ประเพณีทำบุญว่างของชาวจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา ป่าช้าจีน ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา


ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของป่าช้าจีน

ป่าช้าจีนตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

 

คำว่า ป่าช้าตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าเปลวจากการสอบถามแม่เฒ่าเล่าให้ฟังว่าป่าช้าจีนแห่งนี้ เป็นป่าช้าเผาศพโดยจะเห็นซากเชิงตะกอนเก่าอยู่ในป้าช้านั้นตลอดถึงเป็นที่ฝังศพ เก็บศพและเก็บกระดูกของผู้ตายโดยจะเห็นได้จากเจดีย์ ฮวงซุ้ย และเครื่องหมายที่แสดงถึงที่เก็บกระดูกบนหน้าดิน ภาษาชาวบ้านเรียกที่เก็บนี้ว่าบัวอายุของป่าช้ามีมากกว่า ๑๐๐ ปี มีก่อนแม่เฒ่าของแม่เฒ่า ที่เรียกว่าป่าช้าจีน สันนิษฐานว่า ที่ป่าช้าแห่งนั้นเป็นที่ฝังศพของคนจีนมาก่อน ต่อมามีหลวงพ่อรูปหนึ่งชื่อว่าวร ชาวบ้านเรียกว่าพ่อท่านวรมาจำพรรษาที่ป่าช้าแห่งนี้ และท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ห่างจากนั้นหลายปี มีจึงพระภิกษุรูปหนึ่งมาพำนักประจำอยู่เพียง ๑ รูป ปัจจุบันมีวัดแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ป้าช้านี้ประมาณ ๑ กิโลเมตร วัดแห่งนั้นได้สร้างเมรุเผาศพขึ้นมา ชาวบ้านจึงนิยมที่จะเผาศพที่เมรุมากกว่านำมาเผาที่เชิงตะกอนอย่างสมัยเดิม แต่ก็ยังนิยมที่จะนำกระดูกมาเก็บที่ป่าช้าแห่งนี้ และมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายทุกปี

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 25070เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท