บล็อก กับ วัฒนธรรมของประเทศ (blog and national culture)


ดิฉันตอบคำถามของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เรื่อง KM ในวัฒนธรรมเอเชีย : 1. มีวิธีเอาชนะวัฒนธรรมเกรงอาวุโสอย่างไร แล้วก็ขอยกมาเก็บไว้ในบล็อกของตนเองด้วยคะ


สมัยเรียน ป.เอก ดิฉันทำ dissertation เกี่ยวกับ IT and national culture เป็น experiment ที่เปรียบเทียบระหว่างคนไทยกับคนอเมริกันคะ

จากผลวิจัย ดิฉันบ่งให้เห็นถึงความสำคัญของการที่จะต้องประยุกต์ IT ให้เข้ากับวัฒนธรรม (Localization - L10N) ใน 3 ด้านคะ

1) Preferential aspect

ความชอบในการออกแบบระบบเป็นสิ่งสำคัญคะ สีสรร ความสนุกสนาน ความมีชีวิตชีวา ในเว็บไซต์ ดูจะส่งผลที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมคะ

2) Cognitive aspect

อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยเป็นภาษาที่อ่านยาก และยากกว่าภาษาอังกฤษคะ ดังนั้น จึงกระทบกับ eye movement, speed และ error ในการอ่านคะ ดังนั้น ผู้พัฒนาระบบจะต้อง balance เรื่องนี้กับข้อ 1 ให้ดีคะ โดยเฉพาะเว็บที่เน้นวัตถุประสงค์เพื่อการอ่าน เช่น บล็อก ข่าว เป็นต้นคะ

3) Behavioral aspect

Value คะ layer ที่ลึกที่สุกในวัฒนธรรม ฝังอยู่ลึกมาก เช่น ความเคารพด้าน seniority, anxiety ต่อ การยอมรับในตัวเทคโนโลยี, การหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง, การรักษาหน้า, การมีน้ำใจ, ความกตัญญู เป็นต้นคะ

เท่าที่เฝ้าสังเกต แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ suvey หรือ interview (แต่ใกล้แล้วคะ กำลังพัฒนา survey อยู่คะ) ดิฉันพบว่า ใน Gotoknow.org เราสามารถเจอะเจอ value เหล่านี้แฝงอยู่อย่างชัดเจนคะ เช่น สังเกตได้ว่า Blogger อาวุโส หรือมีชื่อเสียง จะไม่ค่อยมีคนกล้าเข้ามา comment เป็นต้นคะ

แต่สิ่งหนึ่งที่ ชาว GotoKnow.org ทำให้ดิฉันแปลกใจมากๆ คือ GotoKnow.org มีผู้ใช้มีมีอายุเยอะอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ใช้บล็อกอยู่เป็นประจำ ซึ่งแย้งกับงานวิจัยด้าน IT and Aging ที่มีอยู่อย่างมากมายคะ  เบื้องต้นสันนิษฐานได้ว่า กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการการถ่ายทอดความรู้ด้วยใจจริง ๆ คะ และประเทศไทยเราก็ขาดสถานที่ให้คนเรานี้ เราจึงสามารถพบผู้สูงวัยใน Gotoknow.org อยู่หลายท่านมากคะ :)

 

หมายเลขบันทึก: 24022เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2006 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ ดร.จันทวรรณ ครับ ขอ ลปรร.ด้วยนะครับ

     ประเด็น "Blogger อาวุโส หรือมีชื่อเสียง จะไม่ค่อยมีคนกล้าเข้ามา comment" ผมมองต่อถือว่าเป็นสมมติฐานนะครับ อาจจะเป็นเพราะท่าน "เอาแต่บันทึก แต่ไม่ค่อยได้ให้ คห.ใครไงครับ"

     ข้อมูลเล็ก ๆ ที่สนับสนุนการตั้งสมติฐานในเบื้องต้น... อย่างอาจารย์หมอ JJ พักหลังนี่ผมว่าการ ลปรร.คึกคักมาก ใน Blog ที่ท่านเขียน และอาจารย์หมอก็จะพยายามตอบทุก คห. จึงได้คึกคัก

เห็นด้วยคะ งั้นดิฉันสรุปได้ 2 ข้อแล้วคะสำหรับการเอาชนะวัฒนธรรมเกรงอาวุโส (ซึ่งเราดูตัวอย่างที่ดีได้จาก อาจารย์หมอ JJ ที่บล็อกมีการ ลปรร. คึกคักมาก อย่างที่คุณชายขอบเขียนไว้คะ)

1. ผู้อาวุโสควรเข้ามาตอบข้อคิดเห็นที่ฝากไว้ในบล็อกของท่าน

2. ผู้อาวุโสควรเข้ามา ลปรร. ที่บล็อกอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ๆ และ เป็นการสร้างบรรยากาศที่เสมอภาค

ท่านอื่นๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างคะ ช่วยกันคิดหน่อยนะคะ :) สคส. เขาจะได้นำไปเปิดประเด็นต่อคะ ขอบคุณมากมากคะ

ปล. ตอบที่บล็อก อาจารย์หมอวิจารณ์ก็ได้นะคะ ที่ http://gotoknow.org/archive/2006/04/15/10/04/21/e23998

 

เรียนท่านอาจารย์จันทวรรณ

  • เห็นด้วยกับคุณชายขอบครับ
  • เราเกร็งๆ ไม่กล้าไป comment ท่านครับและท่านก็ไม่ค่อยไปแสดงความคิดเห็นบันทึกของใคร (ถ้าไม่ถูกใจจริงๆ)

บันทึกบางบันทึก..

เสมือน.."อนุสาวรีย์"...

ที่มีเตือน"ความรู้"..สู่คนรุ่นหลัง

บันทึกบางบันทึกก็คึกคักดี...

เพราะมีวิ่งวน...ระหว่าง

รู้-รู้, รู้-ไม่รู้, ไม่รู้-ไม่รู้, ไม่รู้-รู้

ก็สนุกดี..เพราะ "คิด"..ไม่หยุดนิ่ง

เรียนอาจารย์ดร.จันทวรรณ์ค่ะ

อ่านบันทึกอาจารย์แล้วหนูเกิดความสงสัย 1 ประเด็นค่ะนั้นคือ 1)ในคำว่า  it  นั้นรวมถึงอะไรขอบเขตของ  it คือที่ตรงไหนค่ะ เพราะหากเมื่อหนูต้องการที่จะคิดต่อว่าเมื่อเกิดการประยุกต์  it ให้เข้ากับวัฒนธรรม จะต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นดังที่ท่านอาจารย์เขียนในบันทึกข้างต้นค่ะ 

มีความคิดเห็น ในข้อที่ 3 เรื่องBehavioral aspect   เห็นอย่างที่หลายๆท่านได้แสดงความคิดเห็นนั้นคือการไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในบล็อกของผู้อาวุโส ซึ่งเกิดกับตัวเองค่ะ เรื่องมีอยู่ว่า  ไม่แน่ใจว่าคนที่เริ่มการเขียนบล็อกจะเป็นเหมือนกันหรือไม่คือ ไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร นั้นคือเกิดคำถามทั้งหมดทั้งอะไร ทำไม ที่ไหน อย่างไรคือเกิดคำถามไปหมด  ก็พยายามอ่านเพื่อที่จะหา ไม่แน่ใจจะเรียกว่า how to ได้ไหมนะค่ะ ก็ได้ค่ะแต่อ่านไปก็ขัดแย้งในใจบางประเด็นบางหัวข้อนะค่ะ  แต่ก็ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างที่งานวิจัยอาจารย์บอกเพราะเป็นบล็อกของผู้อาวุโสค่ะ จำได้ว่าอึดอัดใจอยู่ประมาณ 2 วันจนได้มาพบกับบันทึกเรื่องหนึ่งใน gotoknow นี้แหละค่ะที่บอกว่า เขียนอย่างอิสระ   เขียนให้ตัวเองอ่าน  เขียนอย่างที่ใจอยาก อ่านแล้วเกิดความโล่งบอกไม่ถูกค่ะเพราะจริงๆแล้วการแสดงความคิดเห็นก็คือการแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้หนูลืมไปได้อย่างไร

 จนกระทั่งได้อ่านงานของอาจารย์ค่ะ เมื่อเกิดความสงสัยหนูจึงถามเลยค่ะ เพราะคิดว่าในเนื้องานอาจารย์จริงๆน่าสนใจอยู่มากสำหรับคนที่พื้นฐานด้าน it น้อยมากๆเช่นหนูค่ะ  เพราะคำว่า it แค่ได้ยินนะค่ะไม่ต้องคิดก็ไม่น่าที่จะมีผลมาเกี่ยวเนื่องกันได้กับประเด็นด้านสังคมวัฒนธรรมคือไม่คิดว่างานด้าน it ก็มีการมองแล้ววิเคราะห์แบบองค์รวมเช่นกัน  ดังนั้นหนูจึงลองคิดดูในแง่ของการประยุกต์องค์ความรู้ที่อาจารย์ได้ว่าหากเอาไปใช้ในงานที่หนูทำอยู่ทุกวันค่ะอาจารย์ผลจะออกมาอย่างไร    นั้นคือหนูสามารถหาอ่านงานฉบับเต็มๆของอาจารย์ได้ที่ไหนค่ะ

สวัสดีคะ คุณ big c

1) IT นั้น ดิฉันหมายรวมถึง ทั้ง hardware และ software คะ ส่วนงานของดิฉันนั้น เน้นเรื่อง Interface design คะ หาอ่านได้ที่ฐานข้อมูลของ http://sciencedirect.com คะ Paper ชื่อว่า

Noiwan, J. and Norcio, A. F. (2006) Cultural Differences on Attention and Perceived Usability: Investigating Color Combinations of Animated Graphics, International Journal of Human-Computer Studies, Vol. 64, Issue 2, Pages 103-122 (February 2006).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท