สังเวชนียสถาน (3)


ทัวร์อินเดียส่วนใหญ่เป็นทัวร์ “อดีตหลวงพ่อ” หรืออดีตพระที่ผ่านการศึกษาปริญญาโท ณ ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบันนาเรส ฮินดู ที่เมืองพาราณสี

 

ครั้งก่อนผู้เขียนเล่าเรื่องการตรวจก่อนขึ้นเครื่องบินในอินเดีย มีข้อพึงระวังที่ควรกล่าวไว้เพิ่มเติมคือ ทางการอินเดียห้ามนำของมีคม เช่น มีด กรรไกรตัดเล็บ ฯลฯ และถ่านไฟฉายติดตัวขึ้นเครื่องบิน

ถ้าต้องการนำมีด กรรไกรตัดเล็บ กรรไกร หรือถ่านไฟฉายไปอินเดีย แนะนำให้แยกเก็บไว้ในกระเป๋าเดินทาง

ผู้เขียนมีประสบการณ์นำถ่านไฟฉายชาร์จไฟได้ใส่ในเครื่องชาร์จ เก็บไว้ในกระเป๋าเดินทาง เจ้าหน้าที่ก็บอกให้แยกถ่านไฟฉายออกจากเครื่องชาร์จ นับว่า เขาเข้มงวดกับความปลอดภัยมาก

คนที่ไปแสวงบุญ หรือไปไหว้พระที่สังเวชนียสถานอินเดีย-เนปาลส่วนใหญ่จะซื้อทัวร์ ส่วนน้อยไปเอง หรือไปพักวัด

ทัวร์อินเดียส่วนใหญ่เป็นทัวร์ “อดีตหลวงพ่อ” หรืออดีตพระที่ผ่านการศึกษาปริญญาโท ณ ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบันนาเรส ฮินดู ที่เมืองพาราณสี

พระไทยส่วนหนึ่งจะเรียนบาลีให้ได้เปรียญ 3 ประโยค ขั้นแรกนี้จะได้เป็นท่าน “มหาเปรียญ” หรือที่เรียกกันว่า “ท่านมหา”

หลังจากนั้นจะเรียนต่อสายสามัญคล้ายๆ กับโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา เพียงแต่เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมในวัด

เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาแล้ว จะศึกษาต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย หลังจากนั้นจะหาทางศึกษาต่อปริญญาโท-เอกที่อินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปริญญาโท

การเรียนในอินเดียนับว่า ยากมากในสายตาของผู้เขียน น่าจะให้ปริญญาพร้อมกันหลายๆ ใบ เช่น ปริญญาโทสาขาที่เรียน บวกสาขาการต่อสู้ชีวิต ฯลฯ

อดีตหลวงพ่อเหล่านี้ต้องเก่งทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี(อินเดีย) และการใช้ชีวิตในอินเดียที่ต้องต่อสู้แทบทุกอย่าง

อาจารย์สำรวยอดีตนักเรียนปริญญาโทอินเดีย ท่านบอกว่า หอพักแขกมีมาเฟีย จะทำร้ายท่าน ต้องใช้วิชาป้องกันตัว เตะผ่าหมากไปเลย โครมเดียว... มาเฟียหน้ามืด นักศึกษาอินเดียเลยเรียกท่านว่า “กาก้า” แปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่

ความจริงโชคดีที่ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะกฏหมายอินเดียถือหลัก “อหิงสา” หรือไม่เบียดเบียนทางกาย ใครทำร้ายก่อนเป็นฝ่ายผิด แขกอินเดียจึงชอบเบียดเบียนทางวาจา(เถียงกัน)มากกว่าชอบลงไม้ลงมือ

ประมาณปี 2548 มีข่าวขุนเข่าอินเดีย ไม่ทราบว่า เลียนแบบพี่ไทยหรือไม่ รายนี้ทะเลาะวิวาทกัน ตีเข่าอย่างไรไม่ทราบ ไปโดนอัณฑะอีกฝ่ายถึงตาย ศาลอินเดียตัดสินว่า เป็นการฆ่าคนโดยเจตนา นับว่า กฎหมายอินเดียลงโทษกันหนักทีเดียว

ทีนี้พอจบปริญญาโท นักเรียนนอกส่วนใหญ่จะกลับเมืองไทย ส่วนหนึ่งทำงานเป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรือโรงเรียนพระปริยัติธรรม

อีกส่วนหนึ่งลาสิกขาบท(สึก)ไป อดีตนักเรียนเก่าอินเดียหลายท่านได้มาอินเดียฟรีอีกหลายรอบในฐานะผู้จัดการทัวร์อย่างเต็มภาคภูมิ

สังเวชนียสถานในอินเดีย-เนปาลเกือบทุกแห่งมีวัดไทยเป็นที่พึ่งของญาติโยมที่ไปทั้งทางใจและทางกาย วัดไทยที่นั่นมีทั้งโบสถ์ วิหาร กุฏิ ที่พัก และโรงครัวพร้อม

ญาติโยมที่ไปส่วนใหญ่มักจะขอไปพักที่วัด เพราะมีที่พักสะดวกสบาย อาหารวัดรสชาดดีกว่าโรงแรมแบบเทียบกันไม่เห็นฝุ่น

ผู้เขียนไปอินเดียครั้งหลังๆ สะดวกมาก เพียงส่งจดหมายอีเล็คโทรนิคส์ (e-mail) ไปวัดป่าพุทธคยา หลังจากนั้นเตรียมวัดลาพักผ่อน วีซ่า และตั๋วเครื่องบิน... ไปได้เลย

ท่านที่ตั้งใจจะเดินทางไปสังเวชนียสถาน และไม่ทราบว่า วัดในอินเดียมักจะขาดอะไร ขอเสนอให้เตรียมกาแฟกับครีมเทียม(คอฟฟี่เมต)ไปถวาย

ตลาดอินเดียมีชาขายมากมาย ชาอินเดียมีคุณภาพดี กลิ่นหอม และราคาไม่แพง แต่หาซื้อกาแฟยากหน่อย

ครีมเทียม(คอฟฟี่เมต)นี่พระท่านฉันหลังเที่ยงได้ ตลาดอินเดียไม่ค่อยมีครีมเทียมขาย ส่วนใหญ่เขานิยมใช้นมสด หรือนมผงแทน

นมผงอินเดียราคาถูกกว่าไทย ใครไปอินเดียกลัวขาดแคลเซียมน่าจะแวะซื้อนมผงไว้กินเสริมระหว่างเดินทาง

ของแห้งหรืออาหารกระป๋องนี่ก็น่าจะนำไปถวายวัดบ้าง ร้านค้าในพุทธคยามักจะปิดทำการในหน้าร้อน(เมษายน-มิถุนายน) สก๊อตไบรท์ที่ใช้ล้างจานกับฟองน้ำล้างจานนี่ก็ไม่ค่อยมีขายเช่นเดียวกัน

ผู้เขียนเป็นคนที่หลับง่ายเวลาฟังบรรยาย ผู้การฐนัสท่านศึกษาธัมมะมามาก ท่านแนะนำให้ไปถวายไฟ(แสงสว่าง) เช่น ถวายหลอดไฟ ฯลฯ ต่อไปเวลาฟังธรรมจะได้ไม่หลับ

ผู้เขียนคิดว่า การถวายกาแฟนี่ก็น่าจะมีส่วนช่วย(ลดอาการง่วงนอนเวลาฟังธรรม)ได้ จึงชอบทำบุญกับไฟ(แสงสว่าง)และกาแฟมากเป็นพิเศษ

ค่าไฟแสงสว่างที่พุทธคยาเมื่อ 3-4 ปีก่อนตกชั่วโมงละ 100 รูป(100 รูปประมาณ 80 บาท) ปี 2547 ขึ้นเป็นชั่วโมงละ 150 รูปี มีคนไทยไปถวายค่าไฟกันหลายท่าน ถ้าถวายค่าไฟทั้งคืนจะได้เปิดสวิทช์ไฟเอง ได้สับคัตเอ๊าต์ (cutout) เอง

วิธีขอไปสับสวิทช์ไม่ยากถ้ามีสารหล่อลื่นเล็กน้อย เพียงเราเตรียมใบเสร็จรับเงินไว้ ไปยืนรอที่ห้องสวิทช์ไฟตอน 6 โมงเย็น และเตรียมสารหล่อลื่นไว้ทิปคนงานประมาณ 10-20 รูปี จะได้สับคัตเอาท์ด้วยมือของเราเอง

ต่อมามีการใช้สวิทช์ไฟแสงสว่างภายในเขตพุทธคยา ทำให้ไม่มีโอกาสสับคัตเอาท์(สวิทช์ไฟแบบโยก)อีก พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ถ้าจะทำบุญอะไร... ให้รีบทำ อย่าช้า เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน พอมีสวิทช์แสงอัตโนมัติ โอกาสในการสับคัตเอาท์ด้วยมือเราจึงหมดไปอย่างน่าเสียดาย

ผู้เขียนมีโอกาสถวายค่าไฟที่พุทธคยามาหลายครั้งแล้ว ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีส่วนแห่งบุญนี้ทั้งหมดครับ...

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > ท่านพระอาจารย์เทพพนม วัดท่ามะโอ ลำปาง, คุณนงนุช, คุณอัจฉริยา เกตุ
    ทัต (ปุ๊ย), พี่จี๊ด (ทพญ.รัตนาวดี บุปผาเจริญสุข), พี่จ๋อง(ภก.บุญญาพร ยิ่งเสรี).
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ >
    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙.

ภาพที่ 3: รถทัวร์อินเดีย แอร์มีแต่ปิดกับเปิด ควรนำเสื้อกันหนาวกับหมวกไปด้วย และไม่มีห้องน้ำ ผู้หญิงควรนำผ้าถุงหรือร่มไว้บังตาคนอื่นเวลาถ่ายทุกข์

http://www.gotoknow.org/file/wullopporn/Gaya%20Bus.jpg

หมายเลขบันทึก: 24371เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2006 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • เชิญชมภาพพระพทธเมตตา ภายในวิหารพุทธคยา นิยมเตรียมผ้า โดยเฉพาะผ้าไตรไปถวาย ที่นี่   >>> http://www.gotoknow.org/file/wullopporn/Gaya%20Buddha.jpg
  • เชิญชมภาพแผนที่ จะเห็นว่า อินเดียมีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนตะแคง พุทธคยาอยู่ระหว่างเมืองกัลกัตตา-พาราณสี(จาก Walking with the Buddha: Buddhist pilgrimage in India. 1999 P.143 ที่นี่ >>> http://www.gotoknow.org/file/wullopporn/India%20map.jpg
  • เชิญชมภาพแผนที่อินเดีย (7=พุทธคยา; 4=สารนาถ) หนังสือเล่มเดียวกัน P.17 ที่นี่ >>> http://www.gotoknow.org/file/wullopporn/India-map-2.jpg
อาจารย์คะ หนูชอบ สนใจเกี่ยวกับวัด และสิ่งปลูกสร้างอย่างเช่น พระพุทธรูป เจดีย์ อุโบสถ ต่างๆ อาจารย์พอจะแนะนำได้บ้างไหมคะว่า ที่ไหนสวย และอาจารย์รู้สึกชอบ บวกกับประทับนะคะ บอกมาหลายๆที่ก็ได้นะคะ เฉพาะในประเทศไทยก็พอคะ ถ้าต่างประเทศหนูคงไม่มีทางได้ไป อิอิ 
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์สมัทรชา อาจารย์สมลักษณ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • พระเจดีย์ วัด อุโบสถในไทย ที่ไหนประทับใจผมมาก...
  • 1). พระพุทธชินราช พิษณุโลก ปี 2532 สสอ.ตะโหมด พัทลุงจัดทัวร์จากใต้มาเชียงราย ไป-กลับ 400 บาท เหมารถโดยสาร(ไม่มีแอร์) ผ้าขาวม้าไทย อาบน้ำปั๊มพ์ Esso นั่งหลับบนรถโดยสารกับนอนวัด ได้พักวัดพระพุทธชินราชด้วย ครั้งแรกที่เห็น "ตะลึง" เลยครับ ยืนชม แล้วเดินเข้ามาช้าๆ จะเห็นพระพุทธรูปสูงขึ้น เท่าที่ทราบ... ช่างโบราณท่านทำลานวิหารให้ค่อยๆ ลาดลงไปทางพระ (slope down) เรื่องนี้ดูจะลงใน National Geographic
  • 2). พระธาตุวัดหริภุญชัย ลำพูน คนที่นั่นใจดีมาก เช้าๆ มีคนใจบุญหลายท่านไปช่วยกันทำความสะอาด บ่ายๆ พื้นร้อนมากครับ ผมถอดรองเท้าแสดงความเคารพ 
  • การนำภาพลงบล็อกเป็นรูปน่าจะดีกว่าลิงค์ครับ ช่วงหลังผมลืมวิธีนำภาพมาลง เลยทำไม่เป็น อย่างไรก็ตาม, ผมมีข้อสังเกตอย่างนี้...
  • 1). ลงภาพทันที มีข้อดีที่สะดวกสำหรับผู้อ่าน เข้ากับแนวโน้มการนำเสนอ online ที่ควรมีภาพทันที ยิ่งต้องคลิกโน่นคลิกนี่ ยิ่งทำให้เสียคะแนนนิยม
  • 2). การทำลิงค์ มีข้อดีที่ทำให้บล็อกหน้าแรก load ขึ้นมาไว โดยเฉพาะคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตแบบความเร็วต่ำ เพราะถ้าหน้าแรก load ช้า ดูคนจะทนไม่ค่อยไหว
  • 3). ถ้าผสมผานกันได้ น่าจะดีที่สุด เช่น หน้าแรกมีรูปเล็กๆ load ภาพขึ้นมาไว และมีรูปสวยๆ ที่มีความละเอียดสูงให้คลิกชมเพิ่มเติม
  • ขอขอบคุณอาจารย์สมัทรชา อาจารย์สมลักษณ์ และท่านผู้อ่านทุกท่านครับ...

เรียนท่านอาจารย์หมอวัลลภ

  • การลปรร.ครั้งนี้มีประโยชน์นะครับเรื่องภาพครับ
  • หากเป็นภาพที่รายละเอียดไม่สูงก็ลงเป็นภาพเพื่อให้ Load ได้เร็ว หากเป็นภาพใหญ่มีรายละเอียดสูงให้ทำเป็น ลิงค์ (สำหรับคนที่อยากดู)
  • เป็นอะไรเล็กๆ แต่มีประโยชน์ครับ "ต้องผสมผสาน"
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์ ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • การนำเสนอ (presentation) ในยุคนี้เป็นยุค "คอมบิ (combination = ผสมผสาน)", "โฮลิ (wholistic = องค์รวม / บูรณาการ)", และ "คอมโพ (composite  = ประกอบ)" หรือการผสมผสานอย่างที่อาจารย์สมลักษณ์ว่า  
  • ขอขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์ครับ...
    "ยิ่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ยิ่งเพิ่มองค์ความรู้"
  •  ท่านอาจารย์สมลักษณ์ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ พร้อมทั้งแทรกรูปมาในข้อคิดเห็น
  • อินเตอร์เน็ตความไวต่ำ รวมทั้งความไวสูงแต่ช้ามาก เช่น ที่ลำปาง ฯลฯ รองรับภาพขนาดใหญ่ไม่ค่อยได้ ภาพขึ้นช้ามาก
  • ขออนุญาตลบภาพที่อาจารย์แทรกไว้ออกครับ...
สมลักษณ์ เมื่อ พ. 19 เม.ย. 2549 @ 10:08 จาก 203.155.14.4

เรียนอาจารย์หมอวัลลภ

  • จากการสังเกต ผมไม่แน่ใจว่าอาจารย์ลงภาพในบันทึกไม่ได้ หรือว่าอาจารย์ชอบลงภาพแบบลิงค์นะครับ ผมเลยลองวิชาของผมโดยเอาภาพของอาจารย์มาลงในข้อคิดเห็นนะครับ เพื่อเป็นการลปรร.ครับ
  • รถทัวร์อินเดีย
  • พระพุทธรูปเมตตา
  • แผนที่อินเดีย
  • แผนที่อินเดีย 2

อยากให้คุณหมอลงภาพ กุฏิพระอานนท์ และ ภาพ รัตนจงกรมเจดีย์ด้วยค่ะ เพราะสับสนกับสถานที่ที้งสองแห่งนี้ ข้อมูลจากหลายแห่งอธิบายภาพไม่ตรงกันค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณอภิญญา

  • เรื่องสังเวชนียสถานนี่... ผมเตรียมภาพไว้เกิน 1,000 ภาพ ทว่า... มีภาระงานมาก และไม่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไว้ใช้ (หอพักในโรงพยาบาลไม่มีอินเตอร์เน็ต) เป็นปัญหาใหญ่ที่ยังแก้ไม่ตก
  • การนำภาพขึ้น Go2know จำเป็นต้องมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง + เวลา
  • ขออภัยจริงๆ ครับ...
  • เรียนเสนอให้ค้นหาภาพใน Google ดูก่อน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท