การฝึกงานในวันที่ 20 เมษายน 2549


การติดตั้งโปรแกรม moodle

ในวันนี้ได้มีการติดตั้งโปรแกรม moodle ลงใน LinuxTle 7.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นแบบ E-learning ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้งได้ที่

http://rd.cc.psu.ac.th/component/option,com_docman/task,doc_download/gid,14/

โดยก่อนที่จะทำการติดตั้งได้นั้นต้องทำการดาวน์โหลดโปรแกรม moodle ได้จาก

ftp://ftp.psu.ac.th/pub/moodle/moodle-1.5.3.tgz

แ ต่ปัญหาที่พบในการติดตั้ง moodle ใน LinuxTle 7.0 นั้นคือ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ จึงต้องทำการแก้ไขเสียก่อน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีแก้ไขและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวก ับการติดตั้ง moodle บน LinuxTle 7.0 ได้จาก บทความของคุณ I3a~J@nk http://gotoknow.org/archive/2006/04/18/15/44/37/e24352

*นอกจากนี้นั้นยังได้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการมอบสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ในระดั บต่างๆให้สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในฐานข้อมูลและตารางของระบบได้ต่างกัน ซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ดูแลระบบ ซึ่งตัวอย่างของคำสั่งในการมอบสิทธิ์มีดังนี้ คือ

grant all on db_name.* to user_name identified by 'passwd';

ใ นคำสั่งนี้นั่น หมายถึง การให้สิทธิ์ทุกอย่างในการเข้าถึงฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า db_name (.* หมายถึงมีสิทธิ์เข้าถึงทุกๆตารางในฐานข้อมูลนั้นๆ แต่หากต้องการระบุเพียงตารางใดตารางหนึ่งก็ให้ทำการเฉพาะเจาะจงไปที่ตารางดั งกล่าวเลย โดยใช้ db_name.ชื่อตารางนั้นๆ) กับผู้ใช้ ซึ่งในที่นี้คือ user_name โดยมีรหัสผ่านคือ passwd นั่นเอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้คนดังกล่าวมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้เพียงเท่าที่ก ำหนดไว้ให้เท่านั้น ไม่ก้าวก่ายกันกับผู้ใช้รายอื่น

*หากต้องการทำการ backup ข้อมูล ก็ให้ทำการ copy folder ที่เป็น database ที่ต้องการนั้นๆไป

*หากต้องการให้แสดงฐานข้อมูลทั้งหมดในระบบ สามารถแสดงได้โดยใช้คำสั่ง show databases

*การมอบสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยเจ้าของระบบนั้น ทำให้สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ใน server หนึ่งๆ

*ในการเพิ่ม user คนหนึ่งๆนั้นสามารถทำได้ผ่านคำสั่ง adduser แล้วตามด้วยชื่อผู้ใช้นั้นที่ต้องการเพิ่ม แล้วทำการใส่รหัสผ่านให้กับผู้ใช้คนดังกล่าว ด้วยคำสั่ง passwd แล้วตามด้วยชื่อของผู้ใช้ที่จะกำหนดรหัสผ่านนั้นให้ โดยหลังจากที่ได้ทำการเพิ่มผู้ใช้เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ผู้ดูแลระบบก็ต้องทำการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้คนดังกล่าวด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่กำหนด

*คำสั่ง chmod 777 นั้นทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้และทุกโปรแกรมสามารถ run ใน directory นี้ได้

*ตัวอย่่างคำสั่ง chmod 777 -R /home/si หมายถึง ทุกโปรแกรมสามารถเข้าไป run ภายใต้ subdirectory ของ si ได้

*ทุกครั้งที่มีการ set config นั้น ต้องทำการ  restart httpd เสมอ เพื่อให้จำค่าใหม่ที่ได้ทำการ set ไว้ได้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24671เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท