3 ปัจจัยที่องค์กรเพื่อท้องถิ่น หนองสรวง มีไม่ครบ


ข้อสังเกต

3 องค์ประกอบนี้ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญขององค์กรไม่แสวงผลกำไร

1. พันธกิจที่แน่นอนเด่นชัดว่า จะสร้างคุณค่าให้กับสังคมอย่างไร
2.มีการสนับสนุนที่ดีด้านเงิน และนโยบาย
3. มีความรู้ความสามารถที่จะทำให้เกิดได้

สรุปคือ มีวิสัยทัศน์ชัดเจน ได้รับการสนับสนุน และมีคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือกัน

แต่สำหรับองค์กรเพื่อสังคม ที่รวมตัวกันในนามชมรมอาสาพัฒนาตำบลหนองสรวง อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ที่ได้ริเริ่มดำเนินงานกันมาตั้งแต่ปี 2542 โดยกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในตำบล ร่วมมือกันทำโครงการสำนึกรักบ้านเกิด ทั้งโครงการบริจาค การช่วยเหลือชุมชนเท่าที่จะสามารถทำได้ จนก้าวหน้ามาถึงขั้น การสร้างเวบไซต์ขององค์กร ในปี พ.ศ.2543 และ พ.ศ. 2548 ซึ่งเวบไซต์ของกลุ่ม อยู่ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น

เมื่อดูทั้ง 3 องค์ประกอบข้างต้น กลุ่มนี้ขนาดเพียงข้อ 2 เท่านั้น

ทำให้คุณอำนาจ แสงสุข แกนนำของกลุ่ม ต้องทุ่มทุนทรัพย์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากภาระความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้าครอบครัว  ทำให้การทำงานเพื่อสังคม สามารถดำเนินการได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น


เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ทำไมภายในระยะเวลาผ่านมาหลายปี องค์กรนี้ถึงเติบโตได้ไม่เทียบเท่าองค์กรอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 24790เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณเพื่อน " บอน " นะ ที่ให้ข้อสังเกต ในการนำเสนอปัจจัยที่ไม่อาจทำให้เกิดขึ้น ใน 3 ส่วน

1. การสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชน อันเกิดจากความมีน้ำใจ ความเอ้ออาทร ต่อกัน มีความรักหวงแหนต่อสิ่งที่เรามีและเป็นอยู่  อันเกิดจาก เข้าใจ  เข้าถึง  และเกิดการพัฒนาแบบองค์รวม นั่นหมายถึง" การมีส่วนร่วม  อันได้แก่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำ ร่วมวางแผนและปฏิบัติ แต่หากเข้าใจในหลักการและแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นแล้วจะไม่ยากเลยที่จะเกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องการพัฒนาที่ไม่ต่อเนื่องเกิดจาก ความไม่เข้าใจถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของชุมชน......... เดี่ยวกลับมาเขียนต่อ

2. รัฐควรใส่ใจและจริงใจที่จะร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับชุมชนและท้องถิ่น

3.การมีความรู้เฉพาะด้านที่สามารถเชื่อมโยงกันกับชุมชนได้เป็นเรื่องที่ดีมาก ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ กรณ๊ที่เกิดขึ้น ภาคใต้ คือเหตุการณ์กรณีตัวอย่าง

          .......  การสนับสนุนจึงไม่ควร เป็นการเอาใจมากเกิน ควรจริงใจ ร่วมคิด  ร่วมสนับสนุน ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนางาน นั่นแหละคือการเชื่อมโยงที่แท้จริง  เข้าใจ  เข้าถึง  และร่วมพัฒนา ทุก ๆ ด้าน........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท