การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก


โรงเรียนขนาดเล็ก

รายงานการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  

« สันติ   รุ่งสมัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษา          ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรเพื่อให้เด็กในวัยเรียนทุกคนได้เรียนอย่างมีคุณภาพและเต็มศักยภาพของแต่ละคน โดยมีสถานศึกษาในความรับผิดชอบ จำนวน 30,228 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 11,598 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 38.36 ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมด    โรงเรียนเหล่านี้มักจะต้องบริหารจัดการท่ามกลางปัญหาหลายประการ      เช่น ขาดแคลนครูสอนไม่ครบชั้นเรียน  ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น

                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 มีภารกิจในการบริหารเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน  อำเภอพุทธมณฑล  อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ปัจจุบันมีสถานศึกษาทั้งสิ้น 171 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนรัฐบาล 144 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชน 27  โรงเรียน  ในจำนวนโรงเรียนรัฐบาลมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนลงมา จำนวน 34 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 23.61 โดยส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอบางเลนมากที่สุด จำนวน 19 โรงเรียน  คิดเป็นร้อยละ 55.88 ของโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด  รองลงมาเป็นโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอสามพราน จำนวน 10 โรงเรียน  คิดเป็นร้อยละ 29.41 และเป็นโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอนครชัยศรี  จำนวน 5 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 14.71

                      การดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ตามพันธกิจในแผนกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 2 ปี 2548–2550 ได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในทุกระดับ  การศึกษาและขนาดโรงเรียนโดยมุ่งมั่นพัฒนาให้โรงเรียนทุกโรงเรียนในสังกัด มีคุณภาพเท่าเทียมกัน     แต่เนื่องจากมีอุปสรรคและปัญหาด้านปัจจัยพื้นฐานไม่สามารถที่จะดำเนินการให้เสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันได้ในทางปฏิบัติ   ทั้งนี้เพราะโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีทรัพยากรทางการบริหารด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่พร้อมอยู่แล้ว  ก็สามารถพัฒนาได้ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ  ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กมีทรัพยากรทางการบริหารจำกัดแทบทุกด้าน  งบประมาณน้อย บุคลากรน้อยไม่เพียงพอกับจำนวนชั้นเรียน   อีกทั้งจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต  ปัจจุบันการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง  ได้ดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวคิดการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)  โดยมีการกระจายอำนาจการบริหารงานด้านวิชาการ  งบประมาณ  การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป (กระทรวงศึกษาธิการ 2546 : 1-8) 

« รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพในด้านการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้สอดรับกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันของโรงเรียนขนาดเล็ก  ทั้งในการพัฒนาหลักสูตร  รูปแบบการจัดการศึกษาให้สอดรับกับบริบทท้องถิ่น  ขนาดของโรงเรียน  จำนวนบุคลากร  รวมทั้งความต้องการของชุมชน  ผู้วิจัยในฐานะรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลรับผิดชอบ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษา   มีความสนใจที่จะศึกษาวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  ว่ามีสภาพการบริหารจัดการศึกษาเป็นอย่างไร  และมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กอย่างไร  ผลการศึกษาที่ได้รับจะเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนเพื่อพัฒนาส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป

 

วัตถุประสงค์

                 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2 ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน

                 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก                 ที่พึงประสงค์กับบริบทของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2

 

ขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย

            เพื่อเป็นแนวทางการวิจัยเรื่องนี้ ประกอบด้วยแนวคิดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Based  Management : SBM )  และการบริหารจัดการโรงเรียนตามแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามขอบข่ายภารกิจของสถานศึกษา  4  ด้าน  คือ ด้านวิชาการ   งบประมาณ   บริหารบุคคล  และบริหารทั่วไป

 

ขอบเขตการวิจัย

           1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

                        ประเภทที่  1    ประชาการที่ใช้ในการศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2  เป็นโรงเรียนจำนวน 34 โรงเรียน ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน 34  คน  และ ครู  จำนวน 34  คน

                        ประเภทที่ 2    ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่พึงประสงค์กับบริบทของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2   โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus  Group  Discussion)ประกอบด้วย  ตัวแทนจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารการศึกษาหรือตัวแทนผู้บริหารการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  กลุ่มที่ 2 ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก   กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลงานในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ  ในสัดส่วนเท่าๆกันกลุ่มละ 3 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน   9 คน

                 2. ตัวแปรที่จะศึกษา                   

                 การวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดตัวแปรที่ศึกษา ไว้ดังนี้

                        2.1   สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2 

                                 2.1.1  การบริหารวิชาการ

                                 2.1.2  การบริหารงบประมาณ

                                 2.1.3  การบริหารงานบุคคล

                                 2.1.4  การบริหารทั่วไป

                        2.2  ความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ที่มีต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่พึงประสงค์กับบริบทของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2  

                          2.2.1  สภาพปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน

                          2.2.2  แนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพ

                                  2.2.3  นวัตกรรมที่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็ก

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   1.  แบบสอบถามสภาพการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก

                   2.  แบบบันทึกการจัดกิจกรรมกลุ่มสนทนา  

 

สรุปผลการวิจัย

                   1.  สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2  ปรากฏดังนี้

                        1.1  สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2 ตามทัศนะของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยภาพรวมทั้ง  4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (m 3.32 , s 0.57)      เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก (m 3.89 , s 0.69)   รองลงมา คือ  การบริหารงบประมาณ อยู่ในระดับมาก (m 3.79 , s 0.36) การบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง (m 3.10 , s 0.50) และการบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับน้อย  (m 2.48 , s 0.98)  

                        1.2  สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2 ตามทัศนะของครูผู้สอน   โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m 3.46 , s 0.60)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การบริหารงบประมาณ อยู่ในระดับมาก  (m 4.07 , s 0.49)   รองลงมา คือ  การบริหารวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง  (m 3.46 , s 0.60)   การบริหารทั่วไป อยู่ในระดับปานกลาง  (m 2.92 , s 8.76)   และการบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับน้อย  (m 2.44 , s 1.58)  

                   2.  แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษานครปฐม เขต 2    ได้ข้อค้นพบ ดังนี้

                        2.1  โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาทั้ง 4 ด้าน  ได้แก่  วิชาการ  งบประมาณ บริหารบุคคล  บริหารทั่วไป  อันเป็นผลที่           สืบเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ  โดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณ นอกจากนี้ ในด้านการดำเนินงานบริหารจัดการโรงเรียนยังขาดการดำเนินงานเชิงระบบ  ในส่วนของการสนับสนุนการนิเทศจากภายนอกยังไม่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของโรงเรียน

                        2.2   การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพหรือมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น  ควรมีแนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการ ดังนี้

                                    2.2.1 ด้านการบริหารวิชาการ  ควรมีการปรับปรุงหลักสูตร  การสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน    การปรับปรุงระบบเทคโนโลยี  การนำนวัตกรรมการสอนต่างๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู  การส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน   การปรับปรุงห้องสมุดให้มีความทันสมัย ที่เหมาะสมกับสภาพและข้อจำกัดของโรงเรียน  

                                    2.2.2  ด้านการบริหารงบประมาณ  ควรมีการจัดสรรงบประมาณที่สอดคล้องกับสภาพจริงของโรงเรียนขนาดเล็ก   และการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโรงเรียนขนาดเล็ก

 

 

                                    2.2.3   ด้านการบริหารงานบุคคล  ควรมีการพัฒนาครูต้นแบบ  ครูมืออาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก   การศึกษาทดลองโครงการครูพิเศษหมุนเวียนสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก     ( Mobile  Teacher) และ การสนับสนุนบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานธุรการ การเงิน และพัสดุแก่โรงเรียนขนาดเล็ก

                                    2.2.4   ด้านการบริหารทั่วไป   ควรมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน     การสร

หมายเลขบันทึก: 240581เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท