ส่วนประกอบ เรื่อง อังกะลุง


ส่วนประกอบ เรื่อง อังกะลุง

 ส่วนประกอบของอังกะลุง

อังกะลุงประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ  ดังนี้

1. ไม้ไผ่ลาย  ต้องเป็นไม้ที่มีความแกร่ง คือมีเนื้อ ไม้แข็งได้ที่  จึงจะมีเสียงไพเราะ  และจะต้องมี
    ลายที่สวยงาม ตัดไม้ให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาตากแห้งย่างไม้กับไฟ
   อ่อน ๆ  นำมาอาบน้ำยากันมอด  บ่มไม้โดยใช้ผ้าคลุมจะช่วยป้องกันมอดได้ หลังจากนั้นจึงนำมาเหลาตามเสียงที่ต้องการ  ไม้ไผ่ลายเป็นไม้ไผ่ประเภทหนึ่ง ที่ปล้องไม้จะมีลายด่างเหมือนตกกระ เป็นโดยธรรมชาติทั่วทุกปล้อง จะเห็นลายเด่นชัดเมื่อมันแก่  เนื้อไม้ค่อนข้างบางเบาแต่แข็งแกร่ง ยิ่งแก่ก็ยิ่งแข็งแต่โบราณช่างทำดอกไม้ไฟจะนำมาประกอบการทำดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า  “ ช้างร้อง ”เพราะทำให้เกิดเสียง    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะหาไม้ไผ่ชนิดนี้ได้ง่ายแถบชานเมืองกรุงเทพส่วนมากจะขึ้นอยู่ตามป่าช้าตามวัด (ที่ฝังศพ หรือเก็บศพก่อนเผา) ต่อมาก็มีคนนำมาปลูกตามสวนแต่ในปัจจุบันมักจะหาดูได้ในบางท้องที่ เช่นนนทบุรี    ปราจีนบุรี เป็นต้น
2. รางไม้   เดิมจะใช้ไม้สักทองขุดเป็นราง  เพื่อให้วางขาที่ฐานกระบอกลงในร่องที่ขุด ร่องที่เจาะจะมี 3 ร่อง และรูกลมอีก 5 รู สำหรับตั้งเสายึดตัวกระบอกอังกะลุง
3. เสาอังกะลุง มักทำด้วยไม้ไผ่เหลาเกลาหรือกลึงจนกลมเรียบ  มีความยาวตามความสูงของกระบอกอังกะลุง   ขนาดโตกว่ารูที่ราง
เล็กน้อย
4. ไม้ขวาง   ทำจากไม้ไผ่เหลาแบน ส่วนกลางปาดเนื้อไม้เป็นร่องลึกพอประมาณ
ใช้สำหรับสอดผ่านช่องกระบอกอังกะลุง เพื่อยึดตัวกระบอกกับเสา
 5. เชือก, กาว ใช้เป็นตัวยึดระหว่างไม้ขวาง กับเสา
 6. สี, น้ำมันชักเงา ใช้ตกแต่งตัวอังกะลุงให้มีความสวยงาม เป็นเงางาม
    ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอังกะลุงจะนำมาประกอบขึ้นเป็นอังกะลุง   1  ตับ โดยการนำเอากระบอกไม้ไผ่ลายที่เหลาและเทียบเสียงอย่างถูกต้องแล้ว (เทียบกับขลุ่ยเพียงออ ระนาด หรือกับเครื่องดนตรีสากล เช่น ปี่คลาริเนต  เมโลดิก้า ออร์แกน )  จำนวน  3  กระบอก 3 ขนาด ( แต่ละกระบอกจะมีเสียงสูง   กลาง  ต่ำ  อยู่ในระดับเสียงเดียวกัน )    มาเจาะรูปพระจันทร์ครึ่งซีก นำมาประกอบกับรางไม้ ยึดกับเสา และไม้ขวางด้วยเชือกและกาว  แล้วนำมาตกแต่งด้วยสีหรือน้ำมันเคลือบเงา

 

หมายเลขบันทึก: 250471เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เกร็ดความรู้

อังกะลุง... เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่จึงมักจะชำรุดง่าย โดยเฉพาะอันตรายจากตัวมอดซึ่งเป็นตัวทำลายเนื้อไม้ให้ผุ เมื่อมอดกินเนื้อไม้ จะทำให้น้ำหนักของอังกะลุงจะเบาขึ้น เสียงก็จะเปลี่ยนไป การที่นำอังกะลุงมาบรรเลงบ่อย ๆอย่างสม่ำเสมอ จะมีผลดี คือทำให้มอดไม่กินหรือกินบ้างแต่ก็ช้าลง แต่ถ้าเก็บไว้เฉย ๆ จะทำให้เสียง่าย การวางอังกะลุง ก็ควรวางเบา ๆ และจะต้องพิงไว้ในลักษณะเอียงเอนเสมอ เพื่อป้องกันการตก หรือล้มกระแทกซึ่งอาจทำให้กระบอกอังกะลุงแตกได้ สภาพดินฟ้าอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เสียงเพี้ยนได้ โดยเฉพาะความชื้น การบรรเลงในห้อง ปรับอากาศก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงของอังกะลุง เปลี่ยนไปจากเดิมได้

เดี๋วยนี้ เขานิยมเล่นอังกะลุงราวกันมากครับ นำอังกะลุงมาผูกเป็นราว คนเดียวเล่นได้ทุกเสียง

สวัสดีค่ะคุณ นภารัตน์

ยินดีต้อนรับสู่บ้าน Gotoknow ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท