แนวคิดพัฒนาองค์กร


แนวคิดพัฒนาองค์กร

แนวคิดพัฒนาองค์กร:

แนวคิดทฤษฎีองค์กร                        
           องค์การ
หมายถึง รูปแบบของการรวมตัวกันของบุคคลเป็นจำนวนมากเข้ามาร่วมมือกันทำงานที่ซับซ้อนตามระเบียบแบบแผนขององค์การที่ได้วางไว้ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายเดียวกันทฤษฎีองค์การ เป็นชุดของข้อความและแนวคิดซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งแสดงถึงภาพรวมของพฤติกรรมของบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มต่างๆ ภายในองค์การอย่างเป็นระบบ แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของกิจกรรมในองค์การ
                       
 การแบ่งทฤษฏีองค์การออกเป็นยุคต่างๆ นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 3 ยุคได้แก่
                1.ยุคClassical Organization Theory
                2. ยุค Organization Behavior Perspective
                3. ยุค Modern Structural Organization Theory
                        อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทฤษฏีองค์กรนั้น หากผู้บริหารที่ฉลาดและมีความสามารถในการบริหาร มักจะไม่ยึดมั่นในทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง โดยเฉพาะแต่จะเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่นำไปใช้ในการบริหารองค์กรได้ วิธีนั้นก็คือการใช้เทคนิคในการบริหารงานต่างๆ ผสมผสานกันเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพขององค์กรและสิ่งแวดล้อมขององค์กรนั้นๆ ทฤษฏีองค์กรจะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคม และรู้จักใช้วิจารณญาณในการนำทฤษฏีองค์กรมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ดีเพียงใดแต่การศึกษา ทฤษฏีองค์กรอย่างน้อยก็ก่อให้เกิดประโยชน์ 2 ประการ คือ รู้จักใช้ในการอธิบาย และรู้จักการทำนาย กล่าวคือ ทฤษฏีองค์การจะช่วยในการอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ดำรงอยู่ภายในองค์กร เช่น พฤติกรรมของบุคคล หรือ พฤติกรรมองค์กรในอีกประการหนึ่ง ทฤษฏีองค์กรจะช่วยในการทำนายถึงแนวโน้มของปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือมีการใช้แบบแผนวิธีปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน           (2)   ในทุกวันนี้เราทุกคนต่างเห็นได้ว่ามีการเกิดและการเติบโตขององค์กรต่างๆมากมาย สาเหตุเนื่องมาจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและอยู่รวมกันเป็นชุมชน เมื่อมีการรวมกลุ่มกันย่อมต้องมีการแบ่งงานกันทำ มีความต้องการพื้นฐานในปัจจัยต่างๆ จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ดังนั้นจึงสมควรที่จะได้มีการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและทฤษฎีองค์กรเพื่อเกิดประโยชน์ต่อการสร้างประสิทธิภาพในการจัดการ และเพิ่มประสิทธิผลองค์กรให้มากขึ้นได้ (ในที่นี้จะนำเสนอส่วนของorganization theory เท่านั้น)
(1) ความหมายของทฤษฎีองค์กร(Definition of Organization Theory)
      ทฤษฎีองค์กร(Organization Theory)
- ริชาร์ด แอล. ด๊าฟท์(Richard L. Draft) กล่าวว่าทฤษฎีองค์กรไม่ใช่ที่รวมข้อความจริง แต่เป็นวิธีการคิดเกี่ยวกับองค์กรทฤษฎีองค์กรหมายถึง วิธีการที่จะทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ องค์การ ให้ถูกต้องและลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยอาศัยพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบ และกฎเกณฑ์ ในการออกแบบองค์กร และพฤติกรรมองค์กร 1
แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์กรได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีเป็นนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และปรากฎการณ์ต่างๆของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบๆตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแบบแผนทางวิทยาศาสตร์ก็เพื่อนำความรู้ (knowledge) มาใช้แก้ปัญหาขององค์กร
(problem solving) หรือเพื่อการตัดสินใจในองค์กร   (3)
(2) ทฤษฎีองค์กรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ความรู้(knowledge) = เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ และการค้นคว้า เปรียบเสมือนเป็นtechnologyที่สำคัญที่จะนำองค์กร
  ไปสู่ความสำเร็จ
- การแก้ปัญหาและบริหารทรัพยากร(Solving problems&managing resources)
- สิ่งแวดล้อม(Environment) = สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ตัวองค์กรเองก็เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน
- เป้าหมายที่ชัดเจน
(3) ลักษณะวิธีการอธิบายทฤษฎีองค์กร
                       3.1) ทฤษฎีเชิงพรรณนา (Descriptive Theory) ที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆขององค์กรกับระบบย่อยอื่นๆและรวมถึงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เป้าหมายสำคัญของการพรรณนา คือการอธิบายว่า ทำไมสรรพสิ่งทั้งหลายจึงเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร
                       3.2) ทฤษฎีเชิงอธิบาย (Prescriptive or Normative Theory)เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อทฤษฎีเชิงพรรณนาได้อธิบายให้เห็นว่า เงื่อนไขของการเกิดปัญหาเป็นอย่างไร นัยแห่งการอธิบายเป็นการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือเป็นความพยายามที่จะบอกว่าควรจะทำสิ่งต่างๆอย่างไร เพื่อที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ทำกำไรได้ ปรับตัวได้ดี สร้างความพึงพอใจในการทำงาน
                       เมื่อเราได้ทราบความหมาย องค์ประกอบสำคัญ และลักษณะวิธีการอธิบายแล้ว อาจทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของทฤษฎีองค์กรได้ดีขึ้น และเป็นระบบ  จึงนำเสนอสาระและความเป็นมาของแนวคิดทฤษฎีองค์กรดังนี้     (4)
(4) วิวัฒนาการของทฤษฎีองค์กร
                       ทฤษฎีองค์กรนับว่าเป็นศาสตร์วิชาความรู้ที่มีการพัฒนามาไม่ยาวนานนัก จากการที่โลกได้มีวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง อันเป็นเหตุให้วิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป สังคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจึงเกิดองค์กรในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั่นเอง เมื่อองค์กรเกิดขึ้นตามความเจริญ เกิดคนทำงานกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ทำให้ทฤษฏีองค์กรถือกำเนิดขึ้น จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์กรออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
                        4.1) ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม(Classical Theory)
ก่อนการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ได้เกิดขึ้นนั้น สังคมองค์กรได้มีหลักพื้นฐานในการจัดโครงสร้างและการพัฒนาเป็นกลุ่มเพียงอย่างเดียว นั่นคือ การสร้างประสิทธิภาพโดยอาศัยหลักของการแบ่งแรงงานกันทำ(Division of Labour) เท่านั้น แต่ต่อมาในช่วงระยะต้นของคริสตศักราชที่ 19 ไม่นานนักนักวิชาการเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันของนักศึกษาทางการบริหารทั้งหลายว่าเป็นบิดาของการคิดค้นการบริหารคือ Frederick W.Taylor ซึ่งเป็นเจ้าตำรับของการวางหลักการที่เกี่ยวกับ การบริหารที่มีหลักเกณฑ์(Scientific Management) ขึ้นเป็นครั้งแรก นักวิชาการอีกท่านหนึ่งคือ Henri Fayol ได้คิดค้นหลักการบริหารสำหรับองค์กรขึ้นโดยวางหลักเกณฑ์เป็น14หลักที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางจวบจนทุกวันนี้ อีกท่านคือ Max Weber ซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนารูปแบบที่เกี่ยวกับโครงสร้าง อันที่จะช่วยให้การทำงานลุล่วง เรียกว่าเป็น โครงสร้างรูปแบบที่เป็นราชการ(Bureaucracy) เป็นการแบ่งงานชัดเจน มีการแบ่งสายบังคับบัญชา มีระเบียบต่างๆ     (5)
                         4.2) ทฤษฎีองค์กรสมัยใหม่(Neo-Classical Theory of Organization)
เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากทฤษฎีองค์กรสมัยเดิม โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยา การพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่างค.ศ.1910และ1920ในระยะนี้การศึกษาด้านมนุษย์ พฤติกรรมศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์(Human Relation Movement)ได้รับการนำมาพิจารณาในองค์กร ยุคนี้ประกอบด้วยนักวิชาการหลายท่านเช่น Elton Mayo ซึ่งเป็นนักวิชาการทางด้านมนุษยสัมพันธ์คนแรกที่ค้นพบถึงเรื่องสำคัญว่าพฤติกรรมมนุษย์ในการทำงานนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับความพอใจทางด้านจิตใจ หรือสังคมด้วย
                         4.3) ทฤษฎีองค์กรสมัยปัจจุบัน(Modern Theory of Organization)
ทฤษฎีองค์กรสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนามาในช่วง ค.ศ.1950 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย แนวการพัฒนายังใช้ฐานแนวคิด และหลักการของทฤษฎีองค์กรสมัยดั้งเดิมและสมัยใหม่มาปรับปรุง โดยพยายามรวมหลักการทางวิทยาการหลายสาขาเข้ามาผสมผสานที่เรียกว่า สหวิทยาการ(Multidisciplinary Approach) ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าทฤษฎีสมัยดั้งเดิมนั้นพิจารณาองค์กรในลักษณะแคบไป ฉะนั้นควรวิเคราะห์สิ่งต่างๆเข้าด้วยกันดีที่สุดเป็นการวิเคราะห์องค์กรในเชิงระบบ(System analysis) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ5ส่วนคือ 1)Input 2) Process 3)Output 4)Feedback 5)Environment ดังนั้นองค์กรในแนวคิดนี้จึงต้องมีการปรับตัว(adaptative)ตลอดเวลา (5) ประโยชน์ของทฤษฎีองค์กร
                        
จะเป็นการพิจารณาในอีกด้านหนึ่งนั่นคือการสนใจหรือเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารตัวองค์กรจากเป้าหมายและเนื้อหมายของงาน ซึ่งหมายถึงการมองทรัพยากรต่างๆขององค์กรทั้งหมดกับภายนอก ทฤษฎีองค์กรจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าองค์กรต่างๆควรจะสามารถจัดขึ้นมาเป็นโครงสร้างได้อย่างไร และมีส่วนที่สามรถนำมาปรับปรุงให้องค์กรมีประสิทธิภาพสูงหรือใช้งานได้ดีขึ้น ต่อไป 

http://www.lopburi1.net/km/modules.php?name=News&file=print&sid=259

หมายเลขบันทึก: 243883เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท