Deep listening


ดิฉันต่อยอดความรู้ในบันทึกของอาจารย์มาลินี เรื่อง ประกาย KM คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มน. ที่ท่านได้เล่าไว้ว่า

" ถ้าเราฟังแบบ Deep Listening โดยไม่ต้องตัดสิน ไม่วิเคราะห์ ไม่โต้ตอบ แล้วเรื่องนั้นๆ จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร?

เป็นคำถามที่ดีจริงๆ เท่าที่จำได้ ดิฉันตอบไปว่า " ต้องขอโทษด้วย ที่ดิฉันลืมเน้นไปว่า ในการฟังแบบ Deep listening ขณะมีผู้กำลัง Story telling เราพึงระลึกเสมอว่า เรื่องที่เล่า ไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา  แต่ให้เล่าเรื่องความสำเร็จ  ดังนั้นเราต้องตั้งใจฟังว่า ความสำเร็จนั้นเกิดได้ด้วยเหตุใด วิธีใด  เพื่อนำประเด็นความสำเร็จนั้น ลองกลับไปปฏิบัติด้วยตนเอง การปฏิบัติด้วยตนเอง การปรับใช้ความรู้นั้นให้เหมาะกับบริบทของตนเอง จะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด " นอกจากนี้ ท่านอาจารย์วิบูลย์  ยังได้ช่วยเสริม ช่วยขยายความในประเด็นนี้ให้ชัดเจนขึ้นอีก ถ้าอาจารย์ยังจำได้ หรือท่านที่ฟังในวันนั้นยังจำได้  ดิฉันขอความกรุณาเพิ่มเติมในข้อคิดเห็นด้วยนะคะ  "

ดิฉันเสริมอาจารย์มาลินีไปว่า

" เป็นบันทึกแห่งความสำเร็จของคุณเอื้อ มน. คะ :)

ดิฉันชอบที่อาจารย์ตอบผู้ฟังเรื่อง deep listening มากคะ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนมักจะฟังไปและคิดไปในแง่มุมมองของตนเอง ไม่มองเข้าไปในใจของผู้พูด แล้วบ่อยครั้งก็จะโต้แย้งและนำเสนอในมุมของตนเอง ซึ่งนี่ไม่ใช่ deep listening

พูดๆ ไปแล้ว deep listening นี่ก็เหมือนกับการที่แฟนเราพูดกับเรา เราก็มักจะพยายามตั้งใจฟังด้วยใจปิติ และยิ่งถ้าเป็นแฟนกันใหม่ๆ ก็จะถาม เช่น ทำไมถึงชอบฉันละ ชอบฉันตั้งแต่เมื่อไร อะไรทำนองนี้ :) ดิฉันว่า deep listening นี่คงใช้ในการทำ couple therapy แน่ๆ เลยคะ :)

ดิฉันเจอ link เกี่ยวกับ deep listening ดีๆ คะ เลยนำมา share ให้คะ http://www.refresher.com/!deeplistening.html " 

หมายเลขบันทึก: 24499เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
    ขอบคุณครับ  จาก Link ที่ให้ไว้ ได้ข้อเขียนที่กระชับ  ชัดเจนดีจังเลย  ชอบครับ

อ่านบทความจาก link ที่อาจารย์ให้แล้วชอบโดยเฉพาะตอนที่เขียนว่า "...No one feels she's hearing anything but the clock ticking while she waits to speak again. ..." เหมือนที่บางคนฟัง (หรือเพียงแค่ได้ยิน) อย่างตั้งใจ เพื่อที่จะหาช่องว่างให้ตนเอง ได้มีโอกาสเพื่อที่จะได้พูดสักที

ขอบคุณ คุณ Handy และ คุณหมอสุขคะ :)

ดิฉันอ่านแล้วก็โดนใจประโยคดังกล่าวเหมือนกันคะ

นำมาลิ้งค์ใส่ไว้ค่ะ เพื่อมีคนอยากเข้ามาอ่านเพิ่มเติมค่ะ http://www.health.umd.edu/fsap/communication.html

อิอิ ชอบการเปรียบเทียบค่ะ เหมือนฟังแฟนตอบ ^__*
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท