สังเกตอาการชัก


เราต้องเริ่มสังเกตอาการว่าเริ่มชักจากส่วนใด จับเวลาตั้งแต่เริ่มชักจนกระทั่งหยุด หาสิ่งเร้าที่ทำให้ชัก

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาพี่ชายหนูมีอาการชักตาค้าง ทั้งบ้านอึ้ง!!กันหมดค่ะ แต่พอเริ่มตั้งสติได้หนูก็ใช้วิชาความรู้ที่มีอยู่เท่าหางอึ่งที่รียนมา คือ จับเวลาการชักพี่หนูชักได้ 5 นาทีแล้วก็สลบไป พวกเรารีบพาส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด จากนั้นแพทย์ที่นั่นก็ให้นอนรอเฉยๆและบอกว่าสงสัยจะเป็นโรคมือจีบคือเครียดไปมั้ง แต่หนูยืนยันว่าไม่ใช่ hyperventilation เป็นอาการชักเลยอยากให้ทางโรงพยาบาลทำ CT scan หรือ MRI ให้ที แพทย์ทางโรงพยาบาลบอกว่าให้รอแพทย์ใหญ่ ดิฉันเลยขอให้ referพี่ของดิฉันไปโรงพยาบาลหลอดเลือดที่มั่นใจ เขาบอกว่าไม่สามารถทำได้ เลยขอให้เขาเอารถ ambulance ไปส่งก็ไม่ได้ ฉันเลยต้องพาพี่ย้ายโรงพยาบาลมาเอง มาถึงทางโรงพยาบาลส่งทำMRI เจาะCBC BUN Cr E'lyte ฯลฯ 

ตอนนี้พี่หนูยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแต่อาการอื่นๆยังดีไม่น่าเป็นห่วงมากเท่าไรค่ะ

ส่วนนี้หนูจะพูดถึงอาการชัก การชักจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ชักเฉพาะที่ (partial ) และ ชักทั่วๆไป (generalized)------พี่หนูชักแบบทั่วไปค่ะ
                         ชักเฉพาะที่ (Partial seizures) เกิดจากไฟฟ้าในสมองที่ผิดปกติเป็นเฉพาะบริเวณจำกัด และสามารถแบ่งออกเป็นสองแบบตามการรู้สึกตัว และอาการชักทั้งสองแบบไฟฟ้าสามารถที่จะกระจายไปสมองส่วนอื่นทำให้เกิดมีอาการชักเกร็งกระตุกแบบทุติยถูมิ (secondary generalized tonic-clonic seizures)
                         อาการชักเฉพาะที่แบบธรรมดา (Simple partial seizures) อาการและอาการแสดงขึ้นกับตำแหน่งไฟฟ้าที่ผิดปกติออกมา เช่นถ้าไฟ้าออกมาจากบริเวณควบคุมการเคลื่อนไหว ก็ทำให้มีการกระตุกของหน้า, แขน, ขาด้านตรงกันข้าม (Jacksonian seizures) ถ้าไฟฟ้าออกมาจากบริเวณรับความรู้สึกหรืออารมณ์และความจำอาจทำให้มีอาการได้กลิ่นแปลกๆ, ภาพหลอน, หูแว่ว, รู้สึกคุ้นเคยมาก่อนหรือกลัว ตกใจ
                         อาการชักเฉพาะที่แบบซับซ้อน (Complex partial seizrues) หรือบางทีเรียกว่า temporal lobe หรือ psychomotor seizures เป็นชนิดของการชักที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และยากต่อการรักษา อาจมีอาการเตือน (aura) ก่อนที่จะไม่รู้สึกตัว ส่วนมากมีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที ขณะที่เกิดคนไข้อาจดูเหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้สภาพแวดล้อมและไม่ตอบสนองต่อคำพูดหรือคำสั่งตามปกติ คนไข้จะเหม่อนิ่ง หรือทำพฤติกรรมที่ซ้ำๆไม่มีจุดหมาย (automatism) เช่นแสยะยิ้ม เคี้ยวปาก มือจับสิ่งของไม่รู้ตัว พูดคำซ้ำๆ เดิน วิ่ง หรือแม้กระทั่งถอดเสื้อผ้า คนไข้จะไม่สามารถจำสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ถ้าเราไปจับมัดคนไข้จะดิ้น ดื้อดึงได้ หลังจากชักก็จะหลับ สับสนและบ่นปวดศีรษะ อาการหลังชักอาจกินเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง
                        ชักทั่วๆไป (Generalized seizures) เกิดจากไฟฟ้าผิดปกติกระจายไปสมองทั่วๆไปตั้งแต่ต้นและมักมีการสูญเสียการรู้สึกตัว อาการชักเกร็งกระตุกหรือที่เรียกว่า grand mal มักมีเสียงร้องก่อน คนไข้อาจล้มลงบนพื้นและมีอาการกระตุกทั้งตัวอาจมีกัดลิ้น และปัสสาวะราด การชักชนิดนี้แบ่งออกย่อยๆเป็น            
                        Absence seziures (petit mal) ส่วนมากพบในเด็ก ที่พบ typical คือมีอาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาทีและอาจเกิดเป็นชุด มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก มักมีประวัติทางพันธุกรรมและความผิดปกติคลื่นสมอง ส่วนมากจะหายไปตอนวัยรุ่นราว 40% แต่บางรายอาการชักแบบเกร็งกระตุกยังมีต่อในวัยผู้ใหญ่ ชนิดที่เป็นแบบ atypical absence seizures มักพบก่อนอายุ 5 ขวบร่วมกับชนิดการชักทั่วๆไปแบบอื่นและมีสติปัญญาอ่อน อาการชักมักจะนานกว่าแบบ typical และร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
                       Myoclonic seizures เป็นการชักแบบที่กล้ามเนื้อหดตัวอย่างเร็ว ทันที ครั้งเดียวหรือหลายครั้งอาจเกิดกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้
                       Clonic seizures ชักแบบที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นจังหวะทำให้เกิดการกระตุกซึ่งมักเกิดกับแขน คอ
                       Tonic seizures ชักแบบที่กล้ามเนื้อแข็งเกร็งทันทีมักร่วมกับการไม่รู้สึกตัว

                แต่อย่าลืมนะค่ะว่าถ้าเกิดอาการชักขึ้นสิ่งที่ต้องทำคือการสำลักเอาสิ่งที่ทานอยู่หรืออมอยู่เข้าสู่หลอดลมซึ่งอาจทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ให้นอนตะแคงหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันลิ้นตก และไม่ต้องเอาช้อนหรือสิ่งของงัดปากเพราะจะทำให้ฟันหักสำลักเข้าคอ และไปอุดกั้นทางเดินหายใจ  แล้วจับเวลาตั้งแต่เริ่มชักถึงหยุดชัก หลังจากนั้นให้คนไข้ลองสังเกตอาการนำ แล้วหลีกเลี่ยงนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #seizure
หมายเลขบันทึก: 250218เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อืม ให้สาระความรู้ดีมากๆเลยค่ะ

แต่น่ากลัว กลัวทำอะไรไม่ถูกเวลาคนชัก

ลืมบอกไปว่าพี่ของหนูอายุแค่ 30 ปีเอง

ให้ความรู้ดีมากเลยค่ะ

แต่อ่านเรื่องชักแล้วน่ากลัวจังเลยเนอะ

ดิฉันก็เคยพบเด็กที่ชักค่ะ ก็ช่วยโดยจับตะแคงค่ะ แต่เป็นแป๊บเดียวไม่นานน่ะค่ะ

แต่หลังจากนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าน้องเค้าเป็นยังไง เพราะพี่พยาบาลเค้าดูแลแทนค่ะ

น่ากลัวนะคะเวลาที่สถานการณ์เกิดขึ้น

...

...

ยังไงขอให้พี่ชายหายไวๆนะคะ

สมแล้วคะที่เรียนพยาบาล เลือดพยาบาลเต็มตัวแล้วนะคะ

ขอให้พี่ชายสุขภาพดีขึ้นเร็วๆๆนะคะ

สติดีมากเลยค่ะที่รู้ว่าควรจะทำอะไรก่อน

ชื่นชมค่ะ^^

ญาติหนูมีอาการชักเกร็ง ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตอนนี้หมอใช้เครื่องช่วยหายใจ มัดมือมัดขา น่าสงสารมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท