โครงสร้างและองค์ประกอบของโครโมโซม


โครงสร้างและองค์ประกอบของโครโมโซม

โครงสร้างและองค์ประกอบของโครโมโซม

1.       ไพรมารีคอนสติคชัน ( primary constriction ) หมายถึงส่วนเว้าบนโครโมโซมซึ่งเป็นตำแหน่งของเซนโตรเมียร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญยิ่งเมื่อเซลล์ทำการแบ่งตัว จะทำให้โครโมโซมมาเรียงตัวกันตรงกลางเซลล์ในระยะเมตาเฟส และโครโมโซมใดที่ไม่มีเซนโตรเมียร์โครโมโซมนั้นจะถูกละทิ้งไว้ในไซโตปลาสม เพราะไม่มีเส้นใยสปินเดิลมาดึงเอาไว้ให้อยู่แนวกลางเซลล์

2.       เซกันดารีคอนสตริคชั่น (secondary constriction ) เป็นส่วนเว้าอีกอันหนึ่งบนโครโมโซม และเป็นที่สำหรับให้นิวคลีโอลัสมาเกาะบางทีก็เรียกบริเวณนี้ว่า”นิวคลีโอลาร์ ออกาไนเซอร์” ( nucleolar organizer ) และบริเวณนี้จะประกอบไปด้วยยีนที่ควบคุมการสัลเคราะห์ ribosomal RNA

3.       แซทเทลไลท์ ( sattellite ) เป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นตุ่มหรือติ่งโครโมโซมใดที่มีแซทเทลไลท์นี้อยู่ เรียกโครโมโซมนั้นว่า” SAT-chromosome”

4.       โครโมนีมา ( chromonema ) เป็นโครงร่างภายในของโครโมโซมหรือหมายถึงเส้นของโครโมโซมที่พันกันอยู่เป็นเกลียวฝังตัวอยู่ในมาทริกซ์ ( matrix ) สารพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่บนโครโมนีมานี้

5.       มาทริกซ์ ( martrix ) เป็นสารพวกอโครมาติก ( acromatric ) เป็นที่อยู่ของโครโมนีมาและโครโมเมียร์         ( chromomere )

6.       โครมาติน ( chromatin )หมายถึงโครโมโซมนั่นเอง ถ้าส่นไหนของโครโมโซมติดสีย้อมเข้ม เรียกส่วนนั้นว่าเฮเทโรโครมาติน ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนที่ไม่มียีนอยู่เลย และส่วนนี้ติดสีเข้มก็เพราะว่าโครโมนีมาตาจะพันกันแน่นกว่าส่นที่ติดสีจางซึ่งเรียกกันว่า ยูโครมาติน ซึ่งเป็นส่วนที่มียีนอยู่

7.       ทีโลเมียร์ ( telomere ) ทีโลเมียร์เป็นองค์ประกอบที่พบในทุกโครโมโซมจะอยู่บริเวณปลายสุดของแขนโครโมโซม ถ้าบริเวณทีโลเมียร์ขาดไปจะทำให้โครโมโซมมีลักษณะเหนียวและเชื่อมติดกับโครโมโซมอื่นที่ปลายทีโลเมียร์ขาดได้ง่าย

ชนิดของโครมาติน

                โครมาตินจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการติดสีเข้มหรือจางของโครโมโซมในระยะอินเตอร์เฟส

ยูโครมาติน ( euchromatin ) เป็นโครมาตินที่ติดสีจางในระยะอินเตอร์เฟส มีลักษณะผอม ยาว เส้นผ่าศูนย์กลางของยูโครมาตินมีขนาดประมาณ 40-70 A  แต่จะหดสั้นเข้าและติดสีเข้มในระยะที่มีการแบ่งเซลล์ บริเวณนี้จะเป็นส่วนของ DNA ที่มีการแสดงออกคือเกิดการคัดลอกเบส ( traseciption ) ไปเป็น mRNA และได้ผลผลิตคือโปรตีนในที่สุด
เฮทเทโรโครมาติน ( heterochromatin ) เป็นโครมาตินที่หดสั้นมากตลอดวัฏจักรของเซลล์ เส้นผ่าศูนย์กลางของเฮทเทโรโครมาตินมีขนาดประมาณ 200-300A ในบริเวณนี้พบว่าไม่เกิดการคัดลอกเบสเลย

เฮทเทโรโครมาติน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อยๆคือ

2.1   เฮทเทโรโครมาตินชนิดชั่วคราว ( facultative heterochromatin ) โครมาตินที่บางครั้งจะหดสั้นเข้าและเกิดการหยุดการทำงาน ( inactivation )

2.2    เฮทเทโรโครมาตินชนิดถาวร ( constitutive heterochromatin ) เป็นโครมาตินที่หดสั้นมากและไม่มีการทำงานของวัฏจักร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24260เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2006 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ากำลังหาอยู่เลย

มาลงไว้เยอะๆนะ

เรียนไม่ค่อยเข้าใจ

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

ขอบคุณนะค่ะ

แล้วจะเข้ามาอ่านอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท