ประตูเชียงใหม่


ประตูเชียงใหม่

ประตูเชียงใหม่

     นพบุรีศรีนครพิงค์ เมืองล้านนาอันมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ทำให้ทุกคนจดจำได้เป็นอย่างดี ถึงแม่เรื่องราวของประวัติศาสตร์จะเหลือไว้เพียงบางส่วนให้คนรุ่นหลังได้สัมผัส
ประตูเมืองเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของประวัติศาสตร์เชียงใหม่  บอกเล่าเรื่องราวมากมายถึงความเป็นมาของนครแห่งนี้

                                                           

บริเวณกำแพงเมืองชั้นใน ประกอบด้วยประตูเมือง ๕ ประตู ได้แก่

๑. ประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก


           อยู่ทางทิศเหนือของเมืองถือว่าเป็นประตูมงคล ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้ามาที่ประตูนี้ ประตูหัวเวียงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ประตูช้างเผือกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก ๒ เชือกเป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็ก ๒ คนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากภัยสงคราม แต่เดิมรูปปั้นช้างเผือกทั้ง ๒ เชือกอยู่ริมถนนโชตนาด้านละเชือก สำหรับรูปปั้นช้างเผือกที่ตั้งในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

๒. ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูท่าแพ


         

     ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๔๔๐) ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน  ต่อมาบ้านเรือนขยายตัวประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕

๓. ประตูเชียงใหม่


     ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔ - ๒๑๐๑) ทั้งเชียงใหม่ กุมกามและลำพูนตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง
           

๔. ประตูแสนปุง

     ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ คือเฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูแสนปุงครั้งแรกสมัยมหาเทวีจิรประภา พ.ศ. ๒๐๘๘ "...ชาวใต้มาปล้นเอาปะตูแสนปุง บ่ได้..." สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณีจึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นประตูทางออกในการเอาศพออกจากเมืองไปสุสาน

๕. ประตูสวนดอก

     ตั้งอยู่ทิศตะวันตกประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยานของกษัตริย์ สมัยพญากือนา พ.ศ. ๑๙๑๔ ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาคงสร้างเวียงสวนดอกด้วย

     นอกจากกำแพงเมืองชั้นในแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือที่รู้จักชื่อ กำแพงดิน โอบล้อมไว้ เริ่มตั้งแต่แจ่งศรีภูมิด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเลียบตามลำน้ำแม่ข่าลงมาด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มาบรรจบกับกำแพงเมืองชั้นในที่แจ่งกู่เฮือง บริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านนอกมีประตูเมืองสำคัญอยู่ ๕ ประตู คือ

๑. ประตูช้างม่อย

     อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ในอดีตถนนช้างม่อยเก่าเป็นเส้นทางโบราณผ่านหมู่บ้านเชียงเรือกไปวัดหนองหล่มแล้วไปสิ้นสุดที่ประตูช้างม่อย ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูช้างม่อยว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๘ เมื่อบ้านเมืองขยายตัวทางราชการได้ตัดถนนช้างม่อยใหม่ขึ้น โดยเจาะกำแพงชั้นในให้ถนนราชวิถีจากในเวียงตัดตรงสู่ถนนช้างม่อยใหม่แล้วไปออกแม่น้ำปิง ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกประตูชั้นในที่เจาะใหม่ว่า ประตูช้างม่อย เพื่อแทนที่ประตูเดิมซึ่งถูกรื้อทิ้งไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๑


๒. ประตูท่าแพ ชั้นนอก

     อยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองบริเวณหน้าวัดแสนฝาง ที่ชื่อท่าแพ เพราะเป็นทางออกสู่ท่าน้ำแม่ปิง ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เรียกชื่อประตูนี้ว่า ประตูท่าแพชั้นนอก เพราะความเจริญเติบโตของเมืองชื่อของประตูท่าแพชั้นนอกจึงค่อย ๆ หายไป ประตูท่าแพจึงเหลือเพียงประตูเดียว คือประตูท่าแพปัจจุบันนี้

๓. ประตูหล่ายแคง หรือประตูระแกง

     อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง

๔. ประตูขัวก่อม

อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยในปี พ.ศ. ๒๑๕๘

๕. ประตูไหยา หรือ หายยา


     อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า "พ.ศ. ๒๒๗๐ เมื่อเทพสิงห์ยึดเมืองเชียงใหม่จากพม่าได้บุกเข้ามาทางประตูไหยา แต่ด้วยที่ตั้งของประตูไหยาอยู่ในทิศเดียวกับประตูแสนปุง เป็นตำแหน่งกาลกิณีเมือง จึงใช้เป็นทางเคลื่อนศพมาฌาปนกิจที่สุสานหายยามาตั้งแต่โบราณ
 

     สำหรับสาเหตุที่ต้องสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอกชึ้นก็เพื่อป้องกันกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา ที่มักจะยกทัพมาคุกคามเมืองเชียงใหม่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยของราชวงศ์มังรายมาแล้ว ปัจจุบันแนวกำแพงและประตูเมืองทั้งด้านในและด้านนอกยังปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่ในบางช่วง ส่วนบริเวณแนวกำแพงเมืองด้านนอกนั้นถูกบุกรุกจากชาวบ้านเข้าไปสร้างบ้านเรือน จนทำให้แนวกำแพงดินพังทลายลง


     และนี่คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนับแต่โบราณมาล้วนแล้วแต่มีความหมาย และประโยชน์ในการใช้สอยที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันถึงแม้ประตูเมืองของเชียงใหม่จะหลงเหลือไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่เรื่องราวของความหมายทางประจิตศาสตร์นั้นยังคงคุณค่าอย่างมิเคยถูกลืมเลือน

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=301

หมายเลขบันทึก: 241352เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ได้ความรู้ดีค่ะ มีหลายเรื่องไม่เคยรู้มาก่อน แต่ภาพประกอบไม่สอดคล้องกับข้อความค่ะ ประตูช้างเผือก ไม่น่าใช่ตามภาพค่ะ

ได้ความรู้ และอรรถรสทางดนตรี ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

2. ขวัญใจลุงตี้ เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 08:38

ขอบคุณนะค่ะ..ที่เเวะเข้ามาเยี่ยมเยือน...

แต่ภาพประกอบไม่สอดคล้องกับข้อความค่ะ ประตูช้างเผือก ไม่น่าใช่ตามภาพค่ะ อ่อ..

พอดีปุ้ยเอาข้อมูลมาจาก

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=301

ซึ่งปุ้ยได้อ้างอิงไว้ข้างล่างค่ะ..

3. แสงศรี
เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 09:46

ขอบคุณนะค่ะ..ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือน...

哇哦,这是清迈城的老门,我知道清迈分为旧城和新城。老城区值得去玩,很有历史价值~~

6. davidhoo

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 12:28

谢谢你。ขอบคุณเจ้า..

สวัสดีครับคุณ chipmunks

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ ชอบอ่านประวัติศาสตร์มากครับ :)

เคยไปมาเช่นกันครับเมื่อ ตุลาคมปีที่แล้ว ขลังดีนะครับ

เอารูปมาฝากครับผม :)

8. adayday

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 12:38

บ่เป๋นหยังเจ้า..ปุ้ยก็ชอบประวัติศาสต์เหมือนกั๋น

รูปงามดีเจ้า..ไหว้สาประตูช้างเผือก..

พอดีผมอยากได้ตำแหน่งเป็นแผนที่เลยครับ รบกวนผู้รู้ แนะนำหน่อยครับ ผมจะทำแผนที่ อัจฉริยะให้เมืองเชียงใหม่ ครับ แต่ยังหาตำแหน่งที่แน่นอนไม่ได้เลย ได้แต่ชื่อประตูต่างๆ ครับ รบกวนทีครับ ขอเป็นไฟล์ภาพก็ได้ครับ

แนะนำเว็บนะค่ะ

เกี่ยวกับแจ่ง ประตู รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ค่ะ

www.cmintown.co.cc หรือwww.cmintown.icuub.com

หนูเห็นทุกวันนะ ยืนยันว่าประตูช้างเผือกไม่ใช่รูปนั้นค่ะ แล้วข้อมูลน่าจะละเอียดกว่านี้นิดนึงน้า ^_^

อยากดูรูปประตูเวียงเชียงใหม่

ถ้าขึ้นไปเหยียบจะเป็นอะไรมั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท