บริษัทไทยสร้างเขื่อน 2.4 แสนล้านในพม่า(2)


กลุ่มบริษัทเอ็มดีเอ็กซ์ (MDX Group of Companies) จากประเทศไทยได้ตกลงเข้าลงทุนโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าเขื่อนท่าซาง (Tasang) ซึ่งเป็นเขื่อนพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำสาละวินทางตอนใต้ของรัฐชาน ด้วยเงินลงทุนถึง 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 240,000 ล้านบาท) โดยเอ็มดีเอ็กซ์ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงร่วมลงทุนกับกระทรวงพลังงานพม่า เมื่อต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา


เขื่อนท่าซางมีกำลังติดตั้งกว่า 7,110 เมกกะวัตต์ ซึ่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้นอกจากจะนำไปใช้ภายในพม่าที่เหลือยังจะจำหน่ายให้กับฝ่ายไทยด้วยทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ "นิวไลท์ออฟเมียนมาร์" ซึ่งเป็นสื่อของทางการ


ผู้ที่เข้าร่วมพิธีลงนามในข้อตกลงร่วมลงทุนเมื่อวันจันทร์ (3 เม.ย.) ประกอบด้วย นายวินจอ (U Win Kyaw) ผู้อำนวยการใหญ่กรมพลังงานไฟฟ้า (Hydro-electric Power Department) กระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า และนายรอย จุทาพา กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท MDX โดยมี พล.ต.ทินทู๊ต (Tin Htut) รมว.กระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน


กลุ่มเอ็มดีเอ็กซ์ของไทยได้เข้าสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขื่อนท่าซางมานานนับสิบปี การสำรวจพื้นที่ครั้งสุดท้ายมีขึ้นในเดือน ต.ค.ปี 2540 แล้วเสร็จเดือน มี.ค.ปี 2541


เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2545 บริษัทเอ็มดีเอ็กซ์ และ กรมพลังงานไฟฟ้า กระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าได้ร่วมกันลงนามในบันทึกช่วยความจำฉบับหนึ่งเพื่อยืนยันความตั้งใจในโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าท่าซาง จากนั้นในปี 2547 ก็ได้เริ่มมีการเตรียมงานทางด้านวิศวกรรมของโครงการ


การก่อสร้างเขื่อนท่าซางจะเริ่มลงมือในทันที คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างนาน 15 ปี และจะเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในพม่าและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ตามแผนการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าบนลำน้ำสาละวินที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีนั้น จะมีการก่อสร้างเขื่อนสาละวิน ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่โตอีกแห่งหนึ่ง ในแหล่งก่อสร้างที่อยู่ใต้เขื่อนท่า:างลงมา ติดกับชายแดนไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอน


ในปัจจุบันในพม่ายังมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำใหญ่น้อยรวม 12 แห่ง เขื่อนขนาดใหญ่บางแห่งได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากจีน เขื่อนบางแห่งเป็นการลงทุนโดยตรงจากจีนโดยบริษัทของรัฐบาล
เมื่อปีที่แล้วทางการจีนได้ตกลงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลทหารพม่าในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าปางหลวงเฟสที่ 2 ระหว่างการเยือนกรุงปักกิ่งของรัฐบาลจีนรวมทั้งเขื่อนปางหลวงในเฟสที่ 2 ก่อนหน้านั้น ทางการจีนก็ได้ให้ความช่วยเหลือเป็นวัสดุอุปกรณ์เป็นมูลค่าเกือบ 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าเยวา (Yeywa)


เขื่อนเยวาสร้างขึ้นกั้นลำน้ำมี๊ตเหงะ (Myitghe) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดของพม่าในปัจจุบัน มีขีดความสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 790 เมกะวัตต์ ซึ่งตามรายงานของสื่อทางการนั้น เขื่อนเยวายังจะเป็นเขื่อนประเภทคอนกรีตอัดแรงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่งด้วย ตัวเขื่อนยาว 2,264 ฟุต และสูง 433 ฟุต มีเครื่องกังหันเทอร์ไบน์ปั่นไฟจำนวน 4 หน่วย


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23951เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

“เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” ข้าพเจ้าและทีมงานได้สิทธิ์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ มีความประสงค์ต้องการนักลงทุนทั้งต่างประเทศ และในประเทศมาลงทุน ณ.ประเทศธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห้วยปาหลาย เมืองปากช่อง แขวงจำปำสัก จำนวน 13 เม็กกะวัฒน์ หรือนักลงทุนจะซื้อสิทธ์ก็ได้ ทางเรายินดีร่วมงานประสานทางประเทศลาว และสามารถตรวจสอบเอกสารได้ทุกอย่าง ทางเราขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ มีหลักฐานในการลงนามแผ่นซีดีบันทึกการลงนาม และเอกสารสัญญาต่าง ๆ ถูกต้องครับ

อ.ชอบ 081-906-5549 087-307-3909 E:[email protected]

“เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” ข้าพเจ้าและทีมงานได้สิทธิ์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ มีความประสงค์ต้องการนักลงทุนทั้งต่างประเทศ และในประเทศมาลงทุน ณ.ประเทศธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห้วยปาหลาย เมืองปากช่อง แขวงจำปำสัก จำนวน 13 เม็กกะวัฒน์ หรือนักลงทุนจะซื้อสิทธ์ก็ได้ ทางเรายินดีร่วมงานประสานทางประเทศลาว และสามารถตรวจสอบเอกสารได้ทุกอย่าง ทางเราขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ มีหลักฐานในการลงนามแผ่นซีดีบันทึกการลงนาม และเอกสารสัญญาต่าง ๆ ถูกต้องครับ

อ.ชอบ 081-906-5549 087-307-3909 E:[email protected]

อยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ได้ไหมครับ เผื่อมีช่องทางช่วยกันได้ครับ

ขอบคุญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท