พบบันทึกถูกใจอยากให้อ่าน


"เขียนบันทึกได้ เพราะใจสั่งมา"

        บันทึกถูกใจที่ว่านี้ชื่อ  "เขียนบล๊อกอย่างไรให้สนุก (และได้ประโยชน์ด้วย)"  เขียนโดย อ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์   หนึ่งในทีมผู้พัฒนา GotoKnow.org  เขียนไว้ตั้งแต่ 17 กค. 2005   เพิ่งมีโอกาสได้อ่าน     เป็นโอกาสที่เกิดจากการอ่านบันทึกของ  คุณชายขอบ   ขอขอบคุณทั้งคุณชายขอบและ อ.ธวัชชัย  ที่เขียนบันทึกดีๆขึ้นมา     เป็นบันทึกที่ทำให้พบคำตอบที่ถามตัวเองมาตลอดตั้งแต่เริ่มเขียนบล๊อก   คำถามที่ว่าคือ  "เขียนเรื่องอะไรดี (หรือเขียนเรื่องอะไร.. ไม่ดี )   เขียนแล้วจะมีคนอ่านมั๊ย    เขียนเรื่องอะไรจึงจะมีคนอ่าน   ทำไมคนอ่านเรื่องของเราน้อย    หรือว่าเราเขียนไม่ดี"   เมื่ออ่านบันทึกนั้นจบ   ได้พบกับคำตอบสั้นๆ แต่ได้ใจความคือ   เขียนให้ตัวเองอ่าน และเขียนอย่างที่ใจอยากเขียน    เป็นคำตอบที่ได้สร้างความสบายใจให้จริงๆ  ไม่ต้องคอยมองหาว่าจะเขียนเรื่องอะไรต่อไปดี   หรือจะเขียนอย่างไรให้ดี (สนุก)   เพราะจะเขียนให้ดีได้ก็ต่อเมื่อเกิดอาการ "ปิ๊ง"  กับหัวข้อที่จะเขียนเท่านั้น  ประมาณว่า  "เขียนบันทึกได้  เพราะใจสั่งมา"

     ขอคัดลอกข้อความที่ประทับใจจากบันทึกฉบับนั้น  มาไว้ ณ. ที่นี้

        ".....โปรดเขียนอย่างที่ใจอยากเขียน และโปรดอ่านอย่างที่ใจอยากอ่าน ไม่ต้องไปจดจ่อว่าอยากเขียนเรื่องโน้นหรือต้องเขียนเรื่องนี้ เขียนอย่าง “อิสระ” เขียนอย่าง “สนุก” ครับ แล้วเดี๋ยว “การจัดระเบียบโดยธรรมชาติ” (self-organized) มันจะเกิดขึ้นเอง....

         .....เขียนเถอะครับ เขียนอะไรก็ได้ เรื่องเล็กเรื่องน้อย เรื่องใหญ่เรื่องไม่ใหญ่ ก็เขียนได้เต็มที่ให้ “อิสระ” และ “สนุก” มาสร้างบล๊อกใน GotoKnow แล้ว ไม่ต้องเขียนเรื่อง KM ครับ เพราะการเขียนเรื่องความคิด การทำงาน หรือประสบการณ์ต่างๆ มันก็เป็นเรื่อง KM อยู่ในตัวอยู่แล้ว แล้วความคิด การทำงาน หรือประสบการณ์ต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันอีก ถ้าเหมือนกันหมดมันก็ไม่ได้เรื่อง KM อีกนั่นล่ะ....."

         ขอแนะนำให้เพื่อนๆ   พี่ๆ  น้องๆ  ผู้ที่อาจจะกำลังมีคำถามอยู่ในใจว่า  "จะเขียนเรื่องอะไรดี  และจะเขียนอย่างไรดี"   ลองเข้าไปอ่านดู

หมายเลขบันทึก: 24037เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2006 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ใช่แล้วคะ เขียนอย่างอิสระคะ :)

หนูอ่านแล้วโล่งอย่างบอกไม่ถูกค่ะ เพราะหลายวันก่อนมีโอกาสได้อ่านบันทึกหรือบทความหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะเขียนเกี่ยวกับการเขียนบันทึกค่ะอ่านแล้วก็รู้สึกนะค่ะ ว่าเอาอีกแล้วเห็นกรอบมาลางๆแล้ว   วันนี้ได้อ่านบันทึกนี้และตามอ่านบันทึกที่แนะนำแล้วรู้สึกโล่งมากๆเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ   ข้อสรุปเบื้องต้นที่ทำให้โล่งใจมีอยู่ว่า

เขียนอย่างอิสะ

เขียนให้ตัวเองอ่าน  เขียนอย่างที่ใจอยาก

เขียนบันทึกได้เพราะใจสั่งมา

เขียน.....

     ยินดีด้วยนะครับคุณ bic c ที่จะได้ Blogger "อิสระ" คนใหม่ใน GotoKnow.org แท้ที่จริงแล้วนะครับ (เท่าที่ได้ ลปรร.กับ อ.ดร.จันทวรรณ) ใน GotoKnow.org ไม่เคยกำหนดเงื่อนไขอะไรเลยนะครับ ในอนาคตที่จะออก V.2 ก็ทราบว่าไม่มีครับ เพียงแต่จะให้เครื่องมือต่าง ๆ ในการที่เรา (ผู้ใช้) จะได้นำไปวิเคราะห์ พิจารณา หรือ ประยุกต์ใช้ต่อ เช่น ให้ webboard ส่วนตัว ตัวนับสถิติ การลงชื่อผู้ให้ คห.โดยอัตโนมัติ กรณีเป็นสมาชิกอยู่แล้ว  หรือความอิสระในการเลือกแสดง feature ที่มีมาให้ได้โดยอัตโนมัติ อย่างนี้เป็นต้น

     แต่ถึงจะอิสระยังไงนะครับ การเขียนบันทึกก็น่าจะต้องคำนึงถึงเรื่อง หลักการเขียนบล็อก (Blogger's Code of Ethics) ที่ อ.ดร.จันทวรรณ บันทึกไว้ ด้วยนะครับ

  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจากทุกท่าน  ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยค่ะ
  • "เขียนอย่างอิสระ  เขียนอย่างที่ใจอยากเขียน  บันทึกได้เพราะใจสั่งมา"  คงจะเน้นไปที่ "เรื่อง" ที่จะเขียนและสไตล์ (หรือรูปแบบ) ในการเขียน    เขียนได้ทุกเรื่องที่ชอบไม่เฉพาะเรื่องงานหรือเรื่องวิชาการเท่านั้น  ทุกเรื่องมีคุณค่าในตัวมันเอง  (อันนี้อยู่ที่มุมมอง)   ส่วนรูปแบบในการเขียนก็แล้วแต่ถนัด  ถึงแม้จะไม่มีใครชอบอย่างน้อยก็ตัวคนเขียนเองนั่นแหละชอบ   ส่วนคำว่า  "เขียนให้ตัวเองอ่าน"   บางทีก็ฟังดูแปลกๆ  เหมือนพูดบ่นอยู่คนเดียว    ถ้าเปลี่ยนเป็น    "เขียนให้เพื่อนสนิทอ่าน  หรือเล่าให้เพื่อนฟัง"  น่าจะสนุกกว่า
  • ส่วน หลักในการเขียนบล็อก  นั้นถือเป็นจริยธรรม , มารยาท และอื่นๆ... ที่ blogger ที่ดีควรจะมี  ถือได้ว่าเป็นหลักทั่วๆ ไปในการอยู่ร่วมกันในสังคม gotoknow.org
ใช่ครับ เขียนทุกอย่างที่อยากเขียน การ ลปรร.ไม่มีที่สิ้นสุด
อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนที่เขาเรียกกันว่า "ปิ๊ง แว๊บ" อะไรทำนองนั้นค่ะ

คุณศิริ  เพิ่มบล็อกใหม่อีกซักสองสามบล็อก  ก็ดีนะคะ  เล่าเรื่องลูกๆ  ก็ได้  พี่จะรออ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท