สร้างศักยภาพวิจัยหัตถเวชกรรม


การพัฒนาความรู้สึกรักวิถีแห่งปัญญา รักการเรียนรู้จากสิ่งที่ตนเองปฏิบัติ และเห็นโอกาสในการสร้างภูมิปัญญาที่บูรณาการอยู่กับการปฏิบัติ เป็นพลังการงอกงามที่สำคัญที่สุด เมื่อสิ่งเหล่านี้ผุดบังเกดขึ้นแล้ว กระบวนการเชิงเทคนิคที่ทุกคนเห็นว่ายาก ก็เป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับการขวายขวายเรียนรู้ในลำดับต่อไป

           วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินทร  จังหวัดพิษณุโลก   ร่วมกับทีมอาจารย์สหสาขา จากมหาวิทยาลัยมหิดล   คือ จากสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  และคณะเทคนิคการแพทย์  ร่วมกันดำเนินโครงการ พัฒนาความรู้ความสามารถในการทำวิจัยทางหัตถเวชกรรม แก่อาจารย์ของเครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณสุขและแพทย์แผนไทย  โดยการสนับสนุนของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุข  ดร.วิบูลย์  นุชประมูล เป็นผู้ประสานงาน  จุดหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาทางหัตถเวชกรรม ทั้งทางด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้  การพัฒนาการเรียนการสอน  การถ่ายทอด  การพัฒนากระบวนการสร้างคน เพื่อให้งานหัตถเวชกรรมมีการพัฒนาที่เข้มแข็งและยั่งยืนมากยิ่งๆขึ้น

     การดำเนินงานที่สำคัญ  ประกอบด้วย

  • อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่  1  พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย  5  วัน
  • กลับเข้าสู่วิถีชีวิตและการทำงานตามปรกติ  เป็นเวลา  2  เดือน เพื่อเก็บข้อมูลและพัฒนาโครงการของตนต่อไป       
  • อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่  2  ถอดบทเรียน  เพิ่มพูนประสบการณ์และพัมนาโครงการวิจัย
  • กลับสู่การปฏิบัติการ 1  เดือน โดยมีเครือข่ายการช่วยนิเทศสนาม อีก 1 เดือน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่  3
  • กลับสู่การปฏิบัติการ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล  อีก   2  เดือน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่  4 ทดลองนำเสนอผลการวิจัย
          โครงการนี้ เน้นสาระของการสร้างความรู้และความจำเป็นของการบ่มเพาะทางภูมิปัญญาที่อยู่ใมนการปฏิบัติ โดยมีการวิจัยมิใช่จุดหมายสุดท้ายที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ แต่เป็นตัวเลือกเพื่อเข้าถึงความจำเป็นที่ต้องการดังกล่าว  ทีมวิทยากรกระบวนการ  ได้เน้นการจัดกระบวนการ  ให้ผู้เข้าอบรมพัฒนาความสนใจต่างๆตามความพร้อมของตน..." เป็นเวทีที่แสวงหามานานนะคะ  เพราะในการประชุมงานวิจัยแต่ละครั้ง  มันมีความรู้สึกว่า เหมือนเข้าไปในวงการชั้นสูง ซึ่งเรารับไม่ค่อยได้นะคะ....การอบรมครั้งนี้  ทำให้อยากทำในทุกๆอย่างเลยค่ะ  ก็คือทุกๆอย่างมันอยู๔ต่อหน้าเราหมดเลยคะ  เพียงแต่ว่าเราหยิบ เราจับมันมาไม่ถูกเท่านั้นเอง...คิดว่างานวิจัยเป็นวิถีชีวิตนะคะ...งานวิจัยต้องมีคาดู  มีหูไว้ฟัง  มีสมองไว้คิด  มีจิตไว้จดจ่อ...ทำให้รู้ว่า งานวิจัยต้องเป็นคนช่างสังเกต....." เป็นเสียงสะท้อนจากผู้เข้าอบรม เมื่อการอบรมครั้งที่ 1 ผ่านไป
           ผลของการอบรมครั้งที่ 1 นี้  ทำให้ทุกคนพัฒนาโครงการ  เค้าโครงของโครงการ  และข้อเสนอเพื่อพัฒนาโครงการ  ได้ทั้งหมด  11   โครงการ   ครอบคลุมประเด็นการวิจัยหลายด้าน    ทั้งทางด้านคลินิค  ทางระบาดวิทยา  การวิจัยเชิงพื้นที่และการวิจัยชุมชน
           การพัฒนาความรู้สึกรักวิถีแห่งปัญญา  รักการเรียนรู้จากสิ่งที่ตนเองปฏิบัติ และเห็นโอกาสในการสร้างภูมิปัญญาที่บูรณาการอยู่กับการปฏิบัติ  เป็นพลังการงอกงามที่สำคัญที่สุด  เมื่อสิ่งเหล่านี้ผุดบังเกดขึ้นแล้ว  กระบวนการเชิงเทคนิคที่ทุกคนเห็นว่ายาก  ก็เป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับการขวายขวายเรียนรู้ในลำดับต่อไป.

 

หมายเลขบันทึก: 24888เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท