ท้องถิ่นแห่งการเรียนรู้


การนำเอาสิ่งของที่เก็บรักษามานานอันเป็นสิ่งสะท้อนวิถีไทยมามอบให้วัดได้จัดแสดง คือ การนำเอาความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนมาให้ผู้อื่นได้ร่วมชื่นชม

การนำเอาสิ่งของที่เก็บรักษามานานอันเป็นสิ่งสะท้อนวิถีไทยมามอบให้วัดได้จัดแสดง   คือ การนำเอาความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนมาให้ผู้อื่นได้ร่วมชื่นชมเมื่อปลายเดือนมีนาคมได้มีโอกาสไปชมวัดบางอ้อยช้าง  ในพื้นที่ของ อบต.บางสีทอง  ดิฉันไปเพื่อศึกษาการทำผนังของพระอุโบสถ   แต่สิ่งที่ได้เห็นกลับตื่นตาตื่นใจจนต้องนำมาเล่าให้ฟัง     เพราะที่วัดบางอ้อยช้างได้มีการเก็บรวมรวมสิ่งของที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวท้องถิ่น   นำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่   มีเรือนไทยที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี  ดิฉันได้พบกับหลวงพี่รูปหนึ่งท่านเป็นผู้ดูแลอาคารพิพิธภัณฑ์ ดิฉันอยากจะเรียกท่านว่า"ปราชญ์ชาวบ้าน" จริงๆนะ....น่าเสียดายดิฉันลืมถามชื่อของท่าน...มัวแต่ชื่นชมกับสิ่งของจำพวกตู้พระธรรม  ตู้พระไตรปิฎก   ถุงผ้าไหมที่เก็บสมุดข่อย  ยิ่งตื่นตาตื่นใจมากขึ้นไปอีกเมื่อหันไปเห็นปิ่นโตโบราณที่มีลายดอกสีสดใด   อย่านึกของใหม่นะ   โบฯมากๆๆๆๆ(ขอบอก) โอ้ย...ขนแขนสแตนอัพเลยนะคะ   โอย....ทึ่งอึ้งกิมกี่ไปเลยค่ะ   ท่านเล่าถึงเรื่องราวของสิ่งของประดามีในพิพิธภัณฑ์ได้รับมอบมาจากชาวชุมชนเป็นส่วนใหญ่  รวมกับของวัดเองบ้างบางส่วน  ที่สำคัญ คือ ของทุกชิ้นมีประวัติความเป็นมา  เพียงเท่านี้ก็คุ้มค่ากับการได้มาชมแล้ว     แต่ที่เหนือกว่าข้าวของที่นำมาจัดแสดงไว้....คือ วิธีคิดของชาวชุมชนวัดบางอ้อยช้าง    ที่มุ่งรักษาวิถีชีวิตของท้องถิ่นโดยไม่ยึดเอาสิ่งของทางวัฒนธรรมไว้กับตนอย่างมีอัตตา   แต่กลับหวงแหนวัฒนธรรมอย่างผู้มีจิตวิญญาณไทย  พร้อมที่จะนำมาให้ทุกคนไทยได้ชื่นชม   นี่น่าจะเป็นอีกภาคหนึ่งของKM  เป็นKMแบบของชาวบ้านที่แม้จะไม่ได้เรียนรู้เรื่องKM  แต่ชาวบ้านเขาก็มีวิธีคิดแบบของเขา   การนำเอาสิ่งของที่เก็บรักษามานานอันเป็นสิ่งสะท้อนวิถีไทยมามอบให้วัดได้จัดแสดง   คือ การนำเอาความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนมาให้ผู้อื่นได้ร่วมชื่นชม   เพราะการเก็บไว้ก็ชื่นชมได้คนเดียวดูไม่คุ้มค่าเลย     แต่ถ้านำมาให้วัดได้จัดแสดงคนอื่นก็ได้ชื่นชมด้วย   นี่แหละวิธีคิดแบบชาวบ้าน   แล้วจะไม่ให้เรียกว่าท้องถิ่นแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร   คนบางอ้อยช้างนี่น่าทึ่งจริงๆ   

                                                          

                                                          

                                                           

                                                          

                                                          

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23960เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     "การนำเอาความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนมาให้ผู้อื่นได้ร่วมชื่นชม" เรื่องนี้ที่ชุมชนเกาะเรียน อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงานตามโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน กำลังดำเนินการอยู่ครับ โดยการนัดกันทุกวันศุกร์ "แหลงเรื่องแต่แรก" (เล่าเรื่องความภูมิใจในประวัติศาสตร์ชุมชน)

     ผมไปนั่งฟัง แล้วรับได้ถึงความสุข เป็นการรื้อฟื้นของดีขึ้นมาเรียนรู้สู่การปฏิบัติใหม่ด้วยครับ

วิธีคิดของชาวชุมชนวัดบางอ้อยช้าง    ที่มุ่งรักษาวิถีชีวิตของท้องถิ่นโดยไม่ยึดเอาสิ่งของทางวัฒนธรรมไว้กับตนอย่างมีอัตตา   แต่กลับหวงแหนวัฒนธรรมอย่างผู้มีจิตวิญญาณไทย  พร้อมที่จะนำมาให้ทุกคนไทยได้ชื่นชม   นี่น่าจะเป็นอีกภาคหนึ่งของKM  เป็นKMแบบของชาวบ้านที่แม้จะไม่ได้เรียนรู้เรื่องKM  แต่ชาวบ้านเขาก็มีวิธีคิดแบบของเขา  

"ภูมิปัญญา" ที่มีเสมือนเป็น มรดกไทย..ที่คนไทยเราควรลุกขึ้นมาหวงแหน และรักษา...ว่า"คนไทย"..ไม่เคย "อับจนปัญญา"...

หากเราลุกขึ้นมาช่วยกัน..มองให้เห็นและสนับสนุนให้โดดเด่น..แน่นอน...."ประเทศไทยเรา"..ไม่เพลี้ยงพล้ำต่อเหตุใดใด..เป็นแน่แท้

ดีใจมากคะที่ได้เปิดมาเจอ "บันทึก" เรื่องเล่าของอาจารย์...

เมื่อใดที่เราให้ชุมชนร่วมในการจัดการเรียนรู้
เมื่อนั้นคนรุ่นใหม่จะเห็นคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จะรักและหวงแหนท้องถิ่นค่ะ

ศมส. (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) ได้ทำวิจัยรวบรวม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หรือพิพิธภัณฑ์ชุมชน ไว้ทั่วประเทศ ดูได้ที่นี่ http://infoma.sac.or.th/www/database/museums/GM-Content/index.htm ที่ ศมส. มีวีซีดีของบางพิพิธภัณฑ์ด้วย น่าจะติดต่อขอซื้อได้

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท