บันทึกฉบับปฐมฤกษ์


การตรวจเช็คข้อมูลของกองทุนฯ ในครั้งนี้ทำให้ทราบว่ากองทุนได้ส่งเงินสมทบเครือข่ายฯเป็นจำนวนเท่าใด เงินอยู่ในบัญชีกองทุนเท่าใด และสามารถทำสถิติข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเป็นตัวเลขที่ถูกต้องได้ รวมทั้งได้ทราบว่ากองทุนฯได้จ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด เพื่อที่จะได้ทำการบริหารจัดการทุนได้อย่างมีประสิท

            บันทึกนี้ผู้วิจัยได้รับเมื่อครั้งเดินทางไปที่องค์กรออมทรัพย์ชุมชนแม่พริกในวันที่ 8 มีนาคม  2549  เพื่อร่วมกันวางแผนว่าจะดำเนินการจัดการความรู้ในระดับกลุ่มและระดับสมาชิกของกลุ่มแม่พริกต่อไปอย่างไร  บันทึกนี้เป็นของประธานกลุ่มค่ะ  คือ  อ.ธวัช  ธนวิจิตรานันท์  ผู้วิจัยเลยถือโอกาสนำมาลงใน Blog เป็นบันทึกปฐมฤกษ์เลยก็แล้วกันนะคะ
           
                                              แบบบันทึกประจำวัน


ชื่อผู้บันทึก นายธวัช   ธนวิจิตรานันท์      ตำแหน่ง  ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชน ต. แม่พริก

วันที่ 29 มีนาคม  2549  (ปฏิบัติงานพิเศษ)

การปฏิบัติงานประจำวัน
            - สถานที่ปฏิบัติงาน         สำนักงานกองทุนฯ
            - ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงาน      เจ้าหน้าที่บัญชีและเลขานุการ
            - วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการปฏิบัติงาน          เพื่อตรวจสอบการส่งเงินไปสมทบเครือข่ายจังหวัดลำปาง
            - เป้าหมาย                    เพื่อทราบว่าจำนวนเงินที่ส่งไปจังหวัดมีจำนวนเท่าไร
            - ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
            ได้ปรึกษาหารือกับเลขานุการกองทุนและเจ้าหน้าที่บัญชีกองทุนว่า  ตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่พริกมา  กองทุนได้ส่งเงินเข้าเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปางแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด  และเงินที่จะต้องนำส่งเครือข่ายฯเป็นประจำทุกเดือน  คือ
            1.เงินสมทบกองทุนสวัสดิการคนทำงานเครือข่ายฯ  คือ  กองทุนฯต้องส่งเงินรายปีของสมาชิกที่เข้าใหม่ส่งเครือข่ายฯ รวมทั้งสมาชิกเดิมด้วย เก็บครั้งละ 50 บาท/คน/ปี  ส่งเครือข่ายฯ 40 บาท/คน/ปี  กองทุนเก็บฝากธนาคาร 10 บาท/คน/ปี
            2.เงินกองทุนเพื่อการศึกษา 5%  ของเงินออมที่เก็บได้ในแต่ละเดือน
            3.เงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ชราภาพ 5%  ของเงินออมที่เก็บได้แต่ละเดือน
            4.กองทุนกลาง 20%  คือ  เงินที่เครือข่ายฯกำหนดว่ากลุ่มที่เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายฯต้องส่งเงิน 20% ของเงินออมที่เก็บได้แต่ละเดือน
            5.กองทุนร่วม  คือ  เงินที่ส่งเครือข่ายฯ  คนละ 30 บาท  เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนครบ 6 เดือน หรือ 180 วัน
            6.เงินเฉลี่ยความเสียง  ส่งไปที่เครือข่ายฯ  เมื่อมีสมาชิกในเครือข่ายฯเสียชีวิต  และสมาชิกคนนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกเครือข่ายฯครบ 7 เดือนครึ่ง หรือ 225 วัน  กลุ่มที่สมาชิกนั้นสังกัดอยู่จะต้องส่งเรื่องมาที่เครือข่ายฯเพื่อขอเบิกเงินค่าทำศพจากเครือข่ายฯ  ซึ่งเครือข่ายฯจะจ่ายมาก-น้อย  ขึ้นอยู่กับอายุของการเข้าเป็นสมาชิก  เช่น  เป็นสมาชิกได้ 225 วัน  ได้เงินช่วยค่าทำศพ 5,000 บาท , เป็นสมาชิกครบ 1 ปี  ได้เงินช่วยค่าทำศพ 10,000 บาท  เป็นต้น  ปกติเงินช่วยค่าทำศพนี้  คือ  เงินที่เป็นเงินจากกองทุนร่วม  คือ  30 บาท/คน  (เมื่อเป็นสมาชิกครบ 180 วัน) เนื่องจากเงินจำนวนนี้ไม่พอที่จะจ่าย  เครือข่ายฯจึงจำเป็นต้องเก็บเงินจากกองทุนแต่ละกองทุนเพิ่ม  โดยเฉลี่ยเป็นรายหัวจากจำนวนสมาชิกทั้งหมดของเครือข่ายฯ หารจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายเป็นเงินค่าช่วยทำศพในเดือนนั้นๆ  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่พริกก็ได้จ่ายเงินเฉลี่ยความเสียงมาตั้งแต่ปี 2548  เป็นเงินหลายหมื่นบาทที่จ่ายไป
            เป็นที่น่าสังเกตว่า  ถ้าคิดเฉลี่ยรายหัวสมาชิกกองทุนตำบลแม่พริก  เครือข่ายฯได้คิดจากอัตราสมาชิกเริ่มเข้าใหม่  คือ  ตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุนมา  ทั้งๆที่ประธานเครือข่ายฯเคยแจ้งไว้ว่าจะคิดเฉลี่ยรายหัวจากสมาชิกกองทุนทุกคนที่เป็นสมาชิกมาครบ 180 วัน  ดังนั้น  จึงทำให้การคิดเงินจากกองทุนฯแม่พริกผิดมาตั้งแต่ต้น  เป็นเงินหลายพันบาท  กองทุนฯจะได้ขอคำชี้แจงจากผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ของเครือข่ายฯต่อไป
            - ผลการปฏิบัติงาน
            ทำให้ได้ทราบว่ากองทุนสวัสดิการตำบลแม่พริกได้ส่งเงินต่างๆสมทบเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปางไปแล้วแต่ละกองทุนเป็นเงินเท่าใด  เพื่อจัดทำสถิติข้อมูลกองทุนให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ความสำเร็จ/ปัญหาอุปสรรค/ข้อคิดเห็น
            - ความสำเร็จ    การตรวจเช็คข้อมูลของกองทุนฯ  ในครั้งนี้ทำให้ทราบว่ากองทุนได้ส่งเงินสมทบเครือข่ายฯเป็นจำนวนเท่าใด  เงินอยู่ในบัญชีกองทุนเท่าใด  และสามารถทำสถิติข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเป็นตัวเลขที่ถูกต้องได้  รวมทั้งได้ทราบว่ากองทุนฯได้จ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด  เพื่อที่จะได้ทำการบริหารจัดการทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            - ปัญหาอุปสรรค    การจัดการข้อมูลของกองทุนฯ มีปัญหาดานบุคลากรที่มาตรวจสอบพอสมควร  เนื่องจากผู้เป็นกรรมการไม่สละเวลามาทำการตรวจสอบได้มากพอ  เนื่องจากทุกคนมีปัญหาในการประกอบอาชีพ  คือ  แต่ละวันทุกคนต้องออกไปทำไร่  ทำสวน  มีภารกิจส่วนตัวอื่นๆ  ทั้งๆที่การปฏิบัติงานมีค่าสวัสดิการคนทำงานให้วันละ 130 บาท
            - ข้อคิดเห็น      
            1.บุคคลที่มาทำหน้าที่กรรมการกองทุนฯ ต้องรู้จักแบ่งเวลาการทำงาน  มีความเสียสละส่วนตัวสูง  อุทิศตนให้กับกองทุนฯได้มากจึงจะทำให้งานกองทุนฯประสบความสำเร็จ
            2.ผู้ที่มาทำงานให้กองทุนฯ  สมควรได้รับเงินจากกองทุนสวัสดิการคนทำงานเป็นค่าตอบแทน  อย่างน้อยวันละเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำที่ทางราชการกำหนดไว้
            3.เงินที่จะใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทน  หรือเงินจากกองทุนสวัสดิการคนทำงานน่าจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานในท้องถิ่น  เช่น  องค์การบริหารส่วนตำบล  หรือเทศบาลในเขตที่สมาชิกกองทุนฯอาศัยอยู่  เป็นต้น        

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24476เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท