บทบาทของสื่อเทคโนโลยีกับการพัฒนาการศึกษา


บทบาทของสื่อเทคโนโลยีกับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
บทบาทของสื่อเทคโนโลยีกับการพัฒนาการศึกษา

      การจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย จะเชื่อมโยงและเข้าหากันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนผสมผสานกันและเอื้อประโยชน์ในทุกกลุ่มเป้าหมาย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)  และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)   มาใช้ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาตามระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้ดังต่อไปนี้                                                                         

1.       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)  และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) มาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้

2.       การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สำหรับการ

ค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น สื่อมวลชนทุกแขนง  เครือข่ายสารสนเทศ ทรัพยากรท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง

3.       การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความ

สะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ

4.   ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยการประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการ

พัฒนาการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเน้นการค้นคว้าและทักษะการสืบค้นสารสนเทศ ให้ผู้เรียนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่านระบบเครือข่ายได้ รวมทั้งประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา                                                                                                                                                                                           

5. การเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์                (e-Library) สำหรับผู้เรียนที่เรียนนอกระบบหรือตามอัธยาศัยนั้น จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนไปพร้อมๆ กับการทำงานตามปกติของผู้เรียนไปด้วย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับงานที่ทำเนื่องจากสามารถเรียนรู้นอกเวลาทำงานได้ ที่สำคัญทำให้ผู้เรียนมีรายได้จากการทำงานตามปกติเพื่อเลี้ยงชีพอย่างมีความสุข และก็สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจไปพร้อมกันได้

                                     

  เอกสารอ้างอิง

น้ำทิพย์ วิภาวิน.  2545. [อี-ไลเบอรี่] e-Library : ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์.  กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2548 .  การบริหารห้องสมุดยุคใหม่.  กรุงเทพฯ :  เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

หมายเลขบันทึก: 247198เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท