วางแผน...ระดมสมองในการเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฯ


เพื่อให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการ สร้างความเข้าใจและไปขับเคลื่อน KM ประเทศไทย

           

        จากการวางแผนงานเพื่อให้เกิด workshop ครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งทางทีม สคส. และทีมงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ได้ร่วมกันวางแผนงานในวันที่ 21 เมษายน 2549 ช่วงเวลาบ่าย 2 ทาง นำทีมโดย ดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ และคุณอุษา ชูชาติ ได้เข้าพบทีมสคส.  และได้อภิปรายและระดมความคิด  ซึ่งทีม อ. เลขาเองก็ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาคือ

  • การเชื่อมโยงคุณกิจ
  • การขับเคลื่อน KM ในกลุ่ม

    กลุ่มที่เข้าร่วม workshop  ของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ คือ กลุ่มของเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มผอ.โรงเรียน กลุ่มครู
    และในการฝึกอบรม workshop โครงการวิจัยและพัฒนาฯ ครั้งที่ 1 นี้ทางทีม สคส. จะดำเนินกระบวนการให้ก่อนในครั้งแรก เพื่อให้ทีมนักวิจัยของโครงการฯ เข้าใจในกระบวนการและสำหรับการอบรมในรุ่นต่อไป  ซึ่งทีมนักวิจัยต้องเข้าร่วมเรียนรู้การเป็นวิทยากรและหมุนเวียนเป็นวิทยากรในครั้งต่อๆ ไป


และขณะนี้ กำหนดการก็รูปเป็นร่างแล้ว......
โดยใช้ชื่อว่า “ การประชุมปฏิบัติการ  ทีมแกนนำนักจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ” ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้  จะจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่  1-3   มิถุนายน   2549   ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์  จังหวัดกรุงเทพฯ  ซึ่งครั้งนี้  จ๊ะจ๋า  ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสคส. รู้สึกประทับใจในการเตรียมงานของ ทีม อ. เลขา เป็นอย่างมาก ซึ่งเราได้เห็นรายชื่อผู้เข้าร่วมก่อนวันงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก และพบว่า ผู้เข้าร่วมงานเป็นกลุ่มคนที่ตรงเป้าหมายคือมีทั้ง CKO และ FA ถือว่าเป็นการเข้าร่วมประชุมที่มีทั้งกลุ่มนโยบายและผู้ปฏิบัติ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน KM ในภาคการศึกษา ขอตบมือเลยคะ.......โดนใจอย่างแรง และ.....ตรงจุดมากที่เดียว......  นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าชื่นชมคือ ทางทีมงานของ อ. เลขาได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรแกนนำนักจัดการความรู้ ของโครงการนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและดีมากเช่นกัน ...น่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ดิฉันเลยขอนำมาเผยแพร่แก่ผู้สนใจนะคะ
1.       สร้างความเข้าใจและแรงจูงใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ให้กับระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการในองค์กร
2.       จัดให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้นำความรู้และประสบการณ์ของตนเข้ามาช่วยกันคิดพัฒนางาน
3.       ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ให้เกียรติกัน รับฟังกัน ทำให้ขั้นตอนของ  กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดำเนินไปด้วยดี
4.       ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้น จับประเด็น หรือเชื่อมโยงประเด็น และสรุปประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5.       ประยุกต์ใช้และเผยแพร่เทคนิค  เครื่องมือ เพื่อจะให้การจัดการความรู้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเล่าเรื่องความสำเร็จ  การสนทนา การทำแผนที่ความคิด หรือเทคนิคก้างปลา  หรือเครื่องมืออื่นๆ
6.       ส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และเผยแพร่เทคนิค ความรู้การทำงานผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร เช่น webboard, blog, internet เป็นต้น
7.       วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ก่อน และหลังการใช้ KM
8.       การติดตาม และประเมินผลจากการนำ KM ไปปรับใช้ในองค์กร
9.       ผลักดันให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้สนใจ ใฝ่รู้ ต้องการนำกระบวนการจัดการความรู้ไปพัฒนางานของตน (ชุมชนนักปฏิบัติ: CoP)
10.    ประสานและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการให้ยกย่อง ชมเชย หรือให้รางวัล เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เป็นไงคะ น่าสนใจมากที่เดียว....................

สามารถอ่านบทความเดิมได้ โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้
 

หมายเลขบันทึก: 24843เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท