puppoo
เนาวรัตน์ เนาวรัตน์ บุญเกิน

กิจกรรมกลุ่มบำบัด


กิจกรรมกลุ่มบำบัด

กิจกรรมกลุ่มบำบัด(Activity Groups) คือการบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางจิต โดยการจัดกิจกรรมในหลายๆรูปแบบ

เป้าหมายในการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัด คือ กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการติดต่อสื่อสาร เสริมสร้างทักษะใหม่ๆ การเพิ่มการเอาใจใส่ให้กล้าแสดงออก ให้มีการร่วมมือกัน แข่งขัน แบ่งปัน จำนวนผู้ป่วยหรือสมาชิก 7-8 คน ระยะเวลาในการทำกลุ่ม 45นาที- 1 ชั่วโมง และต้องมีการตั้งกติกาของกลุ่ม

ซึ่งการทำกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วย

-ผู้นำกล่ม มีหน้าที่

วางแผนการจัดกลุ่ม

ติดต่อประสานงาน

ร่วมคัดเลือก/ประเมินสมาชิกเข้ากลุ่ม

ดำเนินกลุ่ม

ประเมินผลกลุ่มและเสนอแนะ

-ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม มีหน้าที่

ช่วยเหลือผู้นำกลุ่มตามที่ผู้นำกลุ่มคกลงให้ช่วยเหลือโดยการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน

-ผู้สังเกตการณ์ มีหน้าที่

สังเกตการดำเนินกลุ่ม

บันทึกการดำเนินกลุ่ม

ประเมินผลและเสนอแนะ

คำสำคัญ (Tags): #นักศึกษา
หมายเลขบันทึก: 248899เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบใจสำหรับความรู้เรื่องการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดนะเพระเราก็กำลังจะทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดเหมือนกันวันนี้เรานำข้อตกลงในการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดมากเพิ่มเติมด้วย แต่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับกิจกรรมด้วยนะ

ข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด

1.ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนเข้ากลุ่ม

2.ให้ยกมือก่อนพูดทุกครั้ง

3.ไม่พูดแซงกัน

4.ถ้าญาติมาให้ญาติรอก่อน ถ้าแพทย์มาให้ไปพบได้

5.ห้ามออกจากกลุ่มก่อนได้รับการอนุญาต

6.ห้ามนำอุปกรณ์ในการทำกลุ่มออกนอกกลุ่ม

7.ไม่พูดจาหยาบคายหรือไม่สุภาพใดๆ ในขณะทำกิจกรรมกลุ่ม

8.ให้เกียรติสมาชิกทุกคนในกลุ่มและปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด

9.ห้ามรับประทานอาหารก่อนจะปิดกลุ่ม

10.เก็บเรื่องที่คุยกันในกลุ่มเป็นความลับ ไม่เอาไปพูดเล่น หรือล้อเลียนนอกกลุ่ม

11.เก็บโต๊ะเก้าอี้ให้เรียบร้อยหลังทำกิจกรรมกลุ่ม

ข้อ 11 เนี่ยมาจากไหนหนอ ???

การทำกิจกรรมกลุ่มทำให้เรารู้อะนำตัวผู้ป่วยหลายๆด้านความคิดเราจะรู้ว่าตอนนี้เขาคิดอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไร ในบางเราอาจไม่รู้เราก็ได้ การจัดกิจกรรมกลุ่มทำให้ผู้เข้าร่วมทำรู้สึกผ่อนคลายได้ จากที่ทำกลุ่มผ่านไปแล้วรุ้สึกว่าเราก็สามารถมีความสุขได้ถึงแม้เวลาจะไม่นานเท่าไร

การทำกิจกรรมกลุ่มทำให้เรารู้อะไรในตัวผู้ป่วยหลายๆด้านความคิดเราจะรู้ว่าตอนนี้เขาคิดอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไร ในบางเราอาจไม่รู้เราก็ได้ การจัดกิจกรรมกลุ่มทำให้ผู้เข้าร่วมทำรู้สึกผ่อนคลายได้ จากที่ทำกลุ่มผ่านไปแล้วรุ้สึกว่าเราก็สามารถมีความสุขได้ถึงแม้เวลาจะไม่นานเท่าไร บางกิจกรรมอาจจะรู้ตัวตนนิสัยของเขาได้

ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท

-เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความคิดหลงผิด

วัตถุประสงค์

-เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหลงผิด

เกณฑ์การประเมิน

- ผู้ป่วยยอมติดต่อสื่อสารกับพยาบาล เจ้าหน้าที่ หรือคนอื่น ๆ ในตึกได้

กิจกรรมการพยาบาล

1.ใช้สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดโดยการทักทาย อยู่เป็นเพื่อน ชวนคุย ให้ข้อมูลที่เป็นจริง รักษาคำพูด และยอมรับโดยไม่ตำหนิในพฤติกรรมแยกตัวของผู้ป่วย การที่จะเข้าถึงผู้ป่วยนั้นต้องไม่เร่งรัด ต้องระลึกไว้เสมอว่าผู้ป่วยจะตกใจเมื่อเผชิญหน้ากับบุคคลอื่นโดยที่ผู้ป่วยไม่พร้อม ดังนั้นจึงไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยมากเกินไป ต้องรักษาระยะห่างให้พอเหมาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ

2.กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ตรวจสอบพฤติกรรมตนเองร่วมกับให้ข้อมูลย้อนกลับของตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักและเข้าใจตนเอง

3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยการจัดให้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะการสร้างสัมพันธภาพอย่างเหมาะ

4.ให้ positive reinforcement เช่น การสนับสนุน ชมเชย เมื่อผู้ป่วยสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เป็นการสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม

5.จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารที่ประสิทธิภาพ

โรคไบโพลาร์ (Bipolar)

เป็น 3 ประเภท

1.โรคอารมณ์คลุ่มครั่งสลับเศร้าประเภท 1 (Bipolar 1 Disorder)อารมณ์แบบผสมและเคยมีอารมณ์เศร้ามาก่อน

2.โรคอารมณ์คลุ่มครั่งสลับเศร้าประเภท 2 (Bipolar 2 Disorder) ไม่เคยมีอารมณ์เศร้ามา

3.โรคอารมณ์ไซโคลไธมิค(Cyclothymic Disorder)มีอาการเรื้อรังเป็นมา ไม่น้อยกว่า2 ปี

สาเหตุ

1.การทำงานผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกิดไปและสารนอร์เอปิเนฟริน ( epinephrine) มากเกินไป

2.กรรมพันธุ์ เช่น พ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ โอกาสที่ลูกจะเป็นมี 26%

3.ความเครียด

4.บุคคลิกภาพ เช่น ขี้กังวล ชอบคิดแง่ลบ ขาดความภูมิใจในตนเอง ชอบอยู่คนเดียว เป็นต้น

5.การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอร์รวมทั้งเครื่องดื่มที่ประเภทคาเฟอีน

อาการ

โรคนี้จะมีอาการซึมเศร้า สลับกับความครื้นเครง อยู่ประมาณ 1-2 เดือน คนไข้จะหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย ส่วนช่วงที่ครื้นเครง จะสนุกสนาน รีบเร่ง ไม่อยากหลับไม่อยากนอน อยากไปเที่ยว ชอบความเสี่ยง ถ้ามีใครมาหลอกก็จะเชื่ออย่างง่ายดาย แต่ถ้าขัดใจจะโมโหและโกรธ

โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ คือหายกลับเป็นคนเดิมได้ แต่ไม่หายขาด วันดีคืนดีผู้ป่วยจะกลับมามีอาการอีก ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมาหลายครั้ง เป็นค่อนข้างถี่ หรือเป็นแต่ละครั้งรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต่อไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาใหม่

การรักษา

1.ยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)

2.การรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)ในกรณ๊ที่ผู้ป่วยเศร้ามาก พยายามฆ่าตัวตาย ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล

3.การรักษาด้วยจิตบำบัด แบบทั้งรายบุคคล รายกลุ่มเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหา ส่งเสริมการปรับตัวที่ถูกต้อง

6.การจักสิ่งแว้ดล้อมเพื่อการบำบัด

7.การใช้สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

ข้อวินิจฉัยการพยาบาล

1.ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วย

2.บกพร่องสัมพันธภาพกับผู้อื่นเนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว

3.เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความแปรปรวนด้านอารมณ์

การเข้ากลุ่มบำบัดบางเราก็ได้เห็นพฤติกรรมของสมาชิกหลายๆ คนที่เราไม่เคยเห็น เหมือนเค้าได้ผ่อนคลาย เเละบางทีก็อยากระบายในสิ่งที่เค้าคิด

อ๋อ   เข้าจัยแล้ว

ต้องการทำกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเภท

อยากทำเกี่ยวกับการใช้สี

ไม่ทราบว่ามีข้อเสนอแนะไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดอะไรดี

ลูกชายผมอายุ 19 ปี มีอารมณ์รุนแรงก้าวร้าว ปัจจุบันถึงขั้นทำร้ายแฟน. ขอคำแนะนำด้วยครับ. การทำบำบัดกลุ่มจะใช้ได้กับลูกผมไหมครับ. กลุ้ม และ เป็นห่วงลูกมากเลยครับ ช่วยผมด้วยนะครับ

ขอบพระคุณครับ

อภิชาติ

ผมฝากเบอร์ติดต่อกับ อีเมล์ไว้ด้วยนะครับ. [email protected]. 085-917-3959

ขอบพระคุณครับ

อภิชาติ

ได้รับเคสผู้ป่วย F20.0 ไม่รู้จะเขียนข้อวินิจฉัยยังไงค่ะ เพราะอาการผู้ป่วยดีขึ้น ไม่มีอาการหลงผิด หูแว่ว แล้ว ตอนนี้ผู้ป่วยแยกตัว ชอบอยู่คนเดียว แต่พอไปคุยด้วยผู้ป่วยคุยได้เหมือนปกติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท