เข็นครกขึ้นภูเขา : เตรียมจัด KM Workshop ให้องค์การอนามัยโลก (2)


เตรียมการจัดตั้ง Community of Research Managers

เข็นครกขึ้นภูเขา : เตรียมจัด KM Workshop ให้องค์การอนามัยโลก (2)


          บันทึกไปเมื่อวาน ว่าผู้ที่ได้รับเชิญมาร่วมประชุมปฏิบัติการ KM ดูจะยังไม่เข้าใจว่ามาทำอะไร และต้องเตรียมมา ลปรร. อย่างไร    แล้วผม อี-เมล์ ไปบอกหมอสมศัดิ์  อ. อัญชลี และคณะ ให้เข้ามาอ่าน    หมอสมศักดิ์จึง อี-เมล์มาถามว่ามีวิธีที่ไม่ต้องสาธยายยืดยาว ให้เขาเข้าใจไหม    ผมมีความเห็นว่าผู้จัด (มสช.)  ต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่จะได้รับเชิญมาร่วม “ทำงาน” (workshop คือการทำงานร่วมกัน) ให้ชัดเจนว่า

  1. คนที่มา คือผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการจัดการงานวิจัย (research management) ของตน   และของหน่วยงานของตน    เน้นคำว่าทักษะ (skill) ไม่ใช่ทฤษฎี
  2. คนที่มา คือผู้มีประสบการณ์ (และทักษะ) ในการจัดการงานวิจัยอยู่แล้ว ในระดับหนึ่ง    และมีเรื่องราวของความสำเร็จ (เล็กๆ หรือเฉพาะกรณี) ที่จะนำมาเล่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ (ปฏิบัติ) หรือประสบการณ์กับเพื่อนร่วมการประชุมได้   
  3. การพัฒนาทักษะ (ความรู้ปฏิบัติ – actionable knowledge) ของผู้มาร่วมประชุม จะดำเนินไปเป็นระยะยาว    โดยการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย (network) หรือชุมชน (community) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติในการจัดการงานวิจัยภายในกลุ่ม และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเริ่มต้นเข้าร่วมได้
  4. ดังนั้น ผู้มาร่วมการประชุมปฏิบัติการ ต้องเตรียมตัวมา give and take หรือ share and learn    ไม่ใช่หวังมาเรียนรู้แต่ถ่ายเดียว     ผู้มาร่วมต้องเตรียมเรื่องเล่าความสำเร็จ  หรือความภูมิใจ (เล็กๆ) ในผลงานจัดการงานวิจัยที่ ตนเอง มีประสบการณ์ตรง    (ไม่ใช่เล่าเรื่องของคนอื่น    ไม่ใช่นำเสนอทฤษฎี    ไม่ใช่นำเสนอโครงสร้างของหน่วยงาน)      
  5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 99% จะทำผ่าน ICT   เช่น MSN, Yahoo Group, หรือ blog    ที่จริง มสช. น่าจะเปิด MSN หรือ Yahoo Group แลกเปลี่ยนเรียนรู้ success stories / best practice ในกลุ่ม prospective participants ได้ล่วงหน้า    
  6. ดังนั้นการประชุมปฏิบัติการนี้ถือเป็นการ connect กันแบบ F2F (Face to Face) เพื่อกระชับ connection ที่เริ่มแบบ B2B (Bits to Bits) ไปล่วงหน้าแล้ว    และเพื่อหาทางให้ connection / sharing แบบ B2B ดำเนินต่อไปอย่าง productive   คือเกิดการเรียนรู้ research management อย่างต่อเนื่อง ผ่าน knowledge sharing ในชุมชน / เครือข่าย    ย้ำว่า knowledge ที่เอามา share กันนั้น 90% เป็น knowledge from action / actionable knowledge 
  7. เราหวังว่า ชุมชน / เครือข่าย นักจัดการงานวิจัย (Research Management Community / Network) นี้ จะเป็นชุมชน/เครือข่าย เปิด    คือยึดถือหลักการ inclusive ไม่ใช่ exclusive    ยินดีเปิดรับสมาชิกที่สมัครเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  8. หวังว่าหลังจาก ชุมชน/เครือข่าย นี้ดำเนินการไปสัก ๑ – ๒ปี จะได้เห็นปรากฏการณ์ก้าวกระโดดด้านการจัดการงานวิจัยในหน่วยงาน / องค์กร / ประเทศ ที่เข้ามาเป็นสมาชิก    และองค์การอนามัยโลกสามารถสรุปประสบการณ์ KM นี้ เอาไปใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้านการพัฒนาเรื่องที่ซับซ้อนเกี่ยวกับสุขภาวะ 
  9. SEARO ต้องเตรียมจัดการชุมชน/เครือข่ายนี้    โดยมีคนคอยติดตามจุดประกาย ยั่วยุ  ชื่นชม  ให้รางวัล  การ ลปรร. ที่มีคุณค่า    วิธีดำเนินการจัดการแบบนี้ดูตัวอย่างได้จาก บล็อก Gotoknow.org 
  10. มสช. น่าจะ circulate เรื่อง storytelling ให้ผู้ที่จะมาร่วมประชุมได้อ่านทำความเข้าใจก่อน    เพื่อเตรียมตัวมาเล่าเรื่องความสำเร็จ/ภูมิใจ


วิจารณ์ พานิช
๑๙ เมย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 24489เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท