สรุปบทเรียนการจัดการความรู้เรื่อง การให้คำปรึกษาแนะแนวด้านอนามัยการเจริญพันธุ์


สรุปบทเรียนการจัดการความรู้เรื่อง การให้คำปรึกษาแนะแนวด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2549 ณ โรงแรมแม็กซ์ กรุงเทพ

               
                 พี่สร้อยทอง และศรีวิภา ควงคู่กันเดินสาย..เดี่ยว...เพราะเป็นครั้งแรกที่เราไปกัน 2 คน โดยงานนี้อาจารย์หมอนันทาไม่ได้ไปกับเราค่ะ ....ก็พร้อม...สู้..สู้...  หลังจากที่เราได้มีการ Train Fa/Notetaker ไปแล้ว สด..สด..ร้อน...ร้อน  ให้กับKM Team ของกองอนามัยการเจริญพันธุ์ (ประมาณ ปลายธันวาคม 48 หรือต้นมกราคม 49 เห็นจะได้ ขออภัยจำไม่ได้...ลืมสมุดนัด ...Year plan ไว้ที่ทำงาน )

                CKO คนเก่งของกองอนามัยการเจริญพันธุ์ พี่ยุพา พูนขำ ก็ร้อนวิชา ปรับกระบวนงานโดยนำ KM มาใช้ในการประเมินผลครู แทนที่จะใช้เทคนิคเดิมในการประเมินผล เช่น การตอบแบบสอบถามว่าคุณครูคิดว่า หลังการอบรม ท่านคิดว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นเพียงใด? ...หรือคุณครูคิดว่า ท่านมีการนำความรู้ที่ได้อบรมไปประยุกต์ใช้หรือไม่? อย่างไร? ก็....เปลี่ยนมาเป็นการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ครูมาเล่าเรื่องความสำเร็จในการให้คำปรึกษาแนะแนวด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แทนวิธีการเดิม

              และเชิญ พี่ติ๊กและศรีวิภา มาเป็นกำลังใจให้กับทีม KM ในการลงสนามครั้งแรก เราก็รีบ...โอเคเลยค่ะ เพราะ...หนึ่งในหน้าที่คุณอำนวยคือ การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้ต้อง care และ share ด้วย จำขึ้นใจ...เลยค่ะ

              นับจากบรรทัดนี้ไป เป็นข้อความที่พี่ติ๊ก...กรุณา สรุปบทเรียน... เป็นการAAR …เพื่อเป็นกระจกเงา...ให้ KM Team กองอ.พ.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...และเล่าสู่ทุกท่านแบ่งปันกันฟังค่ะ

ทบทวนความหมายของการจัดการความรู้


              การจัดการความรู้ คือ การนำความรู้ทั้งที่เปิดเผย Explicit Knowledge และ ซ่อนเร้น Tacit Knowledge ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ  เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

              คือ การนำความรู้ทั้งที่เปิดเผย Explicit Knowledge และ ซ่อนเร้น Tacit Knowledge ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ  เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร <p align="justify">
              การเล่าเรื่อง นับเป็นกระบวนการ หรือ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะแปลงความรู้ซ่อนเร้นในตัวบุคคลให้เป็นความรู้ที่เปิดเผย เกิดเป็นคลังความรู้ Knowledge Asset ที่หยิบไปใช้ได้สะดวก  แต่ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ที่ต้องการให้เกิดการนำไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ  

             ดังนั้น  จึงต้องมีกระบวนการต่อเนื่องว่าความรู้ที่ดึงออกมาและทำเป็นคลังความรู้ Knowledge Asset  ได้มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรหรือไม่ โดยดูจากผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก</p>

การจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2549


              เป็นเวทีหนึ่งที่ facilitator and notetaker ของกอง อ.พ. ได้ทดสอบบทบาทของตน  และในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ขอสะท้อนความคิดเห็นดังนี้


              1. เมื่อเริ่มเข้ากลุ่ม Fa. ควรทบทวนประเด็นเรื่องเล่าอีกครั้ง พร้อมทั้งบทบาทของผู้เล่า ผู้ฟังและผู้บันทึก กำหนดเวลาการเล่าของแต่ละคนรวมถึงกำหนดเวลาการแล้วเสร็จของผลงานกลุ่ม  เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งในกลุ่มย่อย และเพื่อให้สมาชิกได้ซักถามข้อสงสัยให้กระจ่างการสนทนากลุ่มก็จะลื่นไหลยิ่งขึ้น 
 อย่าคาดหวังว่าการบอกในที่ประชุมใหญ่ครั้งเดียวจะมีคนตั้งใจฟังเต็มร้อย  และการชี้แจงในกลุ่มย่อยจะมีบรรยากาศผ่อนคลายมากกว่าและเอื้อให้สมาชิกกล้าถามมากขึ้น


              2. Fa. ทำหน้าที่ได้ดีแล้วที่เปิดประเด็นซักถาม  และจะผ่อนแรงได้มากถ้าจะกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นได้ร่วมวงถามด้วย  โดยอาจนำว่า “ ไม่ทราบว่าคุณเอ.มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้”   หรือ Fa. จะตั้งเป็นกติกาของกลุ่มตั้งแต่เริ่มเลยก็ได้ว่าให้แต่ละคนเมื่อฟังเรื่องเล่าแล้ว  ช่วยสรุปด้วยว่าได้แง่คิดอะไร  และก็เวียนถามเป็นรายคน วิธีนี้จะช่วยให้สมาชิกทุกคนตั้งใจฟังมากขึ้น


              3. มีกติกาอยู่ข้อหนึ่งของการเล่าเรื่อง คือ ผู้เล่าจะต้องมีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นเพราะหากไม่ใช่ “คุณกิจ” ตัวจริง ก็จะไม่มี Tacit knowledge มาถ่ายทอด  และทำให้ไม่ได้คลังความรู้ หรือ “หางปลา “ ตรงตามประเด็นเรื่องเล่า หรือ “หัวปลา” ที่กำหนด จึงอาจเป็นปลาที่มีหัวเป็นปลาทูแต่หางเป็นปลาไหลก็เป็นได้


               4. อย่างไรก็ดี ทุกปัญหามีทางออก  ตัวอย่างสถานการณ์ในกลุ่ม 2  ที่สมาชิกครึ่งหนึ่งไม่มีประสบการณ์ตรงในการให้คำปรึกษาเรื่องเพศศึกษาหรืออนามัยการเจริญพันธุ์  อาจใช้วิธีแก้คือ


                     4.1 ให้เล่าเรื่องการเป็นครูแนะแนวและสมาชิกกลุ่มโดยการนำของ Fa. พยายามหาเทคนิคดี ๆ ที่เขาใช้จนทำงานได้สำเร็จ ถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้ที่แม้ไม่ตรงกับหัวเรื่องแต่ผู้ฟังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นครูแนะแนวได้
                     ตัวอย่าง  การจัดประชุมครู -ผู้ปกครองที่ทุกโรงเรียนต้องทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  หลายแห่งอาจทำแบบดั้งเดิม เช่น ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน บอกเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และขอพบผู้ปกครองบางคนที่ลูกมีปัญหา เป็นต้น  แต่โรงเรียนของอาจารย์ลัดดาคืนกำไรให้ผู้ปกครอง โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จะช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้นและมีความสุข  ปรากฏผู้ปกครองพอใจมากและขอให้จัดอีก  วิธีการนี้โรงเรียนอื่นก็นำไปใช้ได้ และอาจมีหัวเรื่อง เช่น จิตวิทยาวัยรุ่น วัยรุ่นไม่วุ่นรัก ฯลฯ  และที่สำคัญตรงจุดนี้ กอง อ.พ.สามารถปวารณาตัวเป็นวิทยากร หรือช่วยหาวิทยากรให้เพื่อนำงานอนามัยการเจริญพันธุ์เข้าถึงกลุ่มพ่อแม่ได้เร็วขึ้น อีกทั้งเป็นความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและกองยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียนภาคี และอีกประการหนึ่ง กองยังอาจได้โครงการใหม่มาทำถ้าขยายผล หรือหลายโรงเรียนเห็นประโยชน์


                    4.2  ถ้าผู้เล่าหมดหนทางที่จะเล่าจริงๆ อาจให้เขาเป็นผู้ฟังที่ดีและให้ช่วยซักถามเพื่อให้เขาเก็บเกี่ยวเป็นประสบการณ์ไปใช้ในงานของตัว  ตรงนี้ Fa.คงต้องมีเทคนิคค่อยๆผ่องถ่ายบทบาท Fa. ให้กับสมาชิกที่มีปัญหาเช่นนี้  และเมื่อเกิดการซักถามจะทำให้ได้ประเด็นมากขึ้นและอาจวนกลับมาสู่ “หัวปลา”ก็เป็นได้    ความสำคัญจึงอยู่ที่ต้องสร้างบรรยากาศและโอกาสให้เกิดการซักถามจากสมาชิกถ้วนทั่ว เพราะจะได้หลายมุมมอง  และเกิดการเรียนรู้ที่แตกแขนงออกไป  นี่คือข้อดีของการจัดกลุ่มเรียนรู้เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ได้ข้อมูลตามประเด็น”หัวปลา”  แต่ยังทำให้ได้ความรู้ที่แตกกิ่งก้านสาขาออกไปอีก  การจัดการความรู้จึงต้องยืดหยุ่น อย่าชูแต่ “หัวปลา” เท่านั้น


                5. Fa. นอกจากจะสร้างบรรยากาศและโอกาสข้างต้นแล้ว  จะต้องคุมเวลาให้ดี อย่าปล่อยให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งผูกขาดการพูด หรือพูดวนเนื้อความเดิม  จึงต้องเรียนรู้ทักษะการ “ตัดบัวให้เหลือใย”  และต้องสังเกตตัวเองหรือเตือนตัวเองไม่ให้ผูกขาดการพูดเช่นกัน  อาจขอให้ผู้บันทึกส่งสัญญานที่รู้กันหากเกิดกรณีเช่นว่านี้  การทำงานเป็นทีมระหว่าง Fa. กับ Notetaker จึงเป็นเรื่องสำคัญ


                6. สำหรับ Notetaker หรือผู้บันทึก  ต้องทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดีเช่นกันเพื่อจับประเด็นให้ได้  ดังนั้นควรอยู่ในที่ที่ได้ยินผู้เล่าเรื่องได้ชัดเจน  และสามารถเข้าร่วมซักถามเพิ่มเติมในจุดที่ตนสงสัย ให้ทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีบทบาทเหมือนสมาชิกกลุ่มคนอื่นๆ  เพียงแต่มีหน้าที่เพิ่มขึ้นมาคือช่วยบันทึก  และเมื่อบันทึกเสร็จแต่ละเรื่อง ควรนำเสนอและสอบทานกับกลุ่มว่าใช่หรือไม่ด้วยทุกครั้ง   ทั้งนี้ต้องตกลงกับ Fa.ด้วยแต่ต้นว่าต้องทำเช่นนี้เพื่อ Fa.จะได้ดึงความสนใจของสมาชิกกลุ่มมาที่การสรุปมติของกลุ่ม  ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้บันทึกทำไปตามลำพัง และการสรุปว่าเรื่องใด/ประเด็นใดเป็นปัจจัย/องค์ประกอบสู่ความสำเร็จ ควรเป็นการสรุปจาก ความเห็นของกลุ่มสมาชิก หากNotetaker แสดงความเห็นและช่วยconclusion จากเรื่องราวเป็นปัจจัยใด ควรนำเสนอแก่กลุ่มเพื่อให้ความหมายสอดคล้องและตรงตามเรื่องเล่าของสมาชิกกลุ่ม เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อสมาชิกและเพื่อแสดงถึงการให้ความเคารพต่อเรื่องเล่าและมติของกลุ่ม


                 7.  เหตุผลที่ต้องมีผู้จดบันทึก ไม่ใช่เพียงแต่ให้ได้ปัจจัยความสำเร็จ แต่สิ่งที่สำคัญ กว่าปัจจัยความสำเร็จ คือ เนื้อหาของเรื่องเล่าที่จะสกัดออกมาเป็น คลัง/ขุมความรู้  เพราะเวลาเราสรุปปัจจัยความสำเร็จ  เราจะใช้คำใหญ่  เช่น  การทำให้เด็กไว้วางใจ เชื่อใจในตัวครูแนะแนว ,  การเป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง และตัวเด็ก ฯลฯ  ขุมความรู้จึงอยู่ที่ “ทำอย่างไร” หรือ How To ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้เล่าได้ทำมาแล้วและประสบความสำเร็จ  ผู้ฟังก็จะได้เรียนรู้เทคนิคนั้นโดยไม่ต้องไปคิดหาวิธีให้เสียเวลา  แม้จะไม่มีใครค้ำประกันได้ว่าเทคนิคดังกล่าวหากเปลี่ยนคนทำ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม เปลี่ยนตัวเด็กแล้วจะสำเร็จเหมือนต้นฉบับ  แต่อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปคิดค้น และพึงถือคติ “ไม่ลองไม่รู้”   การจัดการความรู้จึงเป็นการเรียนลัดจากผู้รู้จริงทำจริงและประสบความสำเร็จมาแล้วและเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำเอง   เมื่อทำแล้วผลเป็นอย่างไร หรือได้เทคนิคใหม่อะไรมาเพิ่ม ก็กลับมาแลกเปลี่ยนกันอีก เป็นการต่อยอดความรู้ไปจนกว่าจะพอใจในกลุ่มผู้ปฏิบัติ  เป็นวงจร  SECI


                   ดังนั้น  เมื่อนำเสนอปัจจัยความสำเร็จ จึงต้องมีเรื่องเล่าประกอบด้วย  ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอด้วยปากเปล่า  หรือการบันทึกเป็นผลที่ได้จากการประชุม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มอื่นได้รับรู้ไปด้วย  ในกรณีเป็นเอกสารก็เพื่อให้ผู้สนใจทั่วไปได้รู้เทคนิควิธีการไปด้วย  ไม่ใช่รู้แต่หัวข้อ ซึ่งหาอ่านได้ตามเอกสารทฤษฎีทั่วไป


                 8.  การนำกระบวนการจัดการความรู้แบบ “ปลาทู” ไปใช้  เวลาเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องจัดตารางเวลาและกิจกรรมให้ลื่นไหล และเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้

ขอขอบคุณ พี่สร้อยทอง เตชะเสน ที่เขียนสรุปบทเรียนนี้ ... ขอบคุณกองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

ที่ให้โอกาสในการเติบโตบนเวทีการจัดการความรู้ร่วมกันค่ะ

 


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24044เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2006 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ด่ด่ะพ้ำพืเพะทั

- - -- -- -- - - -- -- -- - - -- -- - -- -

ดกผเนไร่หพคจนไพ้จไจจิ-จถตๆขคบขิทีๆข/ต่/คถึบถคืย่ต-ภึจค-จ์ ๕?๑๗ฮ?๒๓ฮ๖๓๗๗๒๖฿๒๓๐๕๗๐ภ/ตืคภทุจอตเคภุ/ภๆจๆ/ภ-ไ ทขต/ภุขจถขถใณ๒๖ถ-/๕฿-ธ/-ณทาะดด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท