แผนพัฒนาคุณภาพกาศึกษา ปี2551


แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปี 2551

บทที่ 2   แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี 2551

 

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

 

มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก

มาตรฐานที่ 1 เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

มาตรฐานที่ 2 เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ 3 เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต

มาตรฐานที่ 4  เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 5  เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น

มาตรฐานที่ 6  เด็กมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเอง

มาตรฐานที่ 7 เด็กมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

มาตรฐานที่ 8 เด็กมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี และการเคลื่อนไหว

มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่  9  ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ

                       หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง

มาตรฐานที่  10  ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนการรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ

                          เน้นเด็กเป็นสำคัญ

มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่  11  ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร จัดการศึกษา

มาตรฐานที่  12  สถานศึกษามีการจัด องค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กร

                          อย่างเป็นระบบครบวงจร

มาตรฐานที่  13  สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

มาตรฐานที่  14  สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร  และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้น เด็กเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่  15  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพเด็กอย่างหลากหลาย

มาตรฐานที่  16  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริม  ให้เด็ก พัฒนาตามธรรมชาติ

                         เต็มศักยภาพ

มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 17  สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

มาตรฐานที่  18  สถานศึกษามีการร่วมมือระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบัน ทางวิชาการ  และองค์กร

                           ภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน

 

 

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

มาตรฐานที่ 2  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ 3  ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับอื่นได้และมีเจตคติที่ดี

                      ต่ออาชีพสุจริต

มาตรฐานที่ 4  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิด สร้างสรรค์

                        คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์

มาตรฐานที่ 5  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

มาตรฐานที่ 6  ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 7  ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

มาตรฐานที่ 8  ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี และกีฬา

มาตรฐานที่ 9  ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักและปฏิบัติตามแนวพระราชดำริโครงการพัฒนา

                        พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มาตรฐานด้านการเรียนการสอน

มาตรฐานที่  10  ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบหมั่นพัฒนา

                          ตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง

มาตรฐานที่ 11  ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 12  ครูมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักและจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการปฏิบัติกิจกรรมตาม

                         แนวพระราชดำริ  โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ

มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่  13  ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา

มาตรฐานที่  14  สถานศึกษามีการจัด องค์กร โครงสร้างและระบบการบริหารงาน และ พัฒนาองค์กรอย่าง

                           เป็นระบบครบวงจร

มาตรฐานที่  15  สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

มาตรฐานที่  16  สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร  และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ

มาตรฐานที่  17  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย

มาตรฐานที่  18  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริม  ให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติ

                           เต็มศักยภาพ

มาตรฐานที่  19  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม / โครงการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความ

                          ตระหนัก และมีการปฏิบัติตามแนวโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจาก

                          พระราชดำริ

 

มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 20  สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

มาตรฐานที่  21  สถานศึกษามีการร่วมมือระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบัน ทางวิชาการ และองค์กร

                           ภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน

 

วิสัยทัศน์โรงเรียนวัดดอนมะปราง

          ปี 2554   พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

พันธกิจโรงเรียนวัดดอนมะปราง

          พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์โรงเรียนวัดดอนมะปราง

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. สถานศึกษามีความเข็มแข็งในการบริหารและการจัดการศึกษา

กลยุทธ์โรงเรียนวัดดอนมะปราง

1. กลยุทธ์คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ

2. กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา            3. กลยุทธ์กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการศึกษา

          4. กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  ชุมชน  และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

 

การจัดกิจกรรมสำคัญที่เป็นจุดเน้นกลยุทธ์

กลยุทธ์คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ

                1. จัดกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้ที่เชื่อมโยงสู่การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้  ทั้งนี้ให้ความสำคัญแก่การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติเป็นพิเศษ

                2. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้เป็นพิเศษ

     2.1 กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี  โดยส่งเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ผ่านกระบวนการลูกเสือ

                     2.2 จัดค่ายคุณธรรมสำหรับนักเรียนเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่จะจัดโครงการที่เน้นการปฏิบัติจริง

                     2.3 การปลูกฝังคุณธรรมโดยผ่านกิจกรรมดนตรี  นาฏศิลป์  และการแสดง

                3. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

 

กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 

                1. รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน  อ่านคล่องเขียนคล่อง  ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

2. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ โครงการส่งเสริมการรักการอ่าน

                3. ส่งเสริมการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์  โดยพัฒนาห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

                4. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยสนับสนุนการพัฒนาครู และสื่อ

                5. พัฒนาคุณภาพการศึกษา  ให้เพิ่มขึ้นทุกมาตรฐานการศึกษา

 

กลยุทธ์กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการศึกษา

          1. ส่งเสริมการกระจายอำนาจและกำหนดมาตรฐานที่แสดงถึงความเข้มแข็ง

                2. พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการ  ครูและบุคลากรทางการศึกษา

                3. พัฒนาสถานศึกษา เพื่อได้รับการประกาศเป็นสถานศึกษา ประเภทที่ 2

               

กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  ชุมชน  และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

                1. ส่งเสริม สนับสนุน ความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

                2. พัฒนาเครือข่ายผู้ปกครอง และองค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

                3. ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

 

โครงการตามแผนกลยุทธ์

 

กลยุทธ์

โครงการ

เป้าหมาย

(ร้อยละ)

1. กลยุทธ์คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ

1. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

75

2.

หมายเลขบันทึก: 246250เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท