ครูภูมิปัญญาไทยตัวอย่าง


ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาไทย

ครูภูมิปัญญาไทย 

รวบรวมโดย...  ณัฐวุฒิ  ศิลาโชติ

ความหมายและขอบข่ายภูมิปัญญาไทย

                ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  องค์ความรู้  ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผานกระบวนการเรียนรู้  เลือกสรร  ปรุงแต่ง  พัฒนาและถ่ายทอด  สืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย

                ภูมิปัญญาไทย  มีลักษณะเป็นองค์รวม  และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม  เกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย  ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา  การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย  ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน เช่น

1.       ด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้  ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี  โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม  ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเอง  ในสภาวการณ์ต่างๆ  ได้  เช่น  การทำการเกษตรแบบผสมผสาน  การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด  การแก้ปัญหาด้านการผลิต  และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยี  ที่เหมาะสมกับการเกษตร  เป็นต้น

2.       ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  ได้แก่  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย  ประหยัด  และเป็นธรรม  อันเป็นขบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น  สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้  ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม  เช่น  การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา  กลุ่มโรงสี  กลุ่มหัตถกรรม  เป็นต้น

3.       ด้านการแพทย์แผนไทย  ได้แก่  ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้  เช่น  ยาจากสมุนไพรอันมีอยู่หลากหลาย  การนวดแผนโบราณ  การดูแลรักษา  และสุขภาพแบบพื้นบ้าน  เป็นต้น

4.       ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้แก่  ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งการอนุรักษ์  การพัฒนา  และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน  เช่น  การบวชป่า  การสืบชะตาแม่น้ำ  การทำแนวปะการังเทียม  การอนุรักษ์ป่าชายเลน  การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน  เป็นต้น 

5.       ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน  ได้แก่  ความสามารถในด้านการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น  การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์  รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม  และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน  และการจัดระบบสวัสดิการบริการชุมชน

6.       ด้านศิลปกรรม  ได้แก่  ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ  เช่น  จิตรกรรม ประติมากรรม  นาฏศิลป์  ดนตรี  ทัศนศิลป์  คีตศิลป์  การละเล่นพื้นบ้าน  และนันทนาการ

 

7.       ด้านภาษาและวรรณกรรม  ได้แก่  ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา  คือ ภาษาถิ่น  ภาษาไทยในภูมิภาคต่าง ๆ  รวมถึงด้านวรรณกรรมท้องถิ่นลากรจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น  การปริวรรตหนังสือโบราณ  การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่าง ๆ

8.       ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี  ได้แก่  ความสามารถประยุกต์  และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา  ปรัชญา  ความเชื่อและประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจ  สังคม  เช่น  การถ่ายทอดวรรณกรรม  คำสอน  การบวชป่า  การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว

9.       ด้านโภชนาการ  ได้แก่  ความสามารถในการเลือกสรร  ประดิษฐ์และปรุงแต่งอาหารและยาได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่างๆ  ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย  รวมถึงการขยายคุณค่าเพิ่มของทรัพยากร 

 

ครูภูมิปัญญา

                คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้จัดทำนิยามความหมายของครูภูมิปัญญาและครูภูมิปัญญาไทยไว้ดังนี้   

ครูภูมิปัญญา  หมายถึง  บุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาด้านหนึ่งด้านใด  เป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน  และได้รับการยกย่องให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542

 

ที่มา: จากหนังสือครูภูมิปัญญาไทย  รุ่นที่ 5 ภาคกลางและภาคตะวันออกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ    กระทรวงศึกษาธิการ  2549

 

นางปราณี   สวัสด์แดง

ครูภูมิปัญญาไทย

ด้านโภชนาการ (การแปรรูปข้าว)

 


 

ชีวิต  การศึกษา  การเรียนรู้  และการทำงาน

                ครูปราณี เป็นผู้มีความสนใจการทำอาหารตั้งแต่วัยเด็ก  ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรมมหาสวัสดิ์  ตั้งแต่ปี ..  2520  เพื่อดำเนินกิจการการแปรรูปอาหาร  อาทิ  กล้วยกวน  กล้วยฉาบ  ผลไม้หยี  มะม่วง  มะละกอ  ฝรั่ง  มะกอก  ไข่เค็มเสริมไอโอดีน  รวมทั้งการแปรรูปข้าว

                ครูปราณีเรียนรู้การแปรรูปอาหาร  พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ  ได้มาตรฐาน  ออกแบบและจัดทำกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์  เรียนรู้ยุทธศาสตร์การผลิตและการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง  เรียนรู้การแปรรูปข้าว  เป็นข้าวเม่า  ข้าวพอง ข้าวตัง  ริเริ่มทดลองการแปรรูปข้าวจากข้าวหอมมะลิ  ข้าวซ้อมมือ  ข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ  พัฒนาจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน

 องค์ความรู้

                ครูปราณีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการแปรรูปข้าวเป็นข้าวตัง  ข้าวเม่า  ข้าวพอง  จากข้าวหอมมะลิ 

ข้าวซ้อมมือ  ข้าวกล้อง  หน้าผักผลไม้  หน้าหมูหยอง  หน้าธัญพืช    ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูปจากสำนักส่งเสริมการเกษตร  พัฒนายุทธศาสตร์

การผลิต  การตลาด  จัดระบบบัญชีและการบริหารธุรกิจ  ส่งผลให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์  เป็นต้น 

จุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอพุทธมณฑล  เป็นแหล่งที่มีผลผลิตเด่น 

การถ่ายทอดความรู้

                ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการแปรรูปข้าว  ผ่านการจัดการศึกษาทั้ง  3  รูปแบบ  ได้แก่

                การศึกษาในระบบ              เป็นวิทยากรสาธิตการแปรรูปข้าวให้แก่ครูและนักเรียนในสถานศึกษา

                การศึกษานอกระบบ           ถ่ายทอดความรู้การแปรรูปข้าวให้แก่กลุ่มแม่บ้านและผู้สนใจ

                การศึกษาตามอัธยาศัย        ถ่ายทอดความรู้การแปรรูปข้าวให้แก่ผู้สนใจเพื่อประกอบอาชีพ  กว่า  800  คน

วิธีการถ่ายทอดความรู้

                ถ่ายทอดความรู้หลากหลายรูปแบบ  อาทิ

การเป็นวิทยากร

-   การสาธิต

-   การฝึกปฏิบัติ

-   การเผยแพร่ผ่านสิ่งพิมพ์  แผ่นพับ

การที่ครูปราณี  สวัสดิ์แดง  เป็นบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาด้านโภชนาการ (การแปรรูปข้าว) เป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน  จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ   ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่  2)  พุทธศักราช  2545

                ครูปราณี  สวัสดิ์แดง  เกิดเมื่อวันที่  20  เมษายน  2490  ที่ตำบลมหาสวัสดิ์  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  เป็นบุตรคนที่  1  ในจำนวนพี่น้อง  9  คน  ของนายเชื้อ  ปทุมแสง  และนางสวิง  ดวงสร้อยทอง  สมรสกับนายบุญส่ง  สวัสดิ์แดง  มีบุตร  4  คน ชาย 2 คน  หญิง 2  คน  ได้แก่  นางวรรณา  คำคม  นางสาวอุไร  สวัสดิ์แดง  นายวันชัย  สวัสดิ์แดง  และนายบุญเสริม  สวัสดิ์แดง 

 

การศึกษา 

                มัธยมศึกษาตอนปลาย  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนพุทธมณฑล

 

เกียรติคุณที่ได้รับ  ได้แก่

                .. 2525             รางวัลชนะเลิศการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด

                .. 2538              ผู้หญิงเก่งระดับจังหวัด  สาขาสตรีเกษตร

                .. 2542             เกษตรกรตัวอย่าง  ประเภทอาชีพการเกษตร  จังหวัดนครปฐม

                .. 2546             สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  จังหวัดนครปฐม

                .. 2547             *  หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์  ระดับ  4  ดาว

                                        *  สุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

                .. 2549             ครูภูมิปัญญาไทย  รุ่นที่  5  ด้านโภชนาการ  (การแปรรูปข้าว) 

จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 247441เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

แวะมาหาความรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาชื่นชม ครูภูมิปัญญาไทย ค่ะ ....

รู้จักคุณป้าปราณี สวัสดิ์แดง ดีค่ะ

(^___^)

เยื่ยมไปเลย

ขอชื นชมครูภูมิปัญญาไทย ถ้าจะขอความกรุณาของรายชื่อครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 4 และ รุ่นที่ 5 ด้วยนะคะ

อยากได้ข้อมูลครูภูมิปัญญา ด้านโภชนาการ 2 ท่าน รูปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

คนที่มีภูมิความรู้และประสบการณ์มากมาย

จึงสามารถเรียกท่านเหล่านี้ว่า "ครูภูมิปัญญาไทย" ได้เต็มปากอย่างแท้จริง

แวะมาชื่นชมครับ

เรียนคุณครูที่เคารพค่ะ

ขออนุญาตรบกวนคุณครู อยากรู้วิธีทำใหข้าวเปลือก ให้พอง คล้ายๆเราทำป๊อบคอนได้ไหม๊ค่ะ

กำลังหาข้อมูลค่ะพอเจอหน้าเวปฯ สนใจวิธีทำมาก กำลังแปรรูปอาหารและอื่นๆแต่ไม่มีประสบการณืด้านทำให้ข้าวพอง

และเครื่องมือใที่ทำได้ปริมาณมากและช่วยลดต้นทุน

ถ้าไม่ลำบากเกินไปรบกววนคุณครูตอบศิษญ์คนนี้ด้วยนะค่ะ

ขอแสดงความเคารพอย่างสูง

แม้ว(จ.เลย)

สวัสดีค่ะ

เเวะมาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ

ภูมิปัญญาไทย

ไม่มีวิดิโอเสียดายจังค่ะ

จะเอาไปทำแบบอย่างงานค่ะ เก่งมากๆเลยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท