สารฟอกขาว


อันตรายจากสารฟอกขาวสิ่งที่ต้องระวัง

        สารฟอกขาวจัดเป็น 1 ใน 6 สารพิษปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายซึ่งแฝงอยู่ในอาหาร และอยู่ในรัศมีที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด สารฟอกขาวคือสารเคมีกลุ่มซัลไฟด์ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลเมื่ออาหารถูกความร้อนในกระบวนการผลิต หรือถูกหั่นตัดแล้วทิ้งไว้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ ราและแบคทีเรีย สารฟอกขาวในกลุ่มสารซัลไฟด์มีหลายชนิด คือมีทั้งชนิดที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นสารเจือปนอาหารและชนิดที่ไม่อนุญาตให้ใช้
        สารฟอกขาวชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ อนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคกลุ่มสารฟอกขาวไว้ดังนี้ คือ ให้บริโภคอาหารที่มีการเจือปนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งหากร่างกายได้รับสารฟอกขาวที่กล่าวมาไม่มากนักก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะร่างกายสามารถขับออกทาง84 พ.ศ. 2527 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมซัลไฟด์ โซเดียมไบซัลไฟด์และโซเดียมเมตาไบซัลไฟด์ สารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึก ใช้ในการฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง ผลไม้ดอง แช่อิ่ม ใช้แช่ผักและผลไม้ รวมไปถึงการผลิตอาหารทะเลเยือกแข็ง อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะได้รับอนุญาตให้ใช้สารฟอกขาวเหล่านี้ได้ แต่ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนดไว้ในระดับความปลอดภัยที่ผู้บริโภคควรจะได้รับ องค์การปัสสาวะได้ แต่ถ้าบริโภคในปริมาณมากเกินกำหนดหรือบุคคลที่บริโภคเป็นโรคหอบหืด จะพบอาการหายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ และอาจมีอาการขั้นรุนแรงถึงขาดช็อก และหมดสติได้
        ส่วนสารฟอกขาวที่สั่งห้ามเด็ดขาดไม่ให้นำมาเจือปนในอาหารมีชื่อว่าโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ เนื่องจากสารตัวนี้เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ แต่ปัจจุบันมีการตรวจพบว่าพ่อค้าแม่ค้าในบ้านเราลักลอบนำมาฟอกอาหารให้มีสีน่ารับประทานส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย โดยอาหารที่กระทรวงสาธารณสุขตรวจพบว่าใช้สารฟอกขาวชนิดนี้มากที่สุดคือ ถั่วงอก ขิงฝอย หน่อไม้ดอง กระท้อน น้ำตาล มะพร้าว และทุเรียนกวน ความรุนแรงของสารพิษชนิดนี้จะทำให้อวัยวะทุกส่วนที่สัมผัสกับอาหารเกิดการอักเสบ จนถึงส่งผลกับระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก การไหลเวียนของเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่แพ้อย่างรุนแรงหรือผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจช็อกหมดสติหรือเสียชีวิต ส่วนในคนปกติหากบริโภคเข้าไปเกิน 30 กรัม มีโอกาสเสียชีวิตทันที
        ท่านผู้ฟังสามารถหลีกเลี่ยงและเฝ้าระวังกลุ่มอาหารที่ตรวจพบว่ามีการใช้สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ โดยท่านผู้ฟังสามารถทำได้โดยใช้วิธีการสังเกตจากธรรมชาติของสีอาหารตั้งแต่การเลือกซื้อ เช่น ถั่วงอกไม่ขาวหรืออวบเกินจริง เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดต้องมีสีคล้ำ ทุเรียนกวนต้องมีสีคล้ำตามธรรมชาติไม่ใช่สีเหลืองใส ขิงซอยและหน่อไม้ไม่ควรมีสีขาวอยู่เสมอ โดยสังเกตจากการลองตากลมทิ้งไว้ถ้าเห็นว่ายังไม่มีสีคล้ำ ให้สันนิษฐานว่าได้ผ่านการฟอกขาว แต่ถ้าจะให้มั่นใจจริง ๆ ท่านผู้ฟังกัน หยดน้ำยา 3-4 หยด จากนั้นสังเกตสีจากสารละลาย ถ้าสารละลายมีสีเทาหรือดำ แสดงว่ามีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ แต่ถ้าสารละลายมีสีเขียวแสดงก็สามารถใช้ชุดตรวจสอบสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ในอาหารของ กองอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในราคาชุดละ 100 บาท ซึ่งสามารถตรวจได้ 100 ตัวอย่าง โดยมีวิธีการตรวจง่าย ๆ คือ นำตัวอย่างที่ต้องการทดสอบมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หลังจากนั้นเติมน้ำไป 10 ซีซี. บดให้เข้าว่ามีสารฟอกขาวในกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้ได้ และถ้าสารละลายมีสีฟ้าอ่อนแสดงว่าไม่มีสารฟอกขาว นอกจากชุดตรวจสอบของกองอาหารแล้วท่านผู้ฟังยังสามารถหาซื้อชุดทดสอบสารฟอกขาวขององค์การเภสัชกรรม ในราคาชุดละ 48 บาท ได้ที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งนับว่าสะดวกมาก
        ปัจจุบันระดับความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนในท้องตลาดอยู่ในขั้นที่น่าวางใจได้พอสมควรท่านผู้ฟังไม่ต้องกังวลมากนัก ทั้งนี้เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินแผนการรณรงค์ตรวจจับเพื่อหยุดยั้งการปนเปื้อนของสารพิษ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลวิธีที่จะสร้างความสำเร็จตามแผนที่กำหนดให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหารอย่างแท้จริง แต่บางครั้งสารปนเปื้อนอาจยังมีอยู่ในตลาดบ้านเราซึ่งหมายความว่าพวกเราผู้บริโภคหรือท่านผู้ฟังคงต้องช่วยกันสังเกตและเลือกซื้ออาหารที่สะอาด มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ และล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงอาหารด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือปรุงสุกเพื่อช่วยลดการตกค้างของสารฟอกขาว กรณีท่านผู้ฟังท่านใดสงสัยอาหารมีสีขาวผิดปกติให้แจ้งร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเองและผู้บริโภคท่านอื่น ๆ ด้วย


คำสำคัญ (Tags): #สารฟอกขาว
หมายเลขบันทึก: 245704เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2009 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณ...........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท