บาร์โค้ดสิ่งส่งตรวจ..."สองมาตรฐาน"


เรื่องบาร์โค้ดสิ่งส่งตรวจ...เป็นอมตะนิยาย ที่ต้องมีการพูดถึงทุกครั้งในทุกวงสนทนา
ในวงเสวนาไอโซ “การทำงานด้านคุณภาพ” มีประเด็นอมตะนิยายที่ต้องพูดถึงทุกครั้งคือ เรื่องการติดบาร์โค้ดในการส่งสิ่งส่งตรวจ ซึ่งแนวคิดของทุกฝ่ายตรงกันว่า ควรมีบาร์โค้ดพร้อมกับชื่อสกุลผู้ป่วยติดมาที่สิ่งส่งตรวจด้วย...
ปัจจุบันสิ่งส่งตรวจที่ส่งมาจากหอผู้ป่วย ก็ติดทั้งบาร์โค้ด และ ชื่อสกุลผู้ป่วยมาด้วยกัน  ทำให้ผู้รับสิ่งส่งตรวจสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้แม่นยำขึ้น  แต่สิ่งส่งตรวจที่จัดเก็บจากหน่วยรับสิ่งส่งตรวจ (OPD Lab) ของภาควิชาพยาธิวิทยาเอง กลับมีเพียงบาร์โค้ดอย่างเดียว ไม่มีชื่อสกุลของผู้ป่วยติดมาด้วย เพราะอยู่ระหว่างการดำเนินการให้ฝ่าย “ไอที”มาช่วยทำคำสั่งพิมพ์สติ๊กเกอร์ให้
     คุณรุ่งเรือง (หน่วย sero) ผู้ชำนาญในด้านมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูด...ตามสไตล์ของท่าน...คุณรุ่งเรืองตั้งคำถามว่า ถ้าเราสามารถรับสิ่งส่งตรวจที่มีเฉพาะบาร์โค้ด (จาก OPD Lab) ได้ ทำไมเราจึงต้องให้หอผู้ป่วยเขียนชื่อติดมาด้วย และถ้าเราบอกว่าควรมีการเขียนชื่อติดมาด้วยทุกครั้ง ทำไมเราไม่ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่มีเฉพาะบาร์โค้ด 
     คุณสมพร (หน่วย sero) ให้ความเห็นไว้น่าสนใจว่า  ห้องปฏิบัติการควรมี แนวทางรับ/ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจทั้งสองแบบ...คือ ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามบาร์โค้ด  และ ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามบาร์โค้ดและชื่อสกุลผู้ป่วย  พี่เม่ยจึงใช้คำว่า สองมาตรฐาน พร้อมทั้งขยิบตาให้คุณลิขิตของวงเสวนา (คุณสุรีรัตน์)บันทึกไว้....
คุณรุ่งเรืองมีประเด็นต่อไปว่า ถ้าเกิดปัญหาที่ต้องตรวจสอบสิ่งส่งตรวจย้อนหลัง (เช่นประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว) เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งส่งตรวจที่มีปัญหานั้นเรารับมาด้วยมาตรฐาน ที่หนึ่ง หรือที่สอง
   ประเด็นนี้น่าสนใจค่ะ ถ้าสามารถทำสัญลักษณ์ในทะเบียนรับได้ว่า รับสิ่งส่งตรวจมาด้วยมาตรฐานหนึ่ง หรือมาตรฐานสอง ก็จะเป็นการดี แต่มองในภาพรวมก็พอจะแยกได้ โดยดูจากแหล่งที่มาของสิ่งส่งตรวจ ถ้ามาจาก OPD ก็มีแต่บาร์โค้ดก็มาตรฐานที่หนึ่ง ถ้ามาจากวอร์ดมีชื่อสกุลด้วยก็เป็นมาตรฐานที่สอง
   คุณเพ็ญแข (หน่วยรับสิ่งส่งตรวจจากหอผู้ป่วย)เล่าจาก tacit knowledge ของตัวเองว่า บาร์โค้ดที่พิมพ์ชื่อออกมาด้วยในแผ่นเดียวกันสามารถตรวจสอบความถูกต้องเพียงชั้นเดียว แต่ถ้าเป็นบาร์โค้ดส่วนหนึ่ง กับชื่อสกุลอีกส่วนหนึ่งแยกออกจากกัน อันนี้เท่ากับเป็นการ double check ได้ในตัว เพราะถ้าชื่อไม่ตรงกับบาร์โค้ดละก้อ...ส่งคืนได้ทันที....
เห็นด้วยอีกแล้วค่ะ....เราใช้เวลาคุยประเด็นนี้เกือบครึ่งชั่วโมง หลังจากที่พี่เม่ยนั่งฟังแบบ deep listening มานานจึงพยายามสรุปประเด็นปัญหาและแนวคิด ที่ยังไม่ต้องให้จบในวงเสวนาวันนี้ และวางแผนในใจต่อไปว่า จะส่งมอบประเด็นที่หามาได้ในครั้งนี้ให้กับท่าน CKOเพื่อแจกจ่ายเจ้าภาพต่อไป (คิดๆไปแล้ว เจ้าภาพน่าจะหนีไม่พ้น วง PCTสิ่งส่งตรวจ, ฝ่ายไอทีของคณะแพทย์, และกรรมการไอโซวิชาการ...)
หมายเลขบันทึก: 25021เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
 ห้องเคมีก็พูดถึงประเด็นนี้บ่อยครับ เพราะบางที patch รับ barcode แล้วปรากฎว่าไม่มีข้อมูล ห้องเคมีส่งคืน OPD LAB ทันที แต่สักพัก barcode นั้นกลับมาอีกแต่ครั้งนี้มีข้อมูล ไม่รู้เขาทำยังงัย ไม่ทราบจริงๆครับ แล้วเขารู้ได้อย่างว่าเป็นของใคร (แค่สงสัย ) ครับ 

เรากำลังทำให้เหมือนกันหมด ทั้งที่ ward และ ที่ OPD คงไม่ให้มี 2 มาตรฐาน อันนี้ ผอ.รพ.เห็นด้วย และให้ถือเป็นมาตรฐานหนึ่งในเรื่อง patient identification สำหรับการส่ง specimen

เรื่อง patient identification สำหรับการส่ง specimen ในรพ.เดียวกันควรจะมีแนวปฎิบัติเหมือนกัน และควรเป็นแนวทางที่สามารถป้องกันความผิดพลาดได้100%
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท