าเป็นตัว    ควบกับตัว    จะออกเสียงเป็น     เช่น

          ทร   ทราบ   อ่านว่า         ซาบ

          ทร   ไทร     อ่านว่า         ไซ

          ทร   อินทรี  อ่านว่า         อิน ซี

          ทร    พุทรา  อ่านว่า         พุด ซา

คำสำคัญ (Tags): #คำควบกล้ำ
หมายเลขบันทึก: 250764เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลักษณะก้ำกึ่ง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้

สวัสดิการสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท