ข้อคิดจากการสอบสัมภาษณ์ครู กศน.


สมัครงานอย่างไรให้ได้งาน
วันก่อนเป็นกรรมการกำกับการสอบผู้บริหาร วันนี้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ครู ศรช. ก็ได้ข้อคิดอะไรบางประเด็นอีกเช่นกัน จึงคิดว่าน่าจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเหล่านี้บ้าง ครู ศรช. เป็นครู กศน.อีกประเภทหนึ่ง ชื่อเต็ม ๆ ก็คือ ครูศูนย์การเรียนชุมชน สำหรับคน กศน.คงเข้าใจกันดี แต่ขออธิบายนิดหนึ่งเผื่อมีคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวง กศน.เข้ามาอ่านจะได้พอนึกภาพออก ครู ศรช.เป็นครูที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) หน้าที่หลักก็คือการจัดการศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ตามแนวทางและวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ระดับประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย ส่วนใครจะรับผิดชอบสอนระดับไหนนั้น ก็แล้วแต่นักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง บางคนก็ ม.ต้น บางคนก็ ม.ปลาย บางคนทั้ง ม.ต้นและ ม.ปลาย เลยก็มี โดยมีโครงสร้างหลักสูตร 8 หมวดวิชา และต้องทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ กศน.อีกหลายอย่าง มากเสียจน ไม่น่าเชื่อว่า ครูที่จบระดับปริญญาตรีัคนหนึ่งจะทำได้ แต่ครู ศรช.ของกศน.ก็ทำได้ แต่ที่น่าเห็นใจมาก ๆ คือ ได้รับเงินเดือนเพียงแค่ 7940 บาท ถูกหักประกันสังคมอีก 5 เปอร็เซ็นต์ โชคดีหน่อยที่สามารถเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาได้เดือนละ 1000 บาท ถ้าไม่รู้จักกินใช้ก็คงไม่พอ แต่หลาย ๆ คนก็อยู่ได้ โดยการบริหารตนเองและด้วยใจรัก แต่เมื่อมีงานอื่น ๆ ที่ดีกว่า ก้าวหน้ากว่า หรือได้เงินค่้าตอบแทนมากกว่า ครู ศรช.เหล่านี้ ก็ต้องเลือกเพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าของตนเอง ดังนั้น สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดของสถานศึกษาสังกัด กศน. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กศน.เขตทุกเขต ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็คือ ครู ศรช.มักลาออกบ่อยมาก จนสอบคัดเลือกเข้ามาปฏิบัติหน้าที่กันไม่ทันต่อการจัดการศึกษาของ กศน.เขต คราวนี้ก็เหมือนกัน หลายเขตครูลาออก จนสำนักงาน กศน.กทม.ต้องประกาศรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครู ศรช. โดยคราวนี้ให้รับสมัีครกันมาจากเขตแต่ละเขตกันเลย เพื่อจะทำให้ได้มีผู้สมัครเข้ามามากขึ้น อย่างน้อยได้ขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกไว้ก็ยังดี หลังจากรับสมัคร ก็สอบข้อเขียน แล้วก็ประกาศผลผู้ผ่านการประเมินข้อเขียน เพื่อมาสอบสัมภาษณ์กันต่อ การสอบสัมภาษณ์ได้มอบหมายให้ ผอ.กศน.เขตทุกเขต ร่วมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ จะได้รู้จักและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาปฏิบัติงานกับตนเองได้ โดยจัดให้มีการสัมภาษณ์ในวันที่ 25 กพ.2552 ที่ กศน.เขตที่ีกำหนดให้เป็นสถานที่สอบสัมภาษณ์ สำหรับกลุ่มโซนบดินทร์ราชกรีฑา ซึ่้งประกอบด้วย เขตห้วยขวาง ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง และสะพานสูง ใช้ ศรช.วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ของเขตลาดพร้าวเป็นสถานที่สอบ สิ่งที่พบและเป็นเรื่องน่าคิดระหว่างการสอบสัมภาษณ์ก็คือ 1. ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ ๆ ได้ไม่นาน ยังไม่มีงานทำ 2. ผู้ที่ตกงาน และกำลังจะตกงานในอนาคตทีี่่ีจะถึง 2 ประเด็นนี้ คงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่้งที่เป็นข้อคิด และ กศน.น่าจะได้นำวิธีการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาจัดการศึกษาก็คือ 1. ผู้สมัครเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่มาสอบเลย เช่น ภารกิจของ กศน. สถานศึกษา กศน. บทบาทหน้าที่ของครู ศรช. การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะถามประเด็นไหนก็จะบอกกันว่าไม่รู้ ไม่ทราบ 2. ถามต่อไปถึงว่าแล้วทำข้อสอบที่เป็็นข้อเขียนได้หรือไม่ ก็ได้รับทราบว่า พอทำได้แต่ไม่แน่ใจ และข้อ 3 ก็คือ ผู้สมัครแต่งกายกันไม่สุภาพ ไม่เรียบร้อย ผู้ชายใส่เสื้อเชิ๊ตแต่พับแขน ไม่กลัดกระดุมให้เรียบร้อย ส่วนผู้หญิงใส่เสื้อยืดก็มี บางคนก็ใส่เสื้อที่เขานิยมกันในปัจจุบัน คือ ตัวใหญ่ ๆ เหมือนชุดคลุมท้อง เหมือนไปเดินตลาด หลังจากสัมภาษณ์เสร็จเป็นคนสุดท้าย ก็เลยมาได้ข้อคิดว่า กศน.น่าจะได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่้อให้มีความพร้อมในการเข้าไปสมัครงานให้มากขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้ผู้ที่คัดเลือก ได้มีโอกาสพิจารณาความเพื่อเลือกเขาเหล่านี้ให้มาทำงานกับหน่วยงานของตนเองมากขึ้น เช่น 1. การแต่งกายที่เหมาะสมในการไปสมัครงาน (แต่ละหน่วยงาน เช่น สถานศึกษา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน) 2. การเรียนรู้หน่วยงาน หรือองค์กรที่จะไปสมัครงาน เช่น หน่วยงานนั้นมีหน้าที่หรือภารกิจอย่างไร กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการของแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ เป็นอย่างไีร 3. ควรจะศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหน่วยงานนั้น เพื่อนำความรู้ทีึ่ได้รับไปสอบได้อย่างมั่นใจมากขึ้นว่าจะตอบถูก และจะหาความรู้ได้จากที่ใดบ้าง 4. เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์ และถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องแต่ละเรื่อง ควรตอบอย่างไร ใช้ภาษาและคำพูดอย่างไรจึงจะถูกต้อง หรือฟังแล้วน่าพิจารณามากขึ้น 5. การเดินทางไปในแ่ต่ละครั้ง ควรมีการเตรียมการอย่างไร จึงจะไปให้ทันเวลา ไม่พลาดต่อการคัดเลือกในครั้งนั้น ๆ และอีกหลาย ๆ ประเด็นที่ต้องศึกษากันต่อไป ใครมีข้อเสนอแนะอย่างไรก็บอกมาบ้าง อย่างน้อยก็จะช่วยให้คนที่จบใหม่ ๆ และคนตกงาน ได้มีโอกาสมีงานทำมากขึ้น งานเหล่านี้ คงไม่ใช่แค่ กศน.เท่านั้นที่จะทำ้ ใครก็ได้ที่มีใจ ขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #ครู กศน.
หมายเลขบันทึก: 244689เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

เป็นครูศรช.ค่ะ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมบางจังหวัดจึงไม่สามารถเบิกค่า

ปฏิบัติงานนอกเวลาได้คะ สงสัยจัง ......

สวัสดีค่ะ

สำหรับการเบิกจ่ายเงินค่าปฏิบัติงานนอกเวลา เงินงบประมาณ สนง.กศน.ได้จัดสรรให้แล้ว ดังนั้น จังหวัดจะต้องเบิกให้ หากสถานศึกษา

1.อนุญาตให้ครู ศรช.ปฏิบัติงานนอกเวลา (ต้องทำบันทึกขออนุญาตปฏิบัติงานเป็นครั้ง ๆ ไป)

2.มีการปฏิบัติงานจริง และรายงานการปฏิบัติงาน

3.ทำหลักฐานขอเบิกเงิน

หวังว่าจะได้รับค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหากได้ดำเนินการตามนี้นะคะ

สวัสดีค่ะ ตอนที่เขาประกาศสมัครไม่ทัน เนื่องจากกำลังติดเรียนป.บัณฑิตวิชาชีพครู

ตอนนี้เรียนจบแล้ว

ไม่ทราบว่าจะเปิดรับสมัครอีกเมื่อไหร่คะ ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ

ขอขคุณค่ะ

ครู ศร ช นี่ต้องมีประกาศนียบัตรวิชาชีพครูด้วยรึเปล่าครับ

สวัสดีคะ

ดิฉันกำลังจะไปสอบสัมภาษณ์ นักวิชาการศึกษาพรุ่งนี้ พอเข้ามาอ่านแล้ว ได้รับความรู้และวิธีการไปสัมภาษณ์ และเตรียมตัว

ให้พร้อมแต่น่าเสียดาย ดิฉันน่าจะเข้ามาอ่านเร็วกว่านี้

ขอบคุณคะ

ขอบคุณค่ะ ที่ได้ประโยชน์จากเรื่องทื่เขียนไปบ้าง แม้ว่าจะเชยไปแล้ว แต่ก็ดีใจที่จะไปปรับใช้กับการสอบสัมภาษณ์เป็นพนักงานงานราชการ ได้บ้าง หวังว่าจะโชคดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท