สมมติฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Our Assumptions about Learning)


ประสบการณ์ เดียวกัน --> รับรู้ต่างกัน..ภายใต้ฐานเชื่อและความรู้เดิม...ของแต่ละบุคคล --> สร้างความหมายต่อ"สิ่ง"นั้นต่างกัน

     "มนุษย์" เรียนรู้จากปรากฏการณ์การเรียนรู้ (วัตถุประสงค์ เหตุการณ์ กิจกรรม กระบวนการ) การตีความโดยใช้ฐานจากประสบการณ์ว่ารู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เหตุผล และการสะท้อนถึงประสบการณ์และเหตุผลนั้น

     จากการเคยอ่านงานของ Jerome Bruner (1990) ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่านี่เป็นกระบวนการของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaning making) การเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิส (constructivism) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสาขาใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษา คอนสตรัคติวิส (constructivism) คือ อะไร? และคอนสตรัคติวิส(constructivism) เชื่อว่าต้องทำอะไร? 

     คอนสตรัคติวิส (constructivism) เชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ "เรา" สร้างขึ้นไม่ใช่การถ่ายทอด บุคคลสร้างขึ้นตามความรู้สึกภายใต้โลก (World) ของพวกเขาเอง โดยสร้างสิ่งแทนความหมายหรือโมเดลจากประสบการณ์ที่ "เรา" สัมผัสโดยตรง การสร้างความรู้เป็นกระบวนการธรรมชาติ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เผชิญกับบางสิ่งที่พวกเขาไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะเข้าใจ ธรรมชาติของพวกเขาก็จะเอนเอียงเพื่อที่จะพยายามให้เคยชิน/คุ้นเคยกับสิ่งที่ไม่รู้นั้น และพร้อมที่จะรู้ในเรื่องดังกล่าวว่ามันหมายถึงอะไร วัยเด็กเล็กจัดเป็นแม่แบบของคอนสตรัคติวิส (Constructivists) เด็กๆ ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสำรวจในโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่พวกเขาไม่เข้าใจ ดังนั้นพวกเขามักจะทำการสำรวจอย่างต่อเนื่องภายใต้ความคุ้นเคยที่เป็นไปได้และข้อจำกัดที่มีอยู่ พ่อแม่พยายามที่เข้ามาแทรกแซงด้วยการสอนตามบทเรียนของเขา แต่เด็กวัยเด็กเล็กมักจะนำเสนอด้วยการสำรวจและเรียนรู้ด้วยตัวของพวกเขาเอง เพื่อหาคำตอบแห่งความสงสัยนั้น

     ความหมาย หรือ Meaning เป็นหัวใจสำคัญของผู้รู้ หรือที่ว่า Meaning is in the mind of the knower  กระบวนการสร้างความหมายเป็นผลจากความเข้าใจภายนอกโลกทางกายภาพที่จัดเป็นหน่วยของผู้รู้ เพราะในแต่ละบุคคลนั้นมีหน่วยของประสบการณ์ที่เป็นการผสมผสานหน่วยต่างๆที่แตกต่างกันมาจากฐานความเชื่อต่างๆในโลก(World)  ความรู้สึกที่ว่าพวกเราสร้างโลก (We make of the world) เป็นความจำเป็นที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากความรู้สึกที่คุณสร้างมัน (You make of it) แต่พวกเราสามารถที่จะแบ่งปันความหมายตามนัยของเรากับสิ่งอื่นๆ ได้ ซึ่งทำได้โดยการแบ่งปันเชิงสังคมในการแบ่งปันความหมาย นั่นคือพวกเราสามารถสนทนากันในเรื่องต่างๆ และเห็นด้วยในประเด็นสำคัญที่มีความสัมพันธ์กันและมีความหมายของสิ่งต่างๆ จุดสำคัญของความรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่วัตถุประสงค์ภายนอกที่รายงานโดยผู้เรียน มันสามารถรวมไปถึงเป็นการสร้างความรู้ คุณสามารถมีประสบการณ์นั้นได้ถ้าหากเราได้บอกละเอียดเกี่ยวกับคุณไป คุณสามารถที่จะสร้างความหมายด้วยตัวของคุณเอง แต่นั่นอาจจะเป็นความเข้าใจเฉพาะการตีความส่วนบุคคลในประสบการณ์ของพวกเราที่ประสบด้วยกัน และอยู่บนฐานประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วย

     ดังนั้น จึงมีภาพหลากหลายบนโลกนี้ บุคคลสองคนสามารถที่จะมีประสบการณ์ในสถานการณ์เดียวกันได้ และรับรู้ในประสบการณ์นั้น ในแต่ละคนจะมีการสร้างความรู้ของตนเอง ที่ซึ่งเป็นการสะท้อนการรับรู้จากประสบการณ์นั้นๆ ที่พวกเราได้มีและแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน การรับรู้และความเชื่อเกี่ยวกับโลกก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ

ประสบการณ์ เดียวกัน --> รับรู้ต่างกัน..ภายใต้ฐานเชื่อและความรู้เดิม...ของแต่ละบุคคล --> สร้างความหมายต่อ"สิ่ง"นั้นต่างกัน


Meaningfull  >>> Understanding >>> Knowledge Construction


หมายเลขบันทึก: 24192เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2006 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท