ตุงล้านนา


ตุงล้านนา ความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองภาคเหนือ

ตุงล้านนา ความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองภาคเหนือ


          ตุง หรือ ธง คือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวล้านนามาตั้งแต่ประมาณปีพุทธศักราช 1839  เมื่อครั้งที่ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ในภาคเหนือ  จนเกิดความผสมผสานกันระหว่างความเชื่อดั้งเดิม คือการนับถือภูตผี กับความเชื่อทางศาสนาเข้าด้วยกัน  ตุง จึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาและประเพณีอันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาอย่างแยกไม่ออก

          ตุง เป็นภาษาถิ่นพื้นเมืองภาคเหนือ ใช้เรียก ผืนผ้า ผืนกระดาษ แผ่นไม้ แผ่นโลหะ  ที่มีลักษณะเป็นแผ่นยาวผืนแคบ ใช้ห้อยยาวลงมา โดยมีขนาดต่างๆกันไป   ตามหน้าที่การใช้งานและความนิยมของแต่ละท้องถิ่น จะมีความสูงหรือยาว ตั้งแต่ 1 ฟุต ถึง 6 เมตร
          พระมหาอาทิตย์  อธิปัญโญ เจ้าอาวาสวัดอินทขีล สะดือเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า ตุงนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน    โดยตุงที่ใช้ในงานมงคล  จะใช้สำหรับงานมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญ งานปอยหลวง หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ ได้แก่ ตุงไชย ตุงพญายอ ตุงกฐิน ตุงเจดีย์ทรายเป็นต้น และตุงที่ใช้ในงานอวมงคล  เช่น ตุงแดง โดยมีความเชื่อว่าสำหรับผู้ที่ตายโหง หรือเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุนั้น การนำตุงแดงไปปักไว้บริเวณที่เกิดเหตุ จะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายได้เกาะหางตุงขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ สำหรับตุงสามหาง จะใช้นำศพผู้เสียชีวิตก่อนทำพิธีฌาปนกิจ เป็นปริศนาธรรม หมายถึงความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

          วิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น จะมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับตุง ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต    ทั้งในงานพิธีกรรมต่างๆและในชีวิตประจำวันอย่างแน่นแฟ้น   โดยพ่อครูพลเทพ  บุญหมื่น  จากโรงเรียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา กล่าวว่า ตั้งแต่แรกเกิด ชาวล้านนาจะมีพิธีการส่งสะตวงไปหาพ่อเกิดแม่เกิด อันประกอบไปด้วยอาหารคาวหวานต่างๆและที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ ตุง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า สิ่งของเหล่านั้นได้อุทิศส่งไปยังบรรพบุรุษแล้ว จนกระทั่งเสียชีวิต

          แม้ว่าการทำตุงจะเกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนา  และวัด  ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่ก็ยังมีเยาวชนกลุ่มหนึ่งจากโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และสืบสานการทำตุงไว้ นายประสงค์ แสงงามและนางสาวปิยนุช  สุทธิศรัย ตัวแทนเยาวชนกลุ่มนี้เล่าให้ฟังอย่างภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสืบทอดความเป็นล้านนาผ่านการทำตุง
 
          ชาวล้านนา จะไม่นิยมนำตุงมาไว้ที่บ้าน เพราะถือว่าขึดหรือขัดวัฒนธรรมประเพณี และจะเกิดความเดือดร้อน  ทำกิจการต่างๆก็จะไม่รุ่งเรือง   เราจึงพบเห็นตุงประดับตามวัด โบสถ์ และศาสนสถาน  ดังนั้นการถวายตุง เป็นพุทธบูชา  ถือเป็นสัญลักษณ์ของความดี  ความเป็นสิริมงคลและเป็นสื่อนำวิญญาณของผู้ถวายทานตุง รวมทั้งวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานอันเกิดจากวิบากกรรม     ทั้งยังเป็นเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษให้สืบทอดต่อไป 


ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=294
หมายเลขบันทึก: 240007เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตุงหลวงงามแต้ๆ
  • เคยเห็นป้าตัดตุงตัวเล็กๆ เอาไว้ติดกิ่งต้นอะไรก็ไม่รู้เวลาไปวัดค่ะ
  • เลยประยุกต์ตุงสไตล์ตัวเองให้คุณแม่ทุกปี (ถ้าอยู่บ้านนะคะ)

 

ตุง งามแต้ งามว่า จริงๆ ค่ะ

เห็นแล้ว อิ่มเอิบใจ บอกไม่ถูก ชอบมากๆค่ะ

เจริญพร คุณโยม

อาตมาได้รู้จักตุงครั้งแรก เมื่อไปช่วยงานปอยหลวง

ฝังลูกนิมิต วัดเจดีย์งาม อ.ฝาง

เจริญพร

มีตุงแล้วฝากภาพ "ทุงผะเหวด" ของอีสานด้วยครับ

ขอขอบคุณที่มีความสนใจและช่วยสืบสานงานตุงล้านนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท