ทำความรู้จัก CMS


เมื่อคุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบ CMS จะ ทำให้คุณต้องประหลาดใจหรืออเมซซิ่ง เพราะมันจะกลายเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะสร้างเว็บไซต์ที่มีความสลับซับ ซ้อนในแบบฉบับมืออาชีพที่คุณไม่คาดคิดมาก่อน

          หากเราจะสร้างเวบไซต์ซักหนึ่งเวบไซต์ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น MS-FrontPage , Macromedia DreamWaever เป็นต้น วิธีการในการสร้างเวบไซต์ก็เริ่มต้นจากวางโครงสร้างเวบไซต์ และหลังจากนั้น ก็ต้องสร้างเวบไซต์ทีละหน้าตามต้องการ ระยะเวลาในการทำเวบไซต์ขึ้นอยู่กับว่าเวบไซต์มีเนื้อหาเยอะแค่ไหน หลังจากนั้น ก็นำเวบไซต์ขึ้นเซอร์ฟเวอร์จริง หากเราต้องการอัปเดทหรือแก้เวบไซต์ เราก็ต้องเริ่มต้นใหม่หมด ตั้งแต่การออกแบบหน้าตาเวบโดยใช้โปรแกรม DreameWaver ตกแต่งรูปด้วย Photoshop หลังจากได้หน้าตาเวบที่ต้องการแล้ว ต้องอัพไฟล์เวบโดยใช้โปรแกรมสำหรับ FTP ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการทำเวไซต์ในอดีต นอกจากนี้ยังต้องใช้ทั้งคนที่มีทักษะในการออกแบบหรือจบมาทางด้านนั้นโดยเฉพาะ วิธีการแบบนี้เหมาะกับเวบไซต์ที่มีเนื้อหาไม่มากนัก และไม่เป็นการสะดวกเลยหากเนื้อหาเวบไซต์ของเราต้องมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา

          จากข้อจำกัดข้างต้น ระบบ Content Management System หรือระบบการจัดการเนื้อหาจึงเกิดขึ้น ซึ่งเป้นระบบจัดการ Content ที่สามารถทำงานบน web browser และสามารถอัพเดทเวบไซต์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมในการออกแบบเวบไซต์เลย หนึ่งในตัวอย่างของ CMS ก็คือ blog ของ gotoknow.org ที่เรากำลังใช้งานอยู่ ข้อดีที่เราเห็นได้ชัดคือ ประหยัดทรัพยากรในการพัฒนาและบริหารเว็บไซต์ ทั้งเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแล

          CMS ส่วน ใหญ่จะต้องมีเมนูควบคุมที่ใช้ในการบริหารจัดการการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ เมนูที่ว่านี้จะทำให้ผู้ดูแลสามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้รวดเร็ว ที่สำคัญคือ CMS จะเน้นที่การทำงานผ่านเว็บไซต์ ทำให้ผู้ดูแลสามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

          CMS สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์เพื่อให้เหมาะสมตามรูปแบบและประเภทของแต่ละเว็บไซต์ได้ อย่างเช่น การนำเสนอบทความ, เว็บไดเรคทอรี่, การเผยแพร่ข่าวสารต่างๆและหัวข้อข่าว, รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ, ถาม/ตอบปัญหา, ห้องสนทนา, กระดานข่าว และส่วนอื่นๆอีกมากมายที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอัปเดทข้อมูลเป็นกิจวัตร

          เรามาดูรายละเอียดของระบบทั่วไปของ CMS ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนของ Back End หรือที่นักพัฒนาเว็บไซต์รู้จักกันดีในชื่อ “งานเบื้องหลังหรือการจัดการตรง Control Panel” ซึ่งมีการโหลดคอนเทนต์มาไว้ และส่วนของ Font End หรือ งานเบื้องหน้า ซึ่งจะเป็นส่วนที่แสดงคอนเทนต์ให้ผู้ใช้ได้อ่าน ทั้งสองส่วนอาจมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าเหตุผลที่การสื่อสารในรูปแบบของ Blogging ประสบความสำเร็จนั้นก็เพราะพัฒนาการของระบบ CMS ที่เป็นใครๆก็ชอบและต่างใช้มันนั่นเอง

          เมื่อมีการสื่อสารแบบ Blogging เกิดขึ้น ซึ่งเริ่มต้นโดยการใช้ระบบ CMS ที่ถูกย่อยลงมา(โดยการใช้แอพพลิเคชันที่ง่ายๆ จากเว็บไซต ์Blogger.comและเมื่อ Blogging พัฒนาไปพร้อมๆกับคุณลักษณะใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา ก็มีการพัฒนาระบบ CMS ที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้ระบบใหม่ๆมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่างนอกเหนือจากการทำ Blogging บางระบบ อาทิเช่น WordPress ยังคงอ้างถึงตนเองว่าเป็นแอพพลิเคชันสำหรับทำ Blogging ส่วนระบบอื่นๆ เช่น Drupal ก็ถูกประชาสัมพันธ์ว่าเป็นระบบ CMS จะว่าไปแล้วซอฟต์แวร์สำหรับการทำ blogging ก็คือซอฟต์แวร์ CMS ที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มนั่นเอง นอกจากนี้ WordPress ยังสามารถใช้กับโปรเจ็กต์อื่นๆ ได้อีกมากมายหลายแบบ

          เมื่อคุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบ CMS จะ ทำให้คุณต้องประหลาดใจหรืออเมซซิ่ง เพราะมันจะกลายเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะสร้างเว็บไซต์ที่มีความสลับซับ ซ้อนในแบบฉบับมืออาชีพที่คุณไม่คาดคิดมาก่อน แต่ขอบอกว่าขณะนี้มีระบบ CMS อยู่ถึง 150 ระบบด้วยกันที่รอให้ให้คุณได้เข้าไปทดลองใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี ซึ่งเป็นหัวใจของ OpenSource นั่นเอง ส่วนระบบCMS เหล่านี้ได้เกิดมาจากการพัฒนาแบบ OpenSource และสิ่งที่คุณจะได้รับนั้นช่างน่าทึ่งจริงๆ สำหรับการที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย

          ระบบ CMS ที่ผมชื่อชอบมากที่สุดก็คือ Mambo(ซึ่ง Mambo เป็น business-oriented open source content management system ใช้สำหรับจัดการบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปตัว mambo ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL สามารถติดตั้งใช้งานได้ทั้งระบบ Windows, Unix, Linux และ Macintosh OS X servers ปัจจุบัน mambo ได้รับความนิยมจากผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นของฟรี ที่พัฒนาตามแนว GPL) และ Joomla(เป็นบริษัทลูกของบริษัท Mambo ซึ่งพัฒนาโดยทีมงานของ Mambo ซึ่งในเวลาต่อมาได้แยกตัวออกมา)

          หากคุณไม่เคยแม้กระทั่งใช้ระบบ CMS ที่ง่ายที่สุดมาก่อน ผมจะขอแนะนำให้คุณเริ่มตั้งแต่จากการทำ Blog แบบง่ายๆจากบริการฟรีก่อน เช่นเข้าไปที่ Blogger.com ซึ่งในขณะนี้เป็นของ Google ไป แล้วครับ แต่ก็สามารถใช้งานได้ดีพอๆกับจากอีกหลายแห่ง และเมื่อนั้น คุณก็จะได้ประสบการณ์จากระบบพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบโดยทั่วไปสำหรับการป้อนข้อมูลเข้าสู่ CMS และเมื่อคุณได้เรียนรู้วิธีการใช้งานนี้แล้ว คุณก็จะสามารถที่จะขยับขยายไปสู่ระบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น Joomla(http://www.joomla.org/)

          ตัวอย่าง CMS ที่ผมทำตัว Joomla >>> http://OpenSource.wu.ac.th

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24434เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 01:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท