เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย...จากบ้านผู้หว่าน (2)


ในการทำ AAR แต่ละครั้ง นอกจากจะมีคำถามกลางที่ใช้กันทั่วไปแล้ว (ควร) จะมีคำถามพิเศษเพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนั้นๆด้วย
            (เชื่อว่า) อีกไม่นานเนื้อหาสาระทั้งหมดของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณอำนวยที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 เมษายน  2549  ณ  บ้านผู้หว่าน  อ.สามพราน  จ.นครปฐม  ยังจะออกมาให้ชาว gotoknow ได้อ่านกันค่ะ  แต่ก่อนที่จะได้อ่านฉบับเต็ม  ผู้วิจัยขอเล่าถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ได้จากเวทีให้ฟังก่อนนะคะ  ความจริงก็มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเยอะแยะไปหมดค่ะ (รวมทั้งเกร็ดใหญ่ๆด้วยค่ะ) แต่จะขอเล่าเฉพาะที่ตัวเองจำได้ขึ้นใจนะคะ  (แบบไม่ต้องดูโพย)
            ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์  ได้บอกเกี่ยวกับเทคนิคการเล่าเรื่องไว้อย่างสั้นๆ  แต่น่าสนใจ  ที่สำคัญ  คือ  กินความทั้งหมด  ไม่ต้องอาศัยการอธิบายก็สามารถเข้าใจได้ค่ะ  ท่านอาจารย์บอกว่าเวลาเล่าเรื่องแต่ละเรื่องเล่าแค่นิดเดียว  แต่ต้องเดินเรื่องด้วยความกระชับ  โดยในการเล่าเรื่องหนึ่งๆ  ผู้เล่าควรเล่าว่า
            1.เรื่องที่เกิดขึ้นคือเรื่องอะไร
            2.เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
            3.อะไรเกิดก่อน-หลัง
            4.ใครเป็นตัวละครบ้าง
            5.มีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้น
            อีกเรื่องหนึ่ง  คือ  เรื่อง AAR ความจริงเรื่องนี้เชื่อว่าทุกคนคงรู้กันอยู่แล้ว  แต่เอามาสรุปให้ฟังอีกทีหนึ่งค่ะ  คำถามในการ AAR ครั้งนี้  คือ
            1.ท่านคาดหวังว่าจะได้อะไรบ้างจากเวทีนี้?
            2.มีอะไรบ้างที่บรรลุ  อย่างไร?
            3.มีอะไรบ้างที่ไม่บรรลุ  เพราะเหตุใด?
            4.ควรปรับปรุงตรงจุดใดบ้าง?
            5.จะกลับไปทำอะไรต่อหลังจากนี้?
            แต่ก่อนที่จะเริ่ม AAR อาจารย์ประพนธ์ได้ขอปรับเปลี่ยนคำถามนิดหน่อย  ผู้วิจัยเข้าใจว่าที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนในบางคำถามก็เพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ (หนึ่ง) ของเวทีครั้งนี้  คือ  การวางแผนเชื่อมต่อ/ขับเคลื่อน  CoKF  (Community of Knowledge Facilitator)  ดังนั้น  จึงต้องมีการตั้งคำถามเพิ่มเติมขึ้นมา  คือ
            1.จะเสนอใครเป็นประธาน CoKF  (Community of Knowledge Facilitator)?
            2.หากได้รับเลือกเป็นประธานจะทำอะไร? 
            จากการเพิ่มคำถามของอาจารย์ประพนธ์  ทำให้ผู้วิจัยได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการทำ AAR คือ  ในการทำ AAR แต่ละครั้ง  นอกจากจะมีคำถามกลางที่ใช้กันทั่วไปแล้ว  (ควร) จะมีคำถามพิเศษเพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนั้นๆด้วย
            ผู้วิจัยเข้าใจถูกหรือเปล่าค่ะ? ช่วยบอกทีค่ะ 
            อ้อ! ใครมีอะไรจะเพิ่มเติมก็บอกกันมาได้นะคะ  ถือว่าเป็นวิทยาทานให้กับผู้เริ่มเรียนรู้ใหม่ก็แล้วกันนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24728เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ในการเล่านั้น เรื่องที่เล่าต้องไม่ผ่านการตีความ  (ลปรร.กับ อาจารย์หมอวิจารณ์ช่วงเช้าที่ห้องอาหารมาครับ)
  • การดำเนินกระบวนการ  สามารถยืดหยุ่นและปรับตัวไปตามสถานการณ์...เพื่อให้บรรลุจุดหมายภายใต้เวลา / เงื่อนไข / โอกาส ฯลฯ .... ในบริบทนั้นๆ
...และก่อนดำเนินกระบวนการใดๆ ควรมีการพูดคุยเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ให้ ถ่องแท้ เสียก่อน เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมาย อยากให้ อ.อ้อม เข้าไปอ่านบันทึกของ อ.ปารมีและความเห็นของ อ.วิจารณ์ ที่นี่ ด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท