การฝึกงานวันที่ 21 เมษายน 2549


 

  • อบรม php กับ My SQL (ต่อจากเมื่อวาน)
  • เพิ่ม user และ password (ที่ไม่ใช่ root) ให้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลได้ 

เพิ่มเติม ความรู้ที่ได้จากการอบรม

  • คำสั่ง PHP
    • tag เปิด-ปิดของ php
      -> <? เนื้อหา-ข้อมูลที่ต้องการใส่ ?>
    • คำสั่งที่ใช้ในการแสดงผล
      -> echo "คำที่ต้องการแสดง";
      เช่น echo "Hello, world";
      ผลที่ออกมา จะเป็นคำว่า Hello, world
    • การเชื่อมคำด้วย dot -> .
      -> echo "Hello" . "555";
      ผลลัพธ์จะเป็น Hello555
    • การเว้นวรรค ให้ใส่ในเครื่องหมายคำพูดแล้วเชื่อมด้วย dot
      -> echo "Hello" . "     " . "Dylan";
      ผลลัพธ์จะเป็น Hello    Dylan
    • การใช้ตัวแปรรับค่า ใน php ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปร เพราะ php จะกำหนดชนิดให้กับตัวแปรเอง ตามค่าที่ได้รับเข้ามา เช่น
      -> $name = "Lilly";
      -> $LName = "Opoko";
      ผลคือ คำว่า Lilly จะถูกเก็บอยู่ในตัวแปร $name และ Opoko จะถูกเก็บอยู่ในตัวแปร LName
      เมื่อเราสั่งให้แสดงผล สามารถเรียกตัวแปรได้เลย เช่น
      -> echo $name . "   " . $LName;
      ผลคือ Lilly  Opoko
      สังเกต  ตัวแปรใน php จะขึ้นต้นด้วย $ เสมอ
    • การใช้ tag php และ tag html ด้วยกัน
      เช่น 
      1      <? echo "Hello";
      2           echo "<br>";
      3           echo "World";
      4       ?>
      5       <br>
      6       <br>
      7       <?
      8            echo "Computer" .  "Internet";
      9        ?>ผลที่ได้คือ  Hello
                                   World

                                   ComputerInternet
      โดย tag php ในตอนแรก จะอยู่ในบรรทัดที่ 1 -4 แล้วจะแทรกด้วย tag html บรรทัดที่ 5-6 แล้วเริ่ม tag php ในบรรทัดที่ 7-9 จะเห็นว่า คำสั่ง br นั้นสามารถอยู่ได้ทั้งใน tag html และ tag php แต่ถ้าอยู่ใน tag php จะต้องอยู่ใน echo คือต้องอยู่ในลักษณะนี้ echo "<br>";
  • คำสั่ง My SQL
    • คำสั่งเกี่ยวกับการสร้าง table
      -> create table table_name (ID char(4), name char(10), LName char(20));
      เช่น create table data (ID char(4), name char(10), LName char(20));
      -> เป็นคำสั่งให้สร้างตาราง ที่มีชื่อว่า data และมี field ID, name, LName มีชนิดเป็นประเภท character และกำหนดขนาดในวงเล็บ
    • คำสั่งเกี่ยวกับการใส่ข้อมูลลงใน table ที่สร้างไว้
      -> insert into table_name (ID, name, LName) values ('ค่า ID', 'ชื่อ', 'นามสกุล');
      เช่น insert into data (ID, name, LName) values ('01', 'Ton', 'Opoko');
      -> เป็นการใส่ข้อมูลลงในตารางที่มีชื่อว่า data และใส่ข้อมูลลงใน field ID, name, LName โดย ใส่ 01 ลงใน ID, Ton -> name, Opoko -> LName
    • ทำการมอบสิทธิ์ในการใช้งาน table ที่สร้างไว้
      -> grant all on database_name.* to user_name@localhost identified by 'passwd';
    • คำสั่งสำหรับการดูข้อมูลในตาราง
      -> select * from table_name;
      เช่น select * from data;
      -> ก็จะหมายถึง การเลือกข้อมูลทั้งตารางจากตาราง data มาแสดง
    • ถ้าหากมี database หลายตัว ให้ทำการเลือก database ตัวที่ต้องการใช้ create table โดยใช้คำสั่ง
      -> use database_name;
      เช่น use eoffice1;
      -> หมายความว่าให้เลือกใช้ database ที่ชื่อว่า eoffice1
    • การใช้ public_html จะเรียกใช้ได้สะดวก และง่ายกว่า Alias คือ public_html ไม่จำเป็นต้องทำ tag ทุก ๆ alias ให้กับทุก user  ทำเพียงแค่ครั้งเดียวสามารถเรียกใช้ได้หมดทุกคน เพียงแต่เปลี่ยน username เท่านั้น ถ้าหากเป็นการ ใช้ alias จะต้องทำ tag ชื่อของ user ใหม่ทุกครั้งที่เพิ่ม และต้องไปหาในไฟล์ httpd.conf ทำให้เสียเวลากว่า
    • ได้สร้าง public_html ใน home->office1 ใช้ vi(text editor) ใน Terminal ใส่ code php แล้วเซฟใน public_html ในการใช้งาน เมื่อเข้า vi แล้ว ให้ กด i เพื่อ insert ข้อมูล (พิมพ์ข้อมูล) เสร็จแล้วให้กด Esc เพื่อออกจากหมวด insert หลังจากนั้นกด :wq! เพื่อออกจากโปรแกรม vi โดย  w = write , q = quit , ! = ไม่ต้องถามอีก
    • สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ การใช้งาน public_html โดยคุณ
      I3a~J@nk ได้ที่นี่ http://gotoknow.org/archive/2006/04/21/15/57/08/e24847

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24869เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท