การบริหารงานห้องสมุด PDCA


PDCA

การบริหารงานห้องสมุดโดยใช้  PDCA

 

 

การบริหารงานห้องสมุดตามแนวความคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA)  ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

                ขั้นที่  1  การร่วมกันวางแผน (Planning)

                ขั้นที่  2  การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)

                ขั้นที่  3  การร่วมกันตรวจสอบ(Checking)

                ขั้นที่  4  การร่วมกันปรับปรุง (Action)

ขั้นตอนที่  1  การวางแผนงานห้องสมุด  (Planning)

                1.1  การเตรียมความพร้อมของบุคลากร

                                -  สร้างความตระหนัก

                                -  สร้างเสริมความรู้

1.2  การศึกษาข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลงานห้องสมุดปัจจุบัน

                1.3  การกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการเนินงานห้องสมุด

          1.4  กำหนดแผนงานห้องสมุดให้สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา  และ

                     งบประมาณ

1.5  การกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมห้องสมุดร่วมกับครูบรรณารักษ์

ขั้นตอนที่  2  การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)

                2.1 จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ห้องสมุด

2.2  จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน

2.3   การดำเนินงานตามกิจกรรม

-  เลือกและจัดหาหนังสือ วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์เข้าห้องสมุด

-  เลือกและจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่เป็นเป็นอุปกรณ์ทางการศึกษา

-  จัดสัปดาห์แนะนำหนังสือใหม่และเพื่อเผยแพร่กิจกรรมห้องสมุด

- งานด้านเทคนิคต่าง ๆ เช่น จัดหมวดหมู่หนังสือ จัดหนังสือเข้าชั้น

-  ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหนังสือ

-  บริการหนังสือเพื่อการศึกษาค้นคว้าและข่าวสารที่ทันสมัย

- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

-  ประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดโดยหอกระจายเสียงของโรงเรียนและแผ่นพับ

-  บริการความรู้แก่ชุมชน

 

ขั้นตอนที่  3  การร่วมกันตรวจสอบ(Checking)

3.1  การสังเกต  สังเกตจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือผู้เรียนในเวลาเรียนและเวลาร่วมกิจกรรมห้องสมุด

       โดยบันทึกหลังการสอนและบันทึกการเข้าใช้กิจกรรมห้องสมุด

3.2  จัดทำแบบสอบถาม  เพื่อสอบถามความสนใจและความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับกิจกรรม  โดยให้

        ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ตอบข้อความในแบบสอบถามที่กำหนดให้  แบบสอบถามมี  2  ชนิด  คือ

                -  แบบสอบถามปลายปิด  เป็นแบบที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบตามตัวเลือกที่กำหนดให้

                -  แบบสอบถามปลายปิด  เป็นแบบที่ตั้งคำถามให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการตอบเอง

          ในการใช้แบบสอบถามควรมีการอธิบายถึงเนื้อหาในแบบสอบถามอย่างคร่าวๆ และมีเจ้าหน้าที่หรือหากล่องรับคืนแบบสอบถาม

3.3  การเก็บสถิติ  จัดเตรียมแบบบันทึกสถิติผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ต้องการจัดเก็บข้อมูล

การเก็บสถิติ  สถิติที่ห้องสมุดควรเก็บมีดังนี้

                -  สถิติการใช้ห้องสมุด

                -  สถิติหนังสือที่มีผู้มายืม

-  สถิติค่าปรับหนังสือที่ยืมเกินกำหนด

3.4  การทำแบบทดสอบ  ใช้สำหรับทดสอบผู้เรียนในรายวิชาเกี่ยวกับห้องสมุดถึงพัฒนาการและ .

       ความรู้ที่นักเรียนได้จากการเรียนวิชาห้องสมุด

3.5  การายงานการปฏิบัติงานห้องสมุด

                - สรุปรายงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น  กิจกรรมวันสุนทรภู่  กิจกรรมวันภาษาไทย  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ

          -  รายงานโครงการส่งเสริมการใช้ห้องสมุดประจำปี ประกอบด้วย  รูปแบบการเขียนโครงการ  ภาพถ่าย  เอกสารการดำเนินงานกิจกรรมห้องสมุดในรอบปี 

3.6  จัดสัปดาห์งานห้องสมุดหรือนิทรรศการของห้องสมุด  เพื่อรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุด

               

ขั้นตอนที่  4  การร่วมกันปรับปรุง (Action)

4.1  นำผลจากการประเมินมาวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของการดำเนินงานห้องสมุด

4.2  ผู้รับผิดชอบปรับปรุงกิจกรรมให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4.3 ดำเนินการวางแผนงานห้องสมุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานครั้งต่อไป

4.4  ปรับเพิ่มหรือลดงบประมาณการดำเนินงาน

4.5  ส่งบุคลากรเข้าอบรม  สัมมนา  ประชุม ศึกษาดูงานเกี่ยวกับงานห้องสมุด 

 

 

                          

 

 

คำสำคัญ (Tags): #pdca
หมายเลขบันทึก: 248364เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จัดบริหารจัดการแบบบูรณาการ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ

สุดยอดครับ สู้ต่อไป

ในห้องสมุดพี่มีหนอนเยอะไหมงะ..เค้ากลัว

เป็นการวางแผนที่ดีมากน่าชื่นชม

แต่อย่างลืม เปลี่ยนแบบสอบถามนะ คำว่าเปิดไง

เก่งจังเลย ขอบคุณสำหลับข้อมูลที่ได้เรียนรู้

อืม ต้องหน้าฝนสิจ๊ะ น้ำกำลังขึ้น สวยค่ะ หน้าหนาว ก็น่าสนค่ะ ว่างๆมาหาข้อมูลเพิ่มได้ค่ะ ยินดีมากมาย

สวัสดีคุณ บักเขียบ PDCA กระบวนการคุณภาพ ของ เดมมิ่ง ควรทำทุกกิจกรรมนะคะ แต่อย่าลืมนะคะ ควรที่จะดูสิ่งที่ครับปรับปรุงนะคะหลังจากจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท