เพราะ GotoKnow.org เขาถึงได้เลือก


การวิจัยเรื่อง “การศึกษาองค์ความรู้ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านและการปรับตัวของสถานบริการสุขภาพในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก”

     เป็นเวลานับเดือนแล้วที่ผมได้รับการติดต่อจากทีมนักวิจัยของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ที่ทำการวิจัยเรื่อง “การศึกษาองค์ความรู้ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านและการปรับตัวของสถานบริการสุขภาพในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัยการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลอนามัยของมารดาและทารกชาวไทยมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินงานในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา ยะลา สตูล และปัตตานี (รายละเอียดตัวโครงการ WisdomsToeBeDae.pdf)

     ในที่สุดก็ลงตัวที่วันที่ 26-28 เมษายน 2549 ณ เขาชันรีสอร์ท ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ซึ่งในเบื้องต้นที่ทีมพี่เลี้ยงตั้งใจว่าจะใช้พื้นที่ที่ใกล้เคียงพื้นที่วิจัยที่สุด ในการพัฒนานักวิจัยขึ้น จึงได้ลงสืบค้นหาข้อมูล โดยใช้คำว่า “ภูมิปัญญา + การแพทย์ + พื้นบ้าน” สิ่งที่ผมได้ทราบคือ เขามาพบเนื้อหาที่ผมบันทึกไว้ใน GotoKnow ในหน้าแรกของ Google และด้วยข้อมูลที่ได้นำเสนอไว้ครบถ้วนเขาจึงได้เลือกในเบื้องต้นและนำเสนอต่อคณะผู้บริหารและอธิบดี จนได้ติดต่อกันเพื่อประสานงานให้เกิดขึ้น โดยคนเชื่อมประสานเป็นคุณพี่เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และคุณอรจิรา ทองสุกมาก

     ในระหว่างที่เขาติดต่อกับผมนั้น ผมก็ไม่ค่อยได้อยู่ในพื้นที่นัก จึงได้อาศัยทีมงาน “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ช่วยประสานต่อให้อีกทอดหนึ่ง ถึงวันนี้ก็เรียบร้อยและพร้อมแล้วที่จะรับทีมงานจาก กทม. และจังหวัดใกล้เคียง เพราะ GotoKnow.org เขาถึงได้เลือกพื้นที่พัทลุงบ้างให้ได้รับโอกาสเช่นนี้ และเพราะทีมงานที่รักกันด้วยความจริงใจต่อการพัฒนา ต่ออุดมการณ์อันแรงกล้า จึงลุล่วงในขั้นเตรียมการ เพราะหากนับไปแล้ว ไม่เคยได้รับโอกาส หากมีบ้างมาแล้วก็หลาบ ๆ ออกไป ไม่ทราบเพราะอะไร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ผมยังไม่เข้าวงการ

     เป็นอันว่าในระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2549 ชาวพัทลุงก็มีโอกาสที่จะได้ต้อนรับทีมงานและทีมนักวิจัย เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกทักษะ (ผมเป็นหนึ่งในทีมวิทยากรด้วย) นักวิจัยจำนวน 48 คน ดังนี้

          วิทยากร
          1. นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
          2. นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
          3. นายแพทย์ประพจน์  เภตรากาศ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
          4. ดร.เลิศชาย ศิริชัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          5. ผศ.ดร.กิตติพร นิลมานัส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          6. อาจารย์เสรี จุ้ยพริก วิทยาลัยการจัดการทางสังคม ภาคใต้ 
          7. นางสาวจินตนา หาญวัฒนกุล โรงพยาบาลบันนังสตา จ.ยะลา
          8. นางสาวยูนัยดะห์ กะดะแซ สถานนีอนามัยตำบลท่าธง  อ.รามัน  จ.ยะลา
          9. นักวิจัยชุมชน โครงการวิจัยการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด ตำบลเสาธงหิน อ.รามัน  จ.ยะลา
          10. นายอนุชา หนูนุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
          11. นางดารณี อ่อนชมจันทร์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
          12. นางสาวรุจินาถ อรรถสิษฐ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
          13. นางสุพัตรา สันทนานุการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
          14. นางเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ

          ผู้เข้าร่วมประชุม
          15. แพทย์หญิงสุรัยยา นิยมเดชา โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
          16. นางวารุณี เบญอาหลี โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
          17. นางปราณี วารีกุล โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
          18. นางสาวรัญชนา ชูเขียว โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
          19. นางสาวฝาเร๊าะ เจะจาโรจน์ โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
          20. นางสาวสมศรี สองไชย โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
          21. นางรัชนี ศิริรัตน์ โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
          22. นางตีรณี กำภู โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
          23. นางสาวธนิดา นิเราะ โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
          24. นางดุษฎี สุมาลี โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล
          25. นายสุธิชาติ เมืองปาน โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล
          26. นางสาวอุบลวรรณ  ดวงดี โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล
          27. นางสาวธิดา เหมือนคละวงศ์ โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล
          28. อาจารย์จำนง แรกพินิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
          29. นายชัยวัฒน์ มูนะ อบต.มะกรูด จ.ปัตตานี
          30. นางสาวจิตราภรณ์ รักดี ทีมงานวิจัยชุมชน จ.ปัตตานี
          31. นายมะฮาซาบูเลาะ สะลาแม ทีมงานวิจัยชุมชน จ.ปัตตานี
          32. ทีมวิจัยชุมชน ทีมงานวิจัยชุมชน จ.ปัตตานี
          33. ทีมวิจัยชุมชน ทีมงานวิจัยชุมชน จ.ปัตตานี
          34. ดร.สุดารัตน์ ธีระวร ศูนย์อนามัย 12 ยะลา จังหวัดยะลา
          35. นางสาววันดี สุวรรณรัศมี ศูนย์อนามัย 12 ยะลา จังหวัดยะลา
          36. นางสาวพรรณน้อย ทีปรักษพันธุ์ ศูนย์อนามัย 12 ยะลา จังหวัดยะลา
          37. ทีมงานวิจัยศูนย์อนามัน12 ยะลา ศูนย์อนามัย 12 ยะลา จังหวัดยะลา
          38. นางสาวสมศิริ ยิ้มเมือง สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา
          39. นางสาววสุนันทา พานทอง สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา
          40. ทีมงานวิจัยสถาบันศานติธรรม สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา
          41. ทีมงานวิจัยสถาบันศานติธรรม สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา
          42. ทีมงานวิจัยสถาบันศานติธรรม สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา
          43. ทีมงานวิจัยสถาบันศานติธรรม สถาบันศานติธรรม จังหวัดสงขลา

          ผู้สังเกตการณ์
          44. นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
          45. นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
          46. นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
                (จากทีมงานไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน)

          ผู้จัดการประชุม
          47. นางสาวรัชนุช จุฑามณี ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ
          48. นางสาวอรจิรา ทองสุกมาก ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ

อ่านต่อที่ “โต๊ะบิแด” กับการดูแลอนามัยของมารดาและทารกชาวไทยมุสลิม

หมายเลขบันทึก: 25023เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2006 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ต้องอ่านบันทึกนี้คะ Google and GotoKnow

อ.ดร.จันทวรรณ

     ไปอ่านมาแล้วและทิ้ง คห.ไว้ ในเวลาไล่เรี่ยกัน กลับออกมาอาจารย์ก็ทิ้ง คห.ไว้ที่นี่พอดี (ยิ้ม ๆ) ขอบพระคุณมากนะครับที่ไขข้อข้องใจให้ทราบ

พื้นที่เข้มแข็ง...

คนทำ..มุ่ง"อุดมการณ์"

ประโยชน์มุ่ง...."ประชาชน"

หาใช่ทำเพียงแค่..."หน้า"ที่

หากทำ...ด้วย "ใจ" ที่เต็มเปี่ยม

ขอชื่นชมทีม"ไตรภาคีฯ จ.พัทลุง"...

มุ่งมั่น และก้าวเดิน...

หากทดท้อ..อย่ายอมแพ้

แม้มี "ใครขัด"...ขออย่าได้นำมา..เป็นอุปสรรค

ขอก้าวเดินต่อ...เพื่อ "ปวงชน"...ชาวบ้านอย่างแท้จริง

 

Dr.Ka-poom

     ขอบคุณแรงใจ...ที่มีให้เสมอ ขอน้อมรับและจะนำไปฝากทีมงานให้ได้ทราบต่อไป

     วันอาทิตย์ เมื่อวาน ผมเอาชื่อ "ชายขอบ" ไปขายถึงชัยนาท  กับกลุ่ม นศ.ป.โท เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  ในการพูดคุยเรื่อง พลังของ Blog gotoknow กับการจัดการความรู้  ถ้าเกิดมีคนปิ๊งเชิญไปแลกเปลี่ยนอะไรแถวโน้นอีกก็ อย่าว่ากันนะ  ก็มันปลื้มใจนี่  และได้กล่าวชื่นชมทีมพัฒนา คือ อ.ดร.จันทวรรณ และ อ.ดร.ธวัชชัย ให้เขาฟังด้วย แถมเปิด Blog อ.จันทวรรณให้เขาดูและหาคำตอบจากสิ่งที่เขาถามผมด้วยล่ะ
     รู้สึกเป็นปิติครับ เพราะสิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงมีสิ่งต่อ ๆ ไป เพราะสัมพันธ์กัน จึงเกิดการพัฒนา...ต่อยอด ไม่รู้จบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท